1572_6687
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ร่วมในการประหยัดพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนั้น ภาครัฐจะต้องด� ำเนินการขยายเครือข่ายการบริการระบบการขนส่งมวลชนทั้ง ระบบราง ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในเมืองหลวง และชานเมืองเพื่อลดการใช้เพลิง และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งให้ความส� ำคัญกับการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริหารจัดการของภาครัฐให้เกิดการประหยัดพลังงาน และลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก • วันพุธที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.ปิยนาถ บุนนาค ภาคี สมาชิก ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทย บรรยายผล งานทางวิชาการ เรื่อง “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ผู้ทรง สนับสนุนการสถาปนาสันติวัฒนธรรมในพระกรณียกิจด้านการต่างประเทศ และการบริหารราชการแผ่นดิน” ความโดยสรุปว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม- หลวงวงษาธิราชสนิท มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้านวม เป็นพระราชโอรส องค์ที่ ๔๙ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระมารดา คือเจ้าจอมมารดาปราง (ใหญ่) ประสูติเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๕๑ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงเข้ารับราชการก� ำกับกรม หมอในรัชกาลที่ ๓ ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงก� ำกับราชการกรมมหาดไทย ว่าการกรมพระคลังสินค้า และเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินด้วย พระองค์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๔ รวมพระชันษา ๖๕ ปี พระกรณียกิจของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท มี หลากหลายประการ ซึ่งนอกจากการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ยังประกอบ พระกรณียกิจด้านวรรณกรรมและการศึกษา ด้านการแพทย์และการ สาธารณสุข ได้ทรงแต่งต� ำราสรรพคุณยาสมุนไพรไทย จ� ำนวน ๑๖๖ ชนิด ซึ่ง เป็นต� ำราสมุนไพรเล่มแรกของไทยที่เขียนแบบเอกสารทางวิชาการ และพระ กรณียกิจในด้านการต่างประเทศ ทรงเป็นประธานในการเจรจาท� ำสนธิสัญญา พันธไมตรีและพาณิชย์ระหว่างอังกฤษกับไทย ด้วยพระปรีชาสามารถ พระ อัจฉริยภาพ และการประกอบพระกรณียกิจอันยังประโยชน์แก่คนไทย ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ ประกาศยกย่อง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ให้ทรงเป็น บุคคลส� ำคัญของโลกที่สนับสนุนการสถาปนาสันติวัฒนธรรม โดยการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอารยธรรม พระองค์ทรงมีบทบาทในด้านการต่างประเทศ และการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้ ด้านการต่างประเทศ ลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกได้แพร่ขยายเข้ามาถึง ประเทศไทยตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐบาล อังกฤษที่อินเดียได้ส่ง ร้อยเอก เฮนรี เบอร์นีย์ เป็นทูตเข้ามาเจรจาปัญหา ทางการเมือง เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ตระหนักถึงอันตรายอันจะเกิดจากความบีบคั้นของชาวตะวันตกอยู่ก่อนแล้ว เมื่อทรงทราบว่า เซอร์จอห์น เบาว์ริง จะเป็นราชทูตเข้ามา จึงทรงติดต่อกับ เบาว์ริงเป็นการส่วนพระองค์ก่อนเพื่อให้เกิดความเป็นไมตรีตั้งแต่แรก ทั้งนี้เพื่อ จะได้เตรียมการต้อนรับไม่ให้ประชาชนหวั่นกลัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการต้อนรับคณะทูตของ เซอร์จอห์น เบาว์ริง อย่าง สมเกียรติยศ การเจรจาทางการทูตเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและมีแรงกดดันจาก อังกฤษ ไทยจ� ำเป็นต้องด� ำเนินการเจรจาด้วยแต่จะต้องเป็นไปในลักษณะที่ รอบคอบระมัดระวังและผ่อนปรนให้อย่ างมีศักดิ์ศรี พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงแต่งตั้ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิ- ราชสนิท ให้ด� ำรงต� ำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการฝ่ายไทย คุณสมบัติที่ เหมาะสมทางการทูตที่ท� ำให้ทรงได้รับการคัดเลือกให้ด� ำรงต� ำแหน่งดังกล่าว คือ การที่ทรงคุ้นเคยกับชาวตะวันตก มีความสนพระทัยและทรงยอมรับความ คิดเห็นอันเป็นประโยชน์ รวมทั้งทรงตระหนักถึงศักยภาพของชาวตะวันตกที่ ก� ำลังเพิ่มขึ้นอยู่ทุกขณะ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิทยัง ทรงมีคุณสมบัติที่ส� ำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นพระราชอนุชาที่ทรงมีความ ซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างไม่เสื่อม คลาย ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว พระองค์จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ทรงด� ำรงต� ำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการในการเจรจาฝ่ายไทย ขณะ เดียวกัน พระองค์ก็ทรงได้รับการตอบรับที่ดีจากคณะทูตจากอังกฤษว่าทรง เป็นเจ้านายที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้ พระเจ้าบรม- วงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงให้การต้อนรับคณะทูตของ เซอร์จอห์น เบาว์ริง อย่างดียิ่งในฐานะของ “เจ้าของบ้าน” ทรงยกย่องประเทศอังกฤษใน ฐานะที่มีอ� ำนาจเหนือชาติอื่น ๆ พระอุปนิสัย พระบุคลิกภาพและวาทะในเชิง การทูตดังกล่าวของพระองค์นับเป็นการสร้างบรรยากาศของการเจรจาสนธิ สัญญากับอังกฤษให้เป็นไปได้ด้วยดี แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนวิธีแบบเก่าคือ การเลิกระบบผูกขาดของพระคลังสินค้าเป็นเก็บภาษีตามที่อังกฤษเสนอมา ผู้ แทนฝ่ายไทยแสดงการโต้แย้งอย่างเข้มแข็ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ในชั้นแรกการเจรจา จึงติดขัด ได้มีการเจรจากันอยู่หลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ฝ่ายไทยได้ด� ำเนินตามพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ความข้อใดซึ่งไทยเห็นว่าอังกฤษคงจะเอาให้จงได้ ไทยก็ยอมให้โดยดีเพื่อแลกเอาข้อที่ไทยต้องการให้อังกฤษลดหย่อนผ่อนผันให้ ต่อมาวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๘ มีการลงนามในสนธิสัญญาฉบับใหม่ ระหว่างไทยกับอังกฤษ การที่ไทยต้องจ� ำยอมท� ำสนธิสัญญาดังกล่าวอย่างเสีย เปรียบก็ด้วยจุดประสงค์ส� ำคัญ คือ เพื่อรักษาเอกราชของประเทศและเพื่อมี อ� ำนาจอธิปไตยในการปกครองภายใน หลังจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเข้า มาเจรจาท� ำสนธิสัญญากับไทยดังกล่าวแล้ว ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปก็เดินทาง เข้ามาเจรจาท� ำสนธิสัญญาแบบเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวก็โปรดเกล้าฯ ให้มีการเจรจาท� ำสนธิสัญญาตามความประสงค์ของประเทศ นั้น ๆ ทั้งนี้แม้ว่าจะเป็นสนธิสัญญาไม่เสมอภาคโดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบแต่ สนธิสัญญาที่ไทยท� ำในขณะนั้น ก็นับว่าเป็นผลจากที่ไทยโดยคณะผู้แทนเจรจา ซึ่งมี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เป็นประธานคณะ กรรมาธิการได้พยายามเจรจาอย่างดีที่สุดแล้ว จากพระกรณียกิจในการปฏิบัติ หน้าที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการฝ่ายไทยในการเจรจากับประเทศตะวันตก ตลอดรัชกาลที่ ๔ และต้นรัชกาลที่ ๕ สะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและ พระคุณลักษณะในด้านการทูตที่มีจิตวิทยาในการ “ผูกใจคน” ของ พระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ได้อย่างเด่นชัด ทรงได้รับการยอมรับ และยกย่องอย่างยิ่งจากผู้แทนของชาติตะวันตก ด้วยเหตุนี้ท� ำให้ทรงได้รับ ความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ปฏิบัติ หน้าที่ในต� ำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการฝ่ายไทยอย่างต่อเนื่องมาตลอด รัชกาล ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเขมรในสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มมาตั้งแต่ รัชกาลที่ ๑ ปรากฏว่าไทยมีอิทธิพลเหนือดินแดนเขมรอย่างเต็มที่ เนื่องจาก สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี เคยได้รับการศึกษาอบรมเติบโตที่ราชส� ำนัก กรุงเทพฯ สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีครองราชย์อยู่ได้เพียง ๔ ปี ก็ สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงได้ทรงแต่ง ตั้งให้นักองค์จันทร์ โอรสสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีขึ้นเป็นสมเด็จพระอุทัย ราชา ครองเขมรต่อมา ในระยะนี้เองที่เขมรเริ่มผิดใจกับไทย และหันไปฝักใฝ่ กับญวน ในรัชกาลที่ ๒ เจ้านายเขมรที่ฝักใฝ่กับไทยและฝักใฝ่กับญวนมีเรื่อง ขัดแย้งกันอย่างเปิดเผย ในรัชกาลที่ ๓ ไทยท� ำสงครามกับญวนนานกว่า ๑ ทศวรรษ ส่งทูตไปท� ำสัญญาสงบศึกที่เมืองเว้ ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบในปัญหา เมืองเขมร คือนักองค์ด้วงได้รับแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี พระเจ้ากรุงกัมพูชา และส่งนักองค์ราชาวดีและนักองค์ศรีสวัสดิ์ราชโอรสมา รับการอบรมที่กรุงเทพฯ เขมรต้องส่งเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายที่ กรุงเทพฯ ทุกปี และได้ส่งเครื่องบรรณาการไปให้ญวน ๓ ปีต่อครั้งด้วย ต่อมา ในรัชกาลที่ ๔ นักองค์ราชาวดีได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระบิดา ทรง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=