1571_3519
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เป็นผู้มีเหตุผล และมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีคุณค่าในตัวเอง งานเขียนของพระ พรหมคุณาภรณ์มีวัตถุประสงค์มากกว่างานเขียนของนักปรัชญาตะวันตกตรงที่ หวังผลในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมด้วย แม้คานท์และพระพรหมคุณา- ภรณ์จะให้ความส� ำคัญกับเจตจ� ำนงในฐานะที่เป็นฐานในการวินิจฉัยคุณค่าทาง จริยธรรม แต่คานท์ก็มิได้น� ำแนวคิดดังกล่าวมาพิจารณามิติต่าง ๆ ในชีวิตของ มนุษย์ และมิได้จ� ำแนกแจกแจงบทบาทของเจตจ� ำนงในเชิงพัฒนา ในขณะที่พระ พรหมคุณาภรณ์วิเคราะห์ความหมายและบทบาทของเจตจ� ำนงตามหลักค� ำสอน ทางพระพุทธศาสนาทั้งในระดับโลกิยะและในระดับโลกุตตระ งานเขียนของพระ พรหมคุณาภรณ์จึงมีความส� ำคัญในการศึกษาวิเคราะห์เพื่อน� ำไปสู่การแก้ไข ปัญหาและพัฒนาจริยธรรมของบุคคลและสังคมในปัจจุบัน ส� ำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ภาคี สมาชิก ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บรรยาย เรื่อง “สถาบันเลี้ยงตัวเองภายใต้มหาวิทยาลัยของรัฐ : กรณีศึกษาสถาบัน เทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร” ความโดยสรุปว่า สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ สิรินธร เป็นสถาบันที่เลี้ยงตัวเองภายใต้การก� ำกับของมหาวิทยาลัยของรัฐ มี ฐานะเทียบเท่าคณะในมหาวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอน สถาบันฯ ได้รับ การร่วมก่อตั้งใน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยสมาพันธ์องค์กรเศรษฐกิจแห่งประเทศญี่ปุ่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ สมา พันธ์องค์กรเศรษฐกิจแห่งประเทศญี่ปุ่นและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ร่วมจัดหาทุนประเดิม เพื่อให้สามารถเริ่มด� ำเนินการได้ ในระยะแรก (พ.ศ. ๒๕๓๕) ได้รับการจัดตั้งเป็น “โครงการวิศวกรรมศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษ” ต่อ มา อีก ๒ ปี มหาวิทยาลัยได้ออกระเบียบตั้งเป็น “สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” และอีก ๒ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๕๓๙) พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสถาบันฯ ว่า “สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร” ในขั้นตอนการจัดตั้งมีอุปสรรคมากมาย ทั้งในเรื่องการเงิน ระเบียบกฎเกณฑ์ และการท� ำข้อตกลงกับมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ การจัดตั้งจนถึงปัจจุบัน สถาบันฯ ได้ขยายตัวอย่างมากประสบความส� ำเร็จ อย่างสูง จนเป็นที่รู้จักดีในแวดวงอุดมศึกษา ส� ำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชานาฏกรรม บรรยายเรื่อง “การ วิเคราะห์การร� ำไทย” ความโดยสรุปว่า ท่าร� ำไทย ในที่นี้หมายถึง ท่าร� ำมาตรฐาน ที่สร้างสรรค์และพัฒนาเป็นแบบแผนโดยนาฏยศิลปินราชส� ำนักและสืบทอดโดย นาฏยศิลปินกรมศิลปากร เพื่อใช้แสดงละคร โขน และระบ� ำในปัจจุบัน ท่าร� ำ เป็นการจัดระเบียบร่างกายด้วยอวัยวะส� ำคัญ ๑๐ ส่วน คือ ศีรษะ ล� ำตัว แขน มือ ขา เท้า ให้เป็นรูปประติมากรรม ท่าร� ำหนึ่งท่าประกอบด้วย ท่าตั้งต้น ท่าเชื่อม และท่าจบ การร� ำไทยมีรูปแบบของมือดังนี้ ตั้งมือ หงายมือ จีบหงาย จีบคว�่ ำ ชี้คว�่ ำ ชี้ตะแคง ชี้หงายล่อแก้ว รูปแบบของแขน (วง) มี ๓ ระดับคือ วงบน วงกลาง และวงล่าง ต� ำแหน่งของแขนมองจากด้านบนมี ๕ ต� ำแหน่ง ได้แก่ ต� ำแหน่งที่ ๑ แขนท� ำมุม ๔๕ องศากับล� ำตัว ต� ำแหน่งที่ ๒ แขนท� ำมุม ๙๐ องศากับล� ำตัว ต� ำแหน่งที่ ๓ แขนท� ำมุม ๑๓๕ องศากับล� ำตัว ต� ำแหน่งที่ ๔ แขนท� ำมุม ๑๘๐ องศากับล� ำตัว และต� ำแหน่งที่ ๕ แขนท� ำมุม ๒๗๐ องศากับล� ำตัว รูปแบบของ ขา (เหลี่ยม) มี ๓ ประเภทคือ ยืนสองขา ยืนขาเดียว นั่ง รูปแบบของขา (ยืน สองขา) ยืนย่อเข่าเล็กน้อย ส้นเท้าชิด เท้าเปิด ๖๐ องศา เท้าวางหน้า ๐ องศา กับล� ำตัว (ก้าวหน้า) เท้าวางข้าง ๔๕ องศากับล� ำตัว (ก้าวข้าง) เท้าวางหลัง ๐ องศากับล� ำตัว (วางหลัง) รูปแบบของขา (ยืนขาเดียว) ยืนกระดกเท้า กระดก หน้า กระดกข้าง กระดกหลัง กระดกเสี้ยว รูปแบบของขา (นั่ง) นั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่า นั่งชันเข่าหนึ่งข้าง นั่งคุกเข่ากระดกเสี้ยว ต� ำแหน่งล� ำตัวและศีรษะ เชื่อมโยงกันด้วยเกลียวหรือเส้นควบคุมล� ำตัวคือ เกลียวหน้า อกตึง ไหล่ผึ่ง เกลียวข้าง ตั้งล� ำตัวตรง เอียงซ้าย กดเกลียวซ้าย ตรงชายโครง ไม่ยุบไหล่ ไม่ เอียงคอ เอียงขวา กดเกลียวขวา ตรงชายโครง ไม่ยุบไหล่ ไม่เอียงคอ ศีรษะ เอียงตามแนวเกลียว เพื่อให้การผสมต� ำแหน่งมือ แขนให้เป็นท่าร� ำ ก็ต้องก� ำหนดชื่อต� ำแหน่ง เพื่อผสมเป็นท่าร� ำ ดังนี้ วงบนแบบที่ ๑ ขวาต� ำแหน่งที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ซ้ายต� ำแหน่งที่ ๑ ๒ ๓ ๔ วงบนแบบที่ ๒ ขวาต� ำแหน่งที่ ๑ ๒ ๓ ซ้ายต� ำแหน่งที่ ๑ ๒ ๓ ต่อ ไปนี้เป็นตัวอย่างการผสมต� ำแหน่งเป็นท่าร� ำ จีบ (วง) ล่างซ้ายต� ำแหน่งที่ ๑ + (ตั้งมือ) วงบนขวาต� ำแหน่งที่ ๓ เท่ากับท่าสอดสร้อยมาลา จีบ (วง) ล่างซ้าย ต� ำแหน่งที่ ๑ + จีบ (วง) บนขวาต� ำแหน่งที่ ๓ เท่ากับท่าแขกเต้าเข้ารัง (ตั้งมือ) วงล่างซ้ายต� ำแหน่งที่ ๑ + (ตั้งมือ) วงล่างขวาต� ำแหน่งที่ ๑ เท้าขวาวางหลัง เท่ากับท่าขัดจางนาง ส� ำหรับการล� ำดับขั้นของท่าร� ำ ๑ ท่า ท่าตั้งต้นเป็นแบบ จีบ ท่าจบเป็นแบบตั้งมือ ท่าตั้งต้นเป็นแบบตั้งมือ ท่าจบเป็นแบบจีบ ท่าเชื่อม เป็นรูปคดกริช หรือวงกลมเหลื่อมกัน หรือเลขแปด 8 แนวนอน ส่วนการเรียง ท่าร� ำมักเรียงท่าร� ำจากวงล่างไปวงกลางสู่วงบน หรือเรียงท่าร� ำจากวงบนไปวง กลางสู่วงล่าง ไม่นิยมเรียงท่าร� ำจากวงล่างข้ามวงกลางไปวงบน ไม่นิยมเรียง ท่าร� ำต่อกันด้วยวงระดับเดียวกัน ข้อสังเกต ท่าร� ำแม่บทเป็นท่าร� ำที่มีชื่อท่าก� ำกับไว้ให้พอเห็นเป็นเค้าว่าท่า ร� ำควรเป็นเช่นไร ในแต่ละชื่อท่าร� ำนั้นมิได้มีเพียงท่าร� ำท่าเดียว แต่ประกอบด้วย หลายท่านิ่งและท่าเชื่อมจึงจะสมบูรณ์ เช่น ท่าสอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน ประกอบ ด้วย ท่าย่อยคือ ท่าสอดสร้อยซ้าย (ท่าเชื่อม) ท่าสอดสร้อยขวา (ท่าเชื่อม) ท่า เฉิดฉิน อีกทั้งยังมีท่าเชื่อมที่ซับซ้อน ดังนั้นค� ำว่า “ท่าร� ำ” ควรมีบทนิยามที่ เหมาะสมและชัดเจน ท่าร� ำไทยน� ำมาใช้เป็นภาษาท่าร� ำ การร� ำไทยส่วนใหญ่ เป็นการร� ำตามค� ำร้อง เรียกว่า ร� ำตีบท หรือ ร� ำท� ำบท หรือ ร� ำใช้บท ท่าร� ำอาจ แบ่งเป็นท่าละคร และ ท่าระบ� ำ ท่าละครเป็นท่าร� ำที่มุ่งสื่อความของบทละคร ให้ชัดเจน และพยายามเลี่ยงการใช้ท่าซ�้ ำ ๆ ในช่วงเวลาที่ใกล้ ๆ กัน คล้ายกับ หลักการเขียนที่ไม่นิยมใช้ค� ำซ�้ ำ ๆ ในที่ใกล้ ๆ กัน ท่าระบ� ำเป็นท่าที่มุ่งแสดง ความงามของท่าร� ำ โดยเลือกท่าที่สื่อความหมายพอเป็นนัย และอาจร� ำซ�้ ำท่า กันได้หลาย ๆ ครั้ง หากมีคนร� ำหลายคนก็อาจประกอบท่าร� ำของหลายคนขึ้น เป็นท่ารวมให้มีความหมายหนึ่ง ๆ ได้ หน้าที่ของภาษาท่าร� ำอาจแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภท คือ (๑) ท่าร� ำแสดง กิริยา เช่น ไป มา บิน เหาะ แผลงศร (๒) ท่าร� ำแสดงอารมณ์ เช่น โศก โกรธ ดีใจ เสน่หา (๓) ท่าร� ำแสดงปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฝนตก ลมพัด (๔) ท่า ร� ำแสดงใจความที่เป็นนามธรรม เช่น เกรียงไกร สิ่งควรค� ำนึงถึงก็คือ ท่าร� ำที่ มีชีวิต เนื่องจากคนร� ำไม่ได้ร้องและเจรจาเองอีกทั้งไม่นิยมใช้สีหน้า ท� ำให้ดูคล้าย หุ่น จึงต้องก� ำหนดการเคลื่อนไหวของท่าร� ำให้มีจังหวะจะโคนเหมือนมีลมหายใจ และรับกับจังหวะของดนตรี ดังนั้น ท่าร� ำไทยจึงมีการกระทบจังหวะ (ยืดยุบ) อย่างสม�่ ำเสมอ ตามจังหวะหน้าทับ (กลอง) และจังหวะฉิ่ง การร� ำต้องอาศัย หลักวิชาสาขาต่าง ๆ เพื่อให้ได้อรรถรส การร� ำเป็นคณิตศาสตร์ การร� ำต้อง อาศัยหลักเลขคณิต เพราะต้องนับจังหวะให้ลงตัวเพื่อความพร้อมเพรียงระหว่าง ดนตรีกับการร� ำ และระหว่างคนร� ำด้วยกัน การร� ำให้ลงตัวเรียกว่า กระทบ จังหวะ (กลองหรือฉิ่ง) การร� ำต้องอาศัยเรขาคณิตเพื่อจัดอวัยวะต่าง ๆ ของ ร่างกายให้เป็นรูปทรงและจัดเส้นทางการเคลื่อนที่หรือแปรแถวให้คลี่คลายไป มาได้อย่างราบรื่น ไม่ยุ่งเหยิง การร� ำเป็นฟิสิกส์ การร� ำต้องใช้พลังในรูปแบบ ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้การขับเคลื่อนอวัยวะต่าง ๆ มีประสิทธิภาพ การ ใช้พลังจะสอดคล้องกับการแสดงกิริยาให้สามารถสื่ออาการและอารมณ์ต่าง ๆ ของตัวละครในขณะนั้นได้อย่างชัดเจน เช่น ความโกรธใช้การผลักดันพลังจาก ภายในให้ออกมาดูระเบิดอย่างรุนแรง ความเศร้าใช้พลังที่แรงเช่นกัน แต่เป็นการ ใช้พลังอย่างต่อเนื่องและอาจเก็บกด การร� ำเป็นนิเทศศาสตร์ การร� ำมีจุด ประสงค์ในการสื่อความหมายด้วยภาษากายให้ชัดเจน โดยการเลือกท่าทางตาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=