1571_3519
7 ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒๒๓ เดือนธันวาคม ๒๕๕๒ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ธรรมชาติของมนุษย์มาปรุงแต่งให้ประณีต เกิดเป็นท่าร� ำเป็นค� ำ ๆ เรียงต่อกัน เป็นประโยค เพื่อบรรยายความ อาการ อารมณ์ ฯลฯ ให้คนดูเห็นเป็นจริงเป็น จังไปพร้อม ๆ กับการฟังบทร้องและบทร� ำ เป็นการสื่อเรื่องและรสไปพร้อม ๆ กัน การร� ำเป็นทัศนศิลป์ การร� ำอาศัยหลักทัศนศิลป์ ในการสร้างภาพท่าร� ำ การ จัดภาพกลุ่มคนร� ำ (การตั้งซุ้ม) และการแปรแถว ให้เกิดเป็นภาพที่งดงาม มี ความเคลื่อนไหว และมีความสมดุล มีจุดเด่น จุดส่งเสริม และมีส่วนพื้นหน้า และหลังประกอบกันให้ภาพสมบูรณ์ สรุป การร� ำไทยเป็นการสร้างประติมากรรมลอยตัวที่เคลื่อนไหว โดยอาศัย หลักวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ นิเทศศาสตร์ ทัศนศิลป์ ฯลฯ ให้อวัยวะต่าง ๆ สอด ประสานกันอย่างมีระบบระเบียบงดงามในตัวผู้ร� ำคนเดียว หรือหลายคน ประกอบกัน เพื่อสื่อความหมายไปตามการใช้บทละครหรือบทระบ� ำให้คนดูได้ ทั้งเรื่องและรสไปพร้อมกัน รองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชา วรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทย บรรยายเรื่อง “อักขระไทยกับ ISO” ความโดย สรุปว่า ISO (International Organization for Standardization) หรือองค์การ ระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน คือ เครือข่ายของสถาบันมาตรฐานของ ชาติจาก ๑๕๖ ประเทศ เนื่องจากชื่อ “International Organization for Standardization” อาจจะมีตัวย่อต่างกันในแต่ละภาษา (“IOS” ในภาษาอังกฤษ “OIN” ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเขียนว่า Organisation internationale de nor- malisation) จึงตกลงกันที่จะใช้ค� ำจากภาษากรีก คือ isos ซึ่งหมายความว่า “equal” หรือเท่าเทียมกัน ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศใด ภาษาใด ชื่อย่อของ องค์กรจึงเป็น ISO แต่เพียงประการเดียว นับจาก ค.ศ. ๑๙๔๗ เป็นต้นมา ISO ได้เผยแพร่มาตรฐานระหว่างประเทศไปแล้วมากกว่า ๑๕,๐๐๐ มาตรฐาน เช่น มาตรฐานทางด้านเกษตรกรรม การก่อสร้าง วิศวกรรม อุปกรณ์การแพทย์ ตะปู ควง ตู้ขนส่งสินค้า สัญลักษณ์เตือนภัย บัตรโทรศัพท์ บัตรธนาคาร รหัสสัญญาณ ภาพและเสียง รหัสคอมพิวเตอร์ ศัพท์เทคนิค ภาษา ฯลฯ ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ราชบัณฑิตยสถานได้พิจารณาเห็นควรปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การถอด อักษรไทยเป็นอักษรโรมันซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๒ เสียใหม่ เนื่องจาก หลักเกณฑ์ดังกล่าวยังมีที่บกพร่อง ไม่สอดคล้องกับความต้องการและลักษณะ การใช้ในปัจจุบัน ในขณะเดียวกัน ISO ก็ได้มีมติมอบหมายให้ประเทศไทยโดย ราชบัณฑิตยสถานเป็นเจ้าของเรื่องด� ำเนินการจัดท� ำร่างมาตรฐานการถอด อักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เพื่อใช้เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศด้วย ราชบัณฑิตยสถานจึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีขอแต่งตั้งคณะกรรมการ ปรับปรุงวิธีการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อปรับปรุงหลัก เกณฑ์ที่เคยมีมาให้เหมาะสมในปัจจุบันหลักเกณฑ์ใหม่นี้ได้ประกาศใช้แล้ว เมื่อ วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๔๒ เพื่อให้ใช้เขียนชื่อจังหวัด เขต อ� ำเภอ กิ่งอ� ำเภอ และ ชื่อทางภูมิศาสตร์ อื่น ๆ รวมทั้งชื่อถนนด้ วย ในส่ วนของ ISO นั้น ราชบัณฑิตยสถานก็ได้ร่วมมือกับส� ำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะตัวแทนสมาชิกจากประเทศไทย จัดท� ำมาตรฐาน ทางภาษาขึ้น ๒ ฉบับ คือมาตรฐาน ISO 11940-1: 1998 – Information and documentation – Transliteration of Thai และมาตรฐาน ISO/DIS 11940- 2: Information and documentation – Transliteration of Thai charac- ters into Latin characters – Part 2: Simplifi ed transliteration of Thai language ฉบับแรกคือการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ส่วนฉบับที่ ๒ นอกจากจะถอดอักษรแล้วยังมีสูตรการออกเสียงซึ่งสามารถน� ำไปใช้กับ คอมพิวเตอร์ต่อไปได้ อักขระไทยที่อยู่ในมาตรฐาน ISO มี ๘๗ ตัวดังนี้ (๑) พยัญชนะ ๔๖ ตัว (รวมทั้ง ฃ ฅ ฤ ฦ) (๒) สระที่อยู่ในระดับเดียวกับพยัญชนะ ๙ ตัว คือ สระอะ สระอา สระอ� ำ สระเอ สระแอ สระโอ สระไอ สระใอ สระ อาหางยาว (๓) สระและเครื่องหมายเหนือพยัญชนะ ๗ ตัว คือ ไม้ไต่คู้ ไม้หัน อากาศ สระอิ สระอี สระอึ สระอือ นิคหิต (วงกลมที่วางเหนือพยัญชนะ) (๔) สระและเครื่องหมายใต้พยัญชนะ ๓ ตัว คือ สระอุ สระอู พินทุ (จุดใต้พยัญชนะ) (๕) เครื่องหมายวรรณยุกต์และเครื่องหมายเหนือพยัญชนะ ๕ ตัว คือ ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวา ทัณฑฆาต (เครื่องหมายฆ่าเสียง) (๖) เลขไทย ๑๐ ตัว (๗) เครื่องหมายพิเศษ ๗ ตัว คือ ไม้ยมก ไปยาลน้อย ยามักการ ฟองมัน อังคั่น เดี่ยว อังคั่นคู่ โคมูตร อันที่จริงยังมีเครื่องหมายโบราณที่มาตรฐาน ISO ยังไม่รู้ จักอยู่อีกบ้าง เช่น ฟองมัน ฟันหนู (เครื่องหมายฟองมันที่มีขีด ๒ ขีดอยู่ข้าง บน) ตีนกา (รูปร่างคล้ายเครื่องหมายบวก แต่ใหญ่กว่า เป็นเครื่องหมายบอก เงินตราและตัวเลข) ฯลฯ เครื่องหมายเหล่านี้จึงไม่อาจจะป้อนให้แก่คอมพิวเตอร์ ได้อักขระไทยทั้ง ๘๗ ตัวดังกล่าวเป็นเพียงการแทนค่าเพื่อให้สื่อได้ในระบบสากล อาจถือได้ว่าเป็นพื้นฐานเพื่อการสร้างแบบชุดอักษร (font) ที่จะใช้งานกับ คอมพิวเตอร์ต่อไป Font หมายถึง รูปแบบของอักขระชุดใดชุดหนึ่งซึ่งสามารถ แสดงได้บนจอ หรือพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ได้ ในปัจจุบันแผงแป้นอักขระ (keyboard) ที่สามารถส่งตัวอักขระไทยให้แก่ คอมพิวเตอร์ได้มีอยู่ ๔๖ แป้น เมื่อใช้แป้นเปลี่ยนชุดอักษร (shift key) ร่วมด้วย ก็สามารถจะส่งอักขระได้ ๙๒ ตัว อักขระที่ไม่สามารถป้อนผ่านแป้นอักขระได้ นั้นสามารถป้อนผ่านทางการแทรก (Insert) ได้ ในโปรแกรมประมวลผลอย่าง Microsoft Word สามารถเลือกค� ำสั่ง Insert Symbol ได้ จากนั้นให้เลือก Font: (normal text) และ Subset: (Private Use Area) อย่างไรก็ตาม อักขระ แทรกเหล่านี้อาจจะมีปัญหาในด้านการส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต ถ้าผู้รับสารใช้ ซอฟต์แวร์ที่รับรหัสเหล่านี้ได้ก็สามารถจะอ่านได้ แต่ถ้าไม่มีก็ไม่สามารถจะอ่าน ได้ สิ่งที่ได้คือสิ่งที่วงการคอมพิวเตอร์เรียกว่า “ขยะ” ในยุคแรกที่มีการน� ำ คอมพิวเตอร์มาใช้กับภาษาไทยนั้นมีปัญหาเป็นอย่างมากในด้านการพิมพ์ เพราะ คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมาเป็นครั้งแรกเพื่อใช้กับอักษรโรมัน ซึ่งอักขระทุกตัวอยู่ ในบรรทัดเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพยัญชนะหรือสระ แต่ภาษาไทยนั้นสระ มีต� ำแหน่งอยู่ถึง ๔ ทาง คือ หน้า หลัง บน และล่าง การพิมพ์ภาษาไทยในยุค แรกจึงเรียงพยัญชนะและสระแบบเดียวกับภาษาอังกฤษ ต่อมาได้มีการเขียน โปรแกรมจัดรูปแบบการพิมพ์ให้สวยงามยิ่งขึ้นจนอักขระอยู่ในต� ำแหน่งที่เห็นอยู่ ในปัจจุบันนี้ ในประเทศไทยนอกจากจะมีชุดอักขระมาตรฐานแล้วก็ยังมีชุด อักขระอื่น ๆ อีกทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน ในปัจจุบันได้มีการฟื้นฟูการ ศึกษาตัวอักขระต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อการสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ราชบัณฑิตยสถานจึงได้ตั้งกรรมการจัดท� ำหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยน้อย เป็นอักษรโรมันขึ้นเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๑ เพื่อน� ำเสนอต่อ ISO ต่อไป ราชบัณฑิตยสถานเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ทาง • รายการวิทยุ ๑. รายการ รู้ รัก ภาษาไทย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยทุกวัน ช่วงภาคข่าวเวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น. ความยาวประมาณ ๑-๒ นาที ๒. รายการ เพลินภาษา ๕ นาที ทาง FM 92.5 MHz ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา ๑๗.๑๐-๑๗.๑๕ น. ความยาวประมาณ ๕ นาที ๓. รายการ คลังความรู้ คู่แผ่นดิน ทาง FM 92.5 MHz และ AM 891 KHz ทุกวันเสาร์ เวลา ๒๐.๓๕-๒๑.๐๐ น. ความยาวประมาณ ๒๕ นาที • รายการโทรทัศน์ รายการ คนเก่งภาษาไทย ทางสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทุกวันเสาร์ เวลา ๑๘.๐๐-๑๘.๓๐ น. ออกอากาศตั้งแต่วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ - ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จ� ำนวน ๓๐ ตอน • คอลัมน์ประจ� ำในหนังสือพิมพ์ คอลัมน์ องค์ความรู้ภาษาไทย โดยราชบัณฑิตยสถาน ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันจันทร์-ศุกร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=