1572_6687

3 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๒๓ เดือนมกราคม ๒๕๕๓ ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ หิรัญ รักษ์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ บรรยาย ผลงานทางวิชาการ เรื่อง “การก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต�่ ำด้วยการซื้อ ขายคาร์บอนเครดิต” ความโดยสรุปว่า ปัจจุบันประชากรทั่วโลกตื่นตัวและ ให้ความส� ำคัญกับค� ำว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์เรือนกระจก กันมากขึ้น ภาวะดังกล่าวท� ำให้เกิดการละลายของ น�้ ำแข็งบริเวณขั้วโลก และเป็นสาเหตุของความเสียหายทางเกษตรกรรม ความอดอยาก ปัจจุบันประชาชนทั่วไปจะมีความคุ้นเคยกับค� ำว่าการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์เรือนกระจกและ ก๊าซเรือนกระจกกันมากขึ้นก็ตาม แต่การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนตาม แนวทางเศรษฐกิจคาร์บอนต�่ ำโดยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ยังไม่เป็นที่รู้จัก กันอย่างแพร่หลาย บทความนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะน� ำเสนอข้อมูลพื้นฐาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจคาร์บอนต�่ ำ และการซื้อขาย คาร์บอนเครดิต หรือปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้จากโครงการกลไก การพัฒนาที่สะอาดของพิธีสารเกียวโตที่ผ่านการรับรองและลงทะเบียนแล้ว เพื่อการเตรียมความพร้อมและการปรับตัวของสังคมไทยไปสู่เศรษฐกิจ คาร์บอนต�่ ำต่อไป อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีจุด มุ่งหมายส� ำคัญคือ การรักษาระดับความเข้มข้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจก ในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศ อุตสาหกรรม มีแนวโน้มจะไม่สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้อยู่ในระดับเดียวกับ พ.ศ. ๒๕๓๓ ภายใน พ.ศ. ๒๕๔๓ ตามที่ก� ำหนดไว้ใน อนุสัญญาได้ ซึ่งในที่สุดพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ก็ได้รับการยกร่าง และรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์ สาระส� ำคัญของพิธีสารเกียวโต อยู่ที่การก� ำหนด เพดานหรือเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง โดยมุ่งให้กลุ่มประเทศ พัฒนาแล้ว กลุ่มประเทศที่ก� ำลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจเป็นระบบ ตลาดเสรี และกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมเป็นฝ่ายปฏิบัติการหลัก พิธีสารเกียวโต ได้เสนอแนะแนวทางลดก๊าซเรือนกระจก แก่ประเทศภาคีสมาชิก ๒ แนวทางคือ (๑) การเก็บกักคาร์บอน (๒) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พิธีสารเกียวโตได้ก� ำหนดกลไกการตลาดที่ยืดหยุ่นไว้ ๓ กลไก เพื่อช่วยให้เกิด การซื้อขายแลกเปลี่ยนปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้หรือคาร์บอนเครดิต ระหว่างประเทศได้ ดังนี้ (๑) การด� ำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกร่วมกัน (๒) การซื้อขายก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ (๓) กลไกการพัฒนาที่สะอาด แนวทางการด� ำเนินงานของกลไกการพัฒนาที่สะอาด ในมาตรา ๑๒ ของพิธี สารเกียวโต ได้ก� ำหนดกรอบกติกาไว้ดังนี้ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนที่ได้จาก การลดในโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดนี้ จะต้องได้รับการรับรองของ หน่วยปฏิบัติการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการบริหารกลไกการ พัฒนาที่สะอาด หน่วยงานที่ปฏิบัติการในการตรวจสอบ และองค์การระดับ ชาติที่ได้รับมอบหมายเป็นหน่วยงานกลางที่ท� ำหน้าที่ประสานการด� ำเนินงาน ตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด รูปแบบของการลงทุนในโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดสามารถแบ่ง ออกได้เป็น ๔ แนวทาง คือ (๑) การลงทุนโครงการทั้งหมดแต่ฝ่ายเดียว (๒) การลงทุนแบบทวิภาคี (๓) การลงทุนแบบพหุภาคี (๔) การลงทุนแบบเปิด ตลาดคาร์บอนหรือตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตเกิดขึ้นจากแนวคิดที่ใช้กลไก ตลาดเป็นแรงจูงใจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของพิธีสารเกียวโต โดยก� ำหนดคาร์บอนเครดิตเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่อยู่ในลักษณะเอกสารสิทธิของ ปริมาณก๊าซที่ลดได้ และสามารถมีการซื้อขายกันได้ในตลาดเฉพาะที่เรียกว่า ตลาดคาร์บอน สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ ตลาดทางการและ ตลาดสมัครใจ ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่ส� ำคัญของโลกส่วนใหญ่ตั้งอยู่ใน ยุโรป เนื่องจากประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีพันธกิจในการลดปริมาณการเปลี่ยน ก๊าซเรือนกระจกที่มีความเข้มข้น รูปแบบของการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจะมี ทั้งการซื้อขายล่วงหน้าและการซื้อขายแบบประมูล แบบตลาดหุ้นทั่วไป หรือ การซื้อขายแบบทวิภาคี ใน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก ที่สุดของโลก ได้แก่ ประเทศจีน รองลงมา ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับที่ ๒๔ ของโลก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีพันธกรณีที่บังคับให้ลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่ก� ำหนดในพิธีสารเกียวโต แต่เมื่อพิจารณา แนวโน้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยจะพบว่า ปริมาณการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยเพิ่มขึ้น สาขาพลังงานและสาขาการ ปล่อยของเสีย เป็นสาขาเศรษฐกิจที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีการเพิ่ม ขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอัตราที่สูง ซึ่งรัฐบาลควรจะให้ความส� ำคัญ ในการก� ำหนดนโยบายที่เหมาะสมเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน สาขาเศรษฐกิจทั้งสองเป็นอันดับแรก ๆ ฉลากคาร์บอนและคาร์บอนฟุตพรินต์ เป็นอีก ๒ โครงการขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกที่จะช่วยให้มี การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นไปสู่บรรยากาศโดยการเปิดโอกาสให้ผู้ บริโภคมีข้อมูลประกอบการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีกระบวนการผลิตที่ท� ำให้มี การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นไปสู่บรรยากาศในระดับต�่ ำได้ ฉลาก คาร์บอน (Carbon Label) เป็นฉลากที่แสดงระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจกออกมาสู่บรรยากาศต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ คาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint) หรือร่องรอยคาร์บอนของผลิตภัณฑ์ หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือน กระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฏจักรชีวิตของ ผลิตภัณฑ์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแนวคิดสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต�่ ำ การ ซื้อขายก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้จากโครงกลไกการพัฒนาที่สะอาดหรือการ ซื้อขายคาร์บอนเครดิต เป็นเพียงมาตรการหนึ่งในการน� ำประเทศไปสู่เศรษฐกิจ คาร์บอนต�่ ำ ซึ่งเป็นสังคมเศรษฐกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก การที่ประเทศจะบรรลุเป้าหมายของการเป็นเศรษฐกิจคาร์บอนต�่ ำได้ อย่างสมบูรณ์นั้น จะต้องมีการรณรงค์ให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และแนวคิดของภาคประชาชน องค์กรชุมชน ภาคเอกชน ภาครัฐและสถาบัน การศึกษาต่าง ๆ ซึ่งจะน� ำไปสู่การลดลงของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ เข้าไปสู่การเป็นเศรษฐกิจคาร์บอนต�่ ำ ประชาชนควรยึดถือแนวทางของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีการใช้จ่ายอย่าง ประหยัด รอบคอบ พอเพียง เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประหยัดพลังงาน และเป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม องค์กรชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทรัพยากรวัตถุดิบที่ชุมชนมีศักยภาพ ภาค อุตสาหกรรมสนับสนุนโครงการพัฒนาพลังงานทดแทนและโครงการปรับปรุง เทคโนโลยีให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัด ในขณะที่ภาครัฐต้องรณรงค์และ สนับสนุนให้ประชาชนองค์กรชุมชนภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมมีส่วน สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำ �นักสำ �นัก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=