1571_3519

5 ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒๒๓ เดือนธันวาคม ๒๕๕๒ หลายอย่าง ทั้งต่อตัวบุคคลและต่อสังคม ประการแรก ในเรื่องการชะลอการ แต่งงานออกไป ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ชัดเจนในปัจจุบัน มองในแง่ดี อาจเห็นว่านี่ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อคนหนุ่มสาว เพราะการชะลอการแต่งงานออกไป ท� ำให้ คนหนุ่มสาวได้ใช้ชีวิตในช่วงดังกล่าวนี้ยาวนานขึ้น ประการที่ ๒ การหย่าร้างที่ เพิ่มขึ้นอาจจะมองว่าเป็นความอ่อนแอของครอบครัวก็ได้ แต่จากมุมมองของ สามีภรรยาที่เกี่ยวข้อง แม้อาจจะไม่ใช่สิ่งที่น่ายินดีแต่ส� ำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องอีก ฝ่ายหนึ่งคือ บุตร การหย่าร้างอาจมีกระทบผลอย่างส� ำคัญ และโดยมากจะเป็น ผลกระทบในทางลบ ประการที่ ๓ ครัวเรือนในปัจจุบันไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง เฉพาะในเรื่องขนาดและโครงสร้าง เท่านั้น แต่ยังมีแนวโน้มปรากฏชัดเจนขึ้น เรื่อย ๆ ว่า รูปแบบของการเริ่มสร้างครอบครัว และรูปแบบการอยู่อาศัย จะ มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าแนวโน้มนี้จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจและสังคมตรง ๆ หรือมาจากอิทธิพลของปัจเจกนิยมที่ส� ำคัญคือด้าน ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว อันมีผลต่อการให้เวลาและเอาใจใส่ดูแล กันตามที่คาดหวัง ปัจจุบันอาจจะเร็วเกินไปและน่าจะไม่ถูกต้องที่จะกล่าวว่า ความสัมพันธ์ในครอบครัวไทยได้มาถึงจุดที่เป็นปัญหาแล้ว เช่น ความรุนแรงใน ครอบครัว และการที่เด็กและผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ซึ่งเป็นสิ่งบอก เหตุว่า ความสัมพันธ์ในครอบครัวอาจจะเริ่มออกอาการที่น่าเป็นห่วงแล้วก็ได้ • วันพุธที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร สิริกาญจน ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอัคฆวิทยา บรรยายเรื่อง “แนวคิด ทางจริยศาสตร์แบบลัทธิเจตจ� ำนงในงานเขียนของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)” ความโดยสรุปว่า ค� ำว่า “ลัทธิเจตจ� ำนง” เป็นศัพท์บัญญัติของค� ำว่า Voluntarism หมายถึง ทรรศนะที่ถือว่าเจตจ� ำนงของมนุษย์เป็นมาตรการสูงสุด ในการตัดสินการกระท� ำทางศีลธรรมว่า ดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด เป็นบุญหรือเป็น บาป Voluntarism ในทางจริยศาสตร์ หมายถึง หลักการที่ถือว่าเจตจ� ำนงของ มนุษย์เป็นศูนย์กลางของประเด็นปัญหาทั้งหมดทางศีลธรรมและจริยธรรม ผู้ที่ริเริ่มใช้ค� ำว่า Voluntarism เป็นคนแรกคือ แฟร์ดีนันด์ เทินนีส์ เมื่อ ค.ศ ๑๙๘๓ ในการแยกความแตกต่างระหว่างชุมชนตามธรรมชาติกับสมาคม โดยสมัครใจ นักปรัชญาตะวันตกที่มีทรรศนะทางจริยศาสตร์แบบลัทธิเจตจ� ำนง มีอยู่หลายคน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงทรรศนะของอิมมานูเอล คานท์ นักปรัชญา ชาวเยอรมัน ผู้มีแนวคิดเรื่องเจตจ� ำนงบางแง่มุมที่พอจะเทียบเคียงให้เข้าใจลัทธิ เจตจ� ำนงในงานเขียนของพระพรหมคุณาภรณ์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อิมมานูเอล คาน ต์เป็นนักจริยศาสตร์แบบลัทธิเจตจ� ำนง เพราะเขาเชื่อว่าการตัดสินทางจริยธรรม ว่าสิ่งใดถูกหรือผิด ดีหรือชั่วนั้น ขึ้นอยู่กับเจตจ� ำนงทางศีลธรรม ลักษณะความ คิดของคานต์อาจจ� ำแนกได้ดังนี้ การส� ำนึกรู้ในเรื่องดีชั่วที่แท้จริงนั้น ไม่ได้เกิด จากการอบรมสั่งสอนและประเพณีวัฒนธรรม แต่เกิดจากสมรรถภาพทางจิตที่ เป็นเสรีจากประสบการณ์ทั้งปวงและเป็นกลไกของเหตุผลภาคปฏิบัติ ที่อยู่ใน จิตมนุษย์ซึ่งเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง เจตจ� ำนงเสรีที่เป็นเจตจ� ำนงที่ดีท� ำให้เกิด ความส� ำนึกและการกระท� ำที่เรียกว่า “หน้าที่เพื่อหน้าที่” ในปัจจุบันเราเรียกแนวคิดดังกล่าวว่า “ทฤษฎีกรณียธรรม” ทฤษฎีนี้ถือว่า การจะตัดสินการกระท� ำทางศีลธรรมว่าดีหรือชั่ว ให้ถือเอาเจตนาที่จะท� ำตาม หน้าที่ทางศีลธรรมเป็นเกณฑ์ตัดสิน ไม่น� ำผลที่เกิดขึ้นจากการกระท� ำมาตัดสิน การท� ำความดีในทรรศนะของคานต์จึงต้องมาจากคุณภาพทางจิต มิใช่ผลของ การกระท� ำ ไม่ใช่กระท� ำเพราะผลของการกระท� ำท� ำให้เราดูดีในสายตาของผู้อื่น การช่วยเหลือผู้อื่นอาจท� ำให้เรามีความสุขหรือมีความทุกข์ก็ได้ ในปัจจุบัน พระ พรหมคุณาภรณ์ประสบความส� ำเร็จในการท� ำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่าง สูงยิ่ง ท่านสร้างงานเขียนทั้งหมดประมาณ ๓๐๐ เล่ม เล่มที่ส� ำคัญสูงสุดและ ใช้เป็นต� ำราอ้างอิงอย่างกว้างขวาง คือ พุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม และพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ งานเขียน ของพระพรหมคุณาภรณ์แสดงแนวคิดแบบลัทธิเจตจ� ำนงเป็นปฐมบทของ แนวคิดทางจริยศาสตร์แนวอื่น ๆ ในพระพุทธศาสนา แนวคิดนี้ปรากฏชัดเจน ในค� ำสอนทางพระพุทธศาสนาเรื่องกรรมและกฎแห่งกรรม พระพรหมคุณาภ รณ์ถือว่า “กรรม” และ “เจตจ� ำนง” หรือ “เจตนา” เป็นสิ่งเดียวกัน เพราะถ้า ท� ำกรรมย่อมหมายถึงท� ำด้วยเจตจ� ำนง ถ้าไม่มีเจตจ� ำนงย่อมไม่มีกรรม “กรรม” หรือ “เจตจ� ำนง” มีความสัมพันธ์กับการท� ำดีท� ำชั่ว เจตจ� ำนงของมนุษย์เป็น อิสระ มนุษย์สามารถเลือกที่จะท� ำดีหรือท� ำชั่วได้ พระพุทธศาสนาถือว่ากรรม เก่าเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการของกรรม เป็นเหตุปัจจัยในอดีตที่ส่งผลมาสู่ชีวิต ของมนุษย์ในปัจจุบัน เจตจ� ำนงเป็นผู้สร้างและก� ำหนดความเป็นไปของมนุษย์ คนเราจะเป็นอะไรย่อมอยู่ที่ความจงใจที่จะเป็นเช่นนั้น หรือเลือกที่จะเป็นเช่น นั้น ในบรรดากรรมทั้ง ๓ ประเภท คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม มโนกรรมเป็นสิ่งส� ำคัญที่สุดและให้ผลกว้างขวางและรุนแรงที่สุด เพราะเป็นจุด เริ่มต้น คนเราคิดก่อนแล้วจึงพูดและกระท� ำ วจีกรรมและกายกรรมจึงขยาย ออกมาจากมโนกรรม มโนกรรมรวมถึงความเชื่อถือ ความเห็น ทฤษฎี แนวความ คิดและค่านิยมต่าง ๆ ที่เรียกว่า ทิฏฐิ จริยศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาหรือพุทธจริยศาสตร์เริ่มจากเจตนาหรือ เจตจ� ำนง เจตนาที่เป็นมิจฉาทิฎฐิท� ำให้เกิดอกุศลกรรม เจตนาที่เป็นสัมมาทิฎฐิ ท� ำให้เกิดกุศลกรรม คุณธรรมต่าง ๆ ต้องประกอบไปด้วยกุศลเจตนาหรือสัมมา ทิฎฐิ มิฉะนั้นจะน� ำไปสู่อกุศลกรรม แนวคิดทางจริยศาสตร์แบบลัทธิเจตจ� ำนง ในงานเขียนของพระพรหมคุณาภรณ์ เป็นแนวคิดเชิงประยุกต์ที่พยายามตอบ ปัญหาและชี้แนวทางในการพัฒนาสังคม และทุกครั้งที่สังคมไทยมีปัญหาทั้งใน ด้านศาสนา สังคม การเมือง และอื่น ๆ พระพรหมคุณาภรณ์จะน� ำเสนอหลัก ธรรมทางพระพุทธศาสนาในการแก้ไขวิกฤตต่าง ๆ ตลอดจนแนวทางในการ พัฒนาชีวิตของบุคคลและสังคมอยู่เสมอ การพัฒนาบุคคล หมายถึง การพัฒนา ตนเอง การท� ำให้ตนเองเจริญขึ้น ในพระพุทธศาสนาหมายถึง การพัฒนา คุณภาพภายในตัวมนุษย์ซึ่งได้แก่ จิตใจ การแก้ปัญหาทุกด้านมีศูนย์กลางอยู่ที่ มนุษย์ เมื่อพัฒนามนุษย์หรือพัฒนาบุคคลให้ดีแล้ว การพัฒนาบุคคลคือ การ พัฒนาระบบการด� ำเนินชีวิตทั้ง ๓ ด้านที่สัมพันธ์กัน คือ พฤติกรรม จิตใจ และ ปัญญา มนุษย์เราจึงควรน� ำเสนอแนวคิดนี้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง ข่มใจ ไม่ยอมท� ำตามกิเลส เลือกปัญญาให้เป็นผู้น� ำทาง และด� ำเนินการฝึกฝน ตนเองตามหลักไตรสิกขา พระพรหมคุณาภรณ์ชี้ให้เห็นว่าในปัจจุบันมีความเข้าใจผิดกันทั่วไปว่าความ เจริญก้าวหน้าและการพัฒนาบุคคลและสังคมวัดกันที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทางอุตสาหกรรมท� ำให้เกิดสังคม แบบบริโภคนิยม และการท� ำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง พฤติกรรมแบบบริโภคนิยมคือ การที่คนเราตอบสนองความอยากของตนเอง โดยการบริโภคสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ค� ำนึงถึงผลเสียหายของธรรมชาติแวดล้อมและ ผู้อื่น ในปัจจุบันจึงเกิดแนวคิดที่ต้านกระแสบริโภคนิยมขึ้นเรียกว่า การพัฒนา ที่ยั่งยืน พระพรหมคุณาภรณ์เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องบริโภคนิยมและ แนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักค� ำสอนทางพระพุทธศาสนา คือ การปฏิบัติตนตามทางสายกลาง บริโภคแต่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป บริโภคในปริมาณที่เหมาะสมในการตอบสนองความต้องการของเราได้ ซึ่ง พระพุทธศาสนาใช้ค� ำว่า “มัตตัญญุตา” คือ ความรู้จักประมาณ รู้จักความพอดี ท่านมีทรรศนะว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือส� ำคัญในการพัฒนาคน การพัฒนา คนด้วยการศึกษาในระดับพื้นฐาน คือ ท� ำให้คนรู้จักใช้การรับรู้ของตนอย่างถูก ต้อง ท� ำให้คนรู้จักบริโภคด้วยปัญญา มีมัตตัญญุตา มีดุลยภาพในการให้และการ รับ การศึกษาจะต้องสร้างชีวิตและพัฒนาชีวิตให้มีความสมดุลระหว่าง “การ ได้” กับ “การให้” ลัทธิเจตจ� ำนงในงานเขียนของพระพรหมคุณาภรณ์แสดงให้เห็นหลักการ ส� ำคัญในการวินิจฉัยเรื่องทางการเมือง โดยให้ใช้เกณฑ์การเมืองที่ถูกต้องคือ ธรรมาธิปไตย ให้ธรรมะปกครอง ให้ความดีความถูกต้องปกครอง แนวคิดทาง จริยศาสตร์แบบลัทธิเจตจ� ำนงในทรรศนะของนักปรัชญาตะวันตกมีส่วนคล้าย และส่วนต่างจากแนวคิดทางจริยศาสตร์แบบลัทธิเจตจ� ำนงของพระพรหมคุณา ภรณ์ ลัทธิเจตจ� ำนงของอิมมานูเอล คานท์มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงว่ามนุษย์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=