1572_6687
7 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๒๓ เดือนมกราคม ๒๕๕๓ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ การศึกษาครั้งนี้มีประเด็นส� ำคัญที่น่าจะเป็นอุทาหรณ์ คือ การเชื่อถือ อ้างอิงข้อสรุปใด ๆ ที่มีมาก่อนหน้า ต้องไม่ลืมตรวจสอบก่อน และพึงใช้หลัก กาลามสูตรเป็นส� ำคัญ ข้อสรุปใด ๆ เกี่ยวกับวรรณกรรมแบบแผนของไทยส่วน ใหญ่เป็นทรรศนะของผู้ทรงคุณวุฒิ สิ่งใดที่มิใช่ข้อเท็จจริง ย่อมโต้แย้งได้ตาม หลักเหตุผล และข้อสรุปอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยด้านเหตุผลและหลัก ฐาน ทั้งนี้ ประเด็นที่ว่าไม่มีกฤษณาสอนน้องค� ำฉันท์ฉบับพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ภิกษุอินท์เป็นผู้แต่งกฤษณาสอนน้องค� ำฉันท์ฉบับธนบุรี และสมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงปรับปรุงกฤษณาสอนน้องค� ำฉันท์เชิง ประวัติตามที่กล่าวมานั้นย่อมเป็นสิทธิ์และกิจกรรมทางปัญญาของผู้อ่านผู้ฟัง จะใช้ดุลพินิจ และตรวจสอบพิจารณาต่อไป เพราะการแสดงความเห็นหรือข้อ ศึกษาใด ๆ เป็นสิ่งที่พึงกระท� ำได้ตามหลักเหตุผล แต่การเชื่อถืออ้างอิงสิ่งใด พึงใช้หลักกาลามสูตรเป็นส� ำคัญ • วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ รองศาสตราจารย์ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรม ร้อยกรอง บรรยายเรื่อง “โครงสร้างของกาพย์เห่เรือทวิราช” ความโดยสรุป ว่า กาพย์เห่เรือทวิราชในที่นี้หมายถึงพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัวซึ่งเป็นกาพย์เห่เรือนิราศที่มีค� ำคร�่ ำครวญถึงหญิงคนรักและระบุว่ามีการ เดินทางทางเรือ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีของการเสด็จ สวรรคตในปี ๒๕๕๓ โดยมุ่งศึกษาโครงสร้างในพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าเหมือน คล้าย หรือต่างจาก โครงสร้างในพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว รวมทั้งเหมือน คล้าย หรือต่างจากโครงสร้างในพระนิพนธ์กาพย์เห่ เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรซึ่งเป็นกาพย์เห่เรือนิราศต้นแบบอย่างไรบ้าง ผลการศึกษาพบว่ากาพย์เห่เรือทวิราชแต่งด้วยค� ำประพันธ์ประเภทกาพย์ เห่เหมือนดังที่พบในพระนิพนธ์กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร กล่าวคือ แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพในตอนต้นเรื่อง ๑ บท และแต่งเป็นกาพย์ยานีขยายความ ในโคลงอย่างน้อย ๒ บทโดยที่เนื้อความของกาพย์บทแรกเลียนความในโคลง น� ำนั้น นอกจากนี้ ยังพบว่าองค์ประกอบของโครงสร้างในพระราชนิพนธ์กาพย์ เห่เรือของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมี ๓ ส่วน นับเป็นองค์ ประกอบที่กระชับและเป็นหัวใจของวรรณคดีประเภทนี้ ได้แก่ การเดินทางทาง เรือ บทชมธรรมชาติแบบนิราศ และบทเห่ครวญคิดถึงนาง ต่างจากองค์ ประกอบของโครงสร้างในพระนิพนธ์กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรที่มี ๔ ส่วน ได้แก่ การเดินทางทางเรือ บทชมกระบวนเรือ (พาย) บทชมธรรมชาติ แบบนิราศ และบทเห่ครวญคิดถึงนาง ทั้งยังต่างไปจากองค์ประกอบของ โครงสร้างในพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวที่มีถึง ๙ ส่วน ได้แก่ การเดินทางทางเรือ บทชมกระบวนเรือ (รบ) บทชมความงามของบ้านเมืองและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ บทชมธรรมชาติแบบ นิราศ บทเห่ครวญคิดถึงนาง บทเห่ครวญถึงหนังสือ บทเห่เรื่องนางสีดา บท เห่เรื่องซ้อมกระบวนเรือรบ และบทเห่ชวนเข้าราชนาวีสมาคม จากการศึกษาสรุปได้ว่าองค์ประกอบร่วมของโครงสร้างในพระราชนิพนธ์ กาพย์เห่เรือของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชนิพนธ์ กาพย์เห่เรือของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และในพระนิพนธ์ กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร มีอยู่ ๓ ส่วน ได้แก่ การเดินทางทางเรือ บทชมธรรมชาติแบบนิราศ และบทเห่ครวญคิดถึงนาง มีข้อสังเกตว่าใน พระ ราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีบท ชมกระบวนเรือ ที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นเพราะเรื่องนี้ไม่ได้เดินทาง เป็นกระบวน เรืออย่างที่พบในกาพย์เห่เรืออีก ๒ เรื่อง สันนิษฐานว่าอาจเป็นการเสด็จ ประพาสส่วนพระองค์ หรือเป็นแต่เพียงการเดินทางในจินตนาการก็เป็นได้ กวี จึงมิได้ทรงเน้นความงามของกระบวนเรือหรือสถานที่ที่เดินทางผ่าน แต่ทรง เน้นความทุกข์โศกเศร้าที่เกิดจากพลัดพรากจากคนรัก ดังที่ปรากฏในบทชม ธรรมชาติแบบนิราศ และบทคร�่ ำครวญคิดถึงนาง มีข้อควรสังเกตว่าในพระ ราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ เนื้อความเพียงบาทเดียวระบุที่ว่าเสด็จพระราชด� ำเนินทางเรือ ทั้งค� ำใน วรรค หน้าของบาทแรกในโคลงยังตรงกับค� ำในวรรคแรกของกาพย์ด้วย เพียงแต่ใช้ ค� ำสลับที่กันบ้างเท่านั้น ดังนี้ นาเวศคลาเคลื่อนคล้อย ชลธาร ล่วงกระแสวโนทยาน ถิ่นไม้ เฌอเหล่าพฤกษ์ตระการ ดวงดอก หอมรื่นชื่นจิตให้ นึกน้องคะนึงหลัง นาเวศเคลื่อนคล้อยคลา ล่องลอยมาตามชลธาร ชมไม้ในอุทยาน บานเกลื่อนกล่นหล่นเรี่ยราย อนึ่ง ในพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือเรื่องนี้ นอกจากจะมีกลิ่นอายของ ความโศกเศร้าที่เกิดจากการพลัดพรากแล้ว ยังมีค� ำคร�่ ำครวญน่าฟังที่เกิดจาก การใช้ค� ำไพเราะ ใช้ค� ำพ้องเสียง ใช้ค� ำหลาก ใช้ความเปรียบที่คมคาย และมี กลวิธีการแต่งด้วยวิธีซ�้ ำค� ำ การศึกษากลวิธีการแต่งในพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรื่องนี้ สรุปได้ว่าแม้ จะเป็นเพียงกาพย์เห่เรื่องสั้น ๆ แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระราชนิพนธ์ตามขนบของวรรณคดีประเภทกาพย์เห่เรือนิราศอย่าง ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่าทรงศึกษากลวิธีการแต่งนิราศของกวีโบราณมาอย่าง ดีแล้ว ทั้งยังทรงปรับจนมีลักษณะเด่นเฉพาะของพระองค์อีกด้วย ส่วนพระ ราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีลักษณะ เด่นที่มีโครงสร้างซับซ้อนกว่ากาพย์เห่เรืออีก ๒ เรื่อง มีเนื้อหาทันสมัย คือ มี บทชมแสนยานุภาพของเรือรบ และกล่าวถึงวิถีชีวิตของหนุ่มสาวยุคใหม่ใน สังคมสมัยนั้น นอกจากนี้ ยังกระตุ้นให้ชาวไทยรักชาติบ้านเมือง ยอมสละชีวิต เพื่อปกป้องภัยอันตรายให้แก่บ้านเมืองและแก่หญิงคนรัก รวมทั้งพร้อมใจกัน สนับสนุนกองทัพเรือไทยให้มีก� ำลังเข้มแข็งขึ้นด้วยการบริจาคเงินซื้อเรือรบ พระร่วงที่มีอานุภาพเหมือนพระร่วงที่สามารถปราบศัตรูของชาติได้ การศึกษา ครั้งนี้ท� ำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบในโครงสร้างกาพย์เห่เรือ ที่ต่างไปจากพระนิพนธ์กาพย์เห่ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรที่เป็นกาพย์เห่เรือนิราศ ต้นแบบ และท� ำให้เห็นองค์ประกอบที่เป็นหัวใจของโครงสร้างในพระราชนิพนธ์ กาพย์เห่เรือของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ชัดเจนขึ้น และ เข้าใจความหมายขององค์ประกอบเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น สะท้อนให้เห็นพระปรีชา สามารถด้านการใช้ภาษา และกลวิธีการพระราชนิพนธ์ของพระองค์ที่เข้า พระทัยองค์ประกอบส� ำคัญในกาพย์เห่เรือนิราศได้เป็นอย่างดี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=