1572_6687
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน และธุรกิจ ข้อเสียอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีนี้ก็คือ การเรียนรู้ของโครงข่าย ประสาทส� ำหรับข้อมูลใหม่จ� ำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่เรียนรู้ไปแล้ว การเรียนรู้แบบ นี้ท� ำให้ต้องเก็บข้อมูลเก่าที่เรียนไปแล้วไว้ตลอดเวลา ในที่สุดที่เก็บข้อมูลจะเต็ม จนไม่สามารถเรียนรู้ข้อมูลใหม่ได้ ในการบรรยายครั้งนี้ เราจะพิจารณาวิธีใหม่ ของเรียนรู้โดยไม่จ� ำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเก่า ข้อมูลที่เรียนแล้วจะถูกทิ้งไปไม่ น� ำมาเรียนซ�้ ำร่วมกับข้อมูลใหม่ ผลการทดลองพบว่าการเรียนรู้โดยวิธีใหม่นี้ เร็วกกว่าวิธีการเรียนรู้ในปัจจุบันอย่างน้อย 10 เท่าภายใต้ความถูกต้อง เดียวกัน ขนาดของโครงข่ายที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบใหม่ไม่ใหญ่กว่าแบบเก่า • วันพุธที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ทพ.สิทธิ ส. ศรีโสภาค ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ อุปกรณ์ท� ำความสะอาดฟัน ” ศาสตราจารย์ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ภาคีสมาชิก ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บรรยายเรื่อง “การจ� ำลอง มัลติสเกลในคณิตศาสตร์นาโนเทคโนโลยี” ความโดยสรุปว่า ตลอดระยะเวลา เกือบสามสิบปีที่ผ่านมา แนวคิดในการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวัสดุ วิศวกรรมได้ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในระดับนาโนเมตร (10-9m) ในการที่จะพัฒนาแนวคิดดังกล่าวให้บรรลุผลส� ำเร็จนั้น จ� ำเป็นอย่าง ยิ่งที่จะต้องเข้าใจพฤติกรรมของวัสดุตั้งแต่ระดับโครงสร้างอะตอมจนถึงระดับ ชิ้นงานที่จะออกแบบ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเราไม่สามารถใช้แบบจ� ำลองทาง ด้านวิศวกรรม หรือ แบบจ� ำลองพลวัตเชิงโมเลกุลแต่เพียงอย่างเดียวในการ ศึกษาพฤติกรรมดังกล่าวได้ เนื่องด้วยแต่ละวิธีต่างมีข้อจ� ำกัดในตัวของมันเอง ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นมูลเหตุจูงใจในการพัฒนาระเบียบวิธีค� ำนวณใน ระบบมัลติสเกลขึ้นมาโดยสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ (1) hierar- chical multiscale simulation และ (2) concurrent multiscale simula- tion ในวิธีแรกนั้นพบว่าความไม่สมบูรณ์ในการส่งผ่านคุณสมบัติระหว่างสเกล มีโอกาสเกิดขึ้นได้ จึงได้มีการพัฒนาวิธีที่สองขึ้นมาเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาดัง กล่าว แต่อย่างไรก็ตามปัญหาที่ตามมาก็คือปรากฏการณ์คลื่นสะท้อนกลับตรง บริเวณรอยต่อระหว่างสองสเกล งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่จะน� ำเสนอการพัฒนา ระเบียบวิธีมัลติสเกลเพื่อที่จะขจัดปัญหาดังกล่าว โดยใช้แบบจ� ำลองด้วย ระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ที่ใช้ฟังก์ชั่น คริกกิ้ง (Kriging-based FEM) โดย ได้น� ำมาใช้ในการศึกษาพฤติกรรมของวัตถุตลอดทั่วทั้งบริเวณ ในขณะที่แบบ จ� ำลองพลวัตเชิงโมเลกุลนั้นจะใช้ศึกษาในบริเวณจ� ำเพาะที่ซึ่งพฤติกรรมของ แบบจ� ำลองเป็นที่น่าสนใจ ส่วนในบริเวณที่การเคลื่อนที่ของแบบจ� ำลองทั้งสอง ถูกออกแบบให้เคลื่อนที่ต่อเนื่องไปด้วยกันนั้นพลังงานรวมทั้งหมดได้จากการ รวมกันของพลังงานจากแบบจ� ำลองทั้งสองโดยใช้ฟังก์ชั่น quartic spline ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ภาคีสมาชิก ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาฟิสิกส์ บรรยายเรื่อง “วิวัฒนาการของ กล้องโทรทัศน์” • วันพุธที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ พญ.นิภา จรูญเวสม์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ภัยเงียบในสังคม” ศาสตราจารย์ ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้ ราชบัณฑิต ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาชีววิทยา บรรยายเรื่อง “๑๕๐ ปี ทางทฤษฎี วิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วิน” ส� ำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา ด� ำรงค์เลิศ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ บรรยายเรื่อง “ดอนฮวนฉบับมอลีแยร์ : หนุ่มเจ้าส� ำราญผู้ตกขุมไฟประลัย กัลป์” ความโดยสรุปว่า บทละครเรื่อง “ Dom Juan ” ของ มอลีแยร์ ( Molière ) มีความยาว ๕ องก์ เปิดแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๖๖๕ (พ.ศ. ๒๒๐๘) ที่โรงละครปาเล-รัวยาล (Palais-Royal) และได้รับความส� ำเร็จ อย่างมากนับถึงปัจจุบันเป็นเวลานานกว่า ๓๕๐ ปี มอลีแยร์มีความประสงค์ จะเสนอภาพชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมร่วมสมัย ตลอดจนตีแผ่ความหน้าไหว้หลัง หลอกของกลุ่มคนที่ประกาศตนว่าเคร่งในคริสต์ศาสนา การเสนอภาพลักษณ์ ของพระเอกซึ่งเป็นขุนนางหัวเสรีทั้งทางศาสนา จริยธรรม และทางเพศ เป็น ผู้ไม่ประกอบสัมมาอาชีพ แต่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจนมีหนี้สินจ� ำนวนมาก อีกทั้งเป็น ชายที่รักง่ายหน่ายเร็ว มิได้มีรักเดียวใจเดียว และตอนจบเขาก็ถูกสวรรค์ ลงโทษโดยตกหลุมไฟประลัยกัลป์ ซึ่งลักษณะของตัวละครดังกล่าวมีลักษณะ ตรงข้ามกับทริสต็อง (Tristian) พระเอกในวรรณคดีฝรั่งเศสยุคก่อนหน้านี้ อย่างสิ้นเชิง เพราะทริสต็องเป็นผู้ชายที่มีใจรักเดียวมั่นคง การสร้างตัวละคร เอกของเรื่องคือ ดงฌวง เป็นผู้เมินเฉยต่อศาสนาและพระผู้เป็นเจ้านั้นมิได้มี ลักษณะชั่วร้ายโดยสิ้นเชิง ตรงกันข้ามกลับบรรยายให้ดงฌวงมีหน้าตาหล่อ เหลาดึงดูดใจผู้คนโดยเฉพาะสตรีเพศ อีกทั้งยังเป็นผู้มีชาติตระกูลและมีความ เฉลียวฉลาดเป็นพิเศษ จึงท� ำให้ผู้ชมหรือผู้อ่านบทละครนี้ไม่มีความรู้สึกต่อต้าน ดงฌวงมากเท่าที่ควร แต่ก็มีผู้วิจารณ์ว่าตัวละครแบบดงฌวงเหมาะสมที่จะ เป็นเครื่องมือในการวิพากษ์สังคม เพราะบทละครเรื่องนี้เป็นภาพสะท้อนอัน เที่ยงตรงถึงพฤติกรรมของผู้คนในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ของฝรั่งเศส ด้วย สังคมของพวกเคร่งศาสนาในสมัยนี้เอื้อต่อความเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก บุคคลเหล่านี้ไม่สามารถรู้แจ้งต่อความจริงได้ ความรู้สึกเคร่งศาสนาอาจเป็น ผลพวงมาจากความเชื่อง่ายโดยปราศจากปัญญาและความเคารพในกฎ ระเบียบของสังคม และด้วยมุมมองเช่นนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า ดงฌวงเป็นปราชญ์ ผู้เฉลียวฉลาด หากเขาจะเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอกก็เป็นเพราะสังคมเปิดทาง ให้เขาท� ำเช่นนั้นได้ ดังนั้นสังคมจึงต้องรับผิดชอบครึ่งหนึ่งต่อความหน้าไหว้ หลังหลอกของมนุษย์ ดงฌวงจึงเป็นตัวละครที่มีลักษณะสร้างสรรค์ เสมือน เป็นกระจกเงาสะท้อนให้เห็นจุดบกพร่องที่ควรได้รับการแก้ไขของสังคม อย่างไรก็ดี มอลีแยร์ก� ำหนดชะตากรรมของดงฌวงผู้ท้าทายพระผู้เป็น เจ้าให้จบลงด้วยความตายอันน่าสยอง อันนับเป็นโทษทัณฑ์จากการแสดง พฤติกรรมเหยียดหยามพระผู้เป็นเจ้าอยู่หลายครั้ง บทละครเรื่องนี้ยังมีผู้น� ำมา เล่นและเป็นที่กล่าวขวัญถึงอยู่ตลอดเวลาในวงการการศึกษาวรรณคดีฝรั่งเศส ถึงแม้ว่ามอลีแยร์จะระบุว่าบทละครเรื่อง Dom Juan เป็นสุขนาฏกรรม แต่ ผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้ในภายหลังบางคนก็กล่าวว่าเป็นสุขนาฏกรรมระคนโศก เนื่องจากบทละครจบลงด้วยความตายของพระเอกซึ่งตกขุมไฟประลัยกัลป์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยกรอง บรรยายเรื่อง “การศึกษากฤษณาสอนน้อง ค� ำฉันท์เชิงประวัติกับวิจารณทัศน์เรื่องการอ้างอิง” ความโดยสรุปว่า การศึกษา กฤษณาสอนน้องค� ำฉันท์เชิงประวัติและวิจารณทัศน์เรื่องการอ้างอิงนี้มุ่งชี้แจง ข้อสรุปเกี่ยวกับความเป็นมาของกฤษณาสอนน้องค� ำฉันท์จากการศึกษาเชิง ประวัติซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “บรรทัดฐานการประพันธ์วรรณกรรม ค� ำฉันท์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ศึกษาผ่านกฤษณาสอน น้องค� ำฉันท์พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งยืนยันว่า ไม่มีกฤษณาสอนน้องค� ำฉันท์ฉบับพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ภิกษุอินท์ เป็นผู้แต่งกฤษณาสอนน้องฉบับธนบุรี และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ ปรมานุชิตชิโนรส ทรงปรับปรุงกฤษณาสอนน้องค� ำฉันท์โดยใช้ต้นฉบับส� ำนวน ภิกษุอินท์ ข้อสรุปดังกล่าวขัดแย้งกับทรรศนะที่นักวิชาการจ� ำนวนหนึ่งเชื่อถือ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการกล่าวถึงการตรวจสอบทรรศนะดังกล่าวทั้ง ด้านที่มา กระบวนการใช้เหตุผล วิธีการอ้างอิง ตลอดจนพัฒนาการของ ทรรศนะ โดยใช้ข้อมูลจากการท� ำวิจารณ์ตัวบท และศึกษาวิเคราะห์ข้อเขียน ที่มีข้อคิดอันจะเป็นประโยชน์แก่การศึกษาวรรณกรรมเชิงประวัติหลายประการ โดยเฉพาะเรื่องการใช้หลักกาลามสูตรในการเชื่อถืออ้างอิง การไม่อ้างอิงตาม กรอบความคิด และการให้ความส� ำคัญแก่การท� ำวิจารณ์ตัวบท
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=