1571_3519

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำ �นักสำ �นัก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ รองศาสตราจารย์ ดร.ชาย โพธิสิตา ภาคี สมาชิก ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บรรยายเรื่อง “เกิดอะไรขึ้นกับครอบครัว” ความโดยสรุปว่า เพื่อท� ำความเข้าใจ ว่าอะไรเกิดขึ้นกับครอบครัว และสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เราจะพิจารณา ครอบครัวโดยแยกองค์ประกอบออกเป็นส่วน ๆ มีข้อมูลสนับสนุนค่อนข้าง ชัดเจนว่ามีการเปลี่ยนแปลงในครอบครัวไทยในปัจจุบันอย่างน้อย ๒ ด้าน คือ การเปลี่ยนแปลงในด้านการเริ่มสร้างครอบครัว หรือการแต่งงาน กับการหย่า หรือการสิ้นสุดลงของการเป็นครอบครัว นักสังคมศาสตร์ใช้ค� ำว่า “ครอบครัว” และ “ครัวเรือน” ในความหมายที่ต่างกันเล็กน้อย ค� ำแรกนั้นหมายถึงที่กลุ่มคน ที่มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือดและการแต่งงานเป็นหลัก ส่วนค� ำหลัง หมาย ถึง การอยู่อาศัย การแต่งงาน และการหย่า การแต่งงานเป็นการเริ่มต้นของ ครอบครัว ด้วยการที่ชายหญิงคู่หนึ่งตกลงร่วมชีวิตกันเพื่อสร้างครอบครัวของ ตน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะผูกพันกันไปตลอดชีวิต แต่ในปัจจุบัน การแต่งงานได้ เปลี่ยนแปลงไปมาก (๑) คนไทยชะลอเวลาการเริ่มสร้างครอบครัวกันมากขึ้น (๒) ขณะเดียวกันความแพร่หลาย หรือความชุกของการแต่งงานในสังคมก็ลด ลง (๓) รูปแบบการแต่งงานตามที่เคยปฏิบัติกันมาแต่เดิมเปลี่ยนไป (๔) การ เพิ่มขึ้นของการหย่าร้าง คนไทยชะลอการสร้างครอบครัว และครองโสดมากขึ้น ในเรื่องการแต่งงาน การเปลี่ยนแปลงในการเริ่มสร้างครอบครัวที่เกิดขึ้น นี้นับว่าส� ำคัญพอสมควร แม้การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นช้า ๆ แต่ก็เกิดขึ้นต่อ เนื่องมาตลอด แสดงว่าพลังหรือปัจจัยที่ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ ด� ำรงอยู่และท� ำหน้าที่ตลอดเวลา ในเมืองใหญ่หรือในภาคที่มีความเจริญทาง เศรษฐกิจมาก คนจะเริ่มต้นชีวิตครอบครัวช้ากว่าในภาคอื่น ๆ พฤติกรรมการ แต่งงานของคนเราจะตอบสนองกับความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม ใน ลักษณะที่เศรษฐกิจและสังคมเจริญมาก คนมีแนวโน้มที่จะแต่งงานช้าลงผู้มีการ ศึกษาสูงมักจะเริ่มชีวิตครอบครัวช้ากว่าผู้มีการศึกษาต�่ ำ และผู้ท� ำงานวิชาชีพ ที่ต้องใช้ความรู้และทักษะสูงก็มักจะแต่งงานช้ากว่าผู้ท� ำงานประเภทที่ต้องใช้ แรงงานหรือท� ำงานส่วนตัวที่มีความมั่นคงน้อย ในระดับภาค ภาพรวมความ เปลี่ยนแปลงก็คล้ายกับในระดับประเทศ คือมีประชากรชายหญิงที่ครองโสด เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคนไทยทุกวันนี้ชะลอการแต่งงานไว้ จนอายุใกล้ ๓๐ ปี ปรากฏการณ์นี้ชื่อว่าเป็นผลมาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมที่สูงขึ้น ปัจจัยส� ำคัญที่มีส่วนท� ำให้เกิดการชะลอการแต่งงาน ได้แก่ การที่คนมีการศึกษาสูงขึ้น มีสัดส่วนของผู้ที่ท� ำงานในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ขณะเดียวกันจ� ำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองและมีวิถีชีวิตแบบเมืองก็เพิ่ม สูงขึ้นด้วยปรากฏการณ์ที่คนจ� ำนวนมากชะลอการแต่งงานไว้จนอายุสูงขึ้น การ เลื่อนการแต่งงานออกไปจนอายุมากขึ้น รวมทั้งการครองโสดถาวร เป็น ปรากฏการณ์ที่พบในประเทศก� ำลังพัฒนาอื่น ๆ ด้วย แต่อัตราในเรื่องนี้แตกต่าง กันไปในแต่ละประเทศ รูปแบบการแต่งงานเริ่มถูกท้าทาย แต่เดิมมา รูปแบบของการอยู่กินระหว่างชายกับหญิงที่สังคมถือว่าเป็นการ แต่งงานคือการที่ทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกันโดยสมัครใจโดยปรกติก็มักจะมีการจัด พิธีตามประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่ง การจดทะเบียนตามกฎหมายจะมีหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นส� ำคัญ แต่ความส� ำคัญดูเหมือนจะเริ่มถูกท้าทาย เพราะในระยะ หลังมีรูปแบบของการอยู่กินกันแบบใหม่เกิดขึ้น การอยู่กินกันของชายหนุ่มหญิง สาวเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเงียบ ๆ ในกลุ่มคนรุ่นใหม่จ� ำนวนหนึ่ง และมัก พบเห็นได้ในบริบทของสังคมเมืองรูปแบบคือการที่หนุ่มสาวที่ถูกใจชอบพอกัน ตกลงอยู่ร่วมกัน เท่าที่ปรากฏมีการเรียกว่า “การอยู่ร่วม” บ้าง “อยู่ก่อนแต่ง” บ้าง หรือ “ชีวิตคู่ที่ออกแบบเอง” บ้าง ในเอกสารภาษาอังกฤษไม่เรียกการอยู่ กินแบบนี้ว่า marriage แต่เรียกว่า “cohabitation” การอยู่ก่อนแต่งเช่นนี้แพร่ หลายในประเทศที่อยู่ทางแถบเหนือของยุโรปตั้งแต่ราวทศวรรษ ๑๙๗๐ โดย เฉพาะสวีเดนและเดนมาร์ก ในเอเชียประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นญี่ปุ่น ในยุโรป และอเมริกา ปรากฏการณ์การอยู่ก่อนแต่งมีความส� ำคัญ ๒ ประการ คือ เป็นรูปแบบ ของการใช้ชีวิตที่มุ่งสนองความต้องการทางอารมณ์ของบุคคลเป็นส� ำคัญ และ เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันก่อนการตัดสินใจจะแต่งงานหรือไม่แต่งในภายหลัง ท� ำให้สถาบันครอบครัวอยู่ในสภาพที่ไม่มีความมั่นคงเท่าที่ควร ถ้าการพัฒนา ทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศไทยด� ำเนินไปในเส้นทางเดียวกับ ที่สังคมในยุโรปและอเมริกาได้ด� ำเนินมาแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ว่าแรงจูงใจที่น� ำไป สู่การอยู่กินกันโดยไม่มีการแต่งงานจะมีมากขึ้น การหย่าร้างเป็นมิติของ ครอบครัวไทยที่มีการศึกษาจ� ำนวนการหย่าในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นใน ช่วงเวลา ๑๕ ปีที่ผ่านมา แต่เนื่องจากไม่ใช่ผู้ที่หย่าร้างทุกคนได้จดทะเบียนหย่า การเพิ่มขึ้นของการหย่าเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความไม่มั่นคงของครอบครัว และ ความไม่มั่นคงนั้นก� ำลังยกระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ ผลลัพธ์ที่ตามมาอย่างหนึ่งคือ การเพิ่มขึ้นของครอบครัวที่หัวหน้าไม่มีคู่ โดยเฉพาะที่มีหัวหน้าเป็นหญิง การ เปลี่ยนแปลงในขนาดและโครงสร้างในช่วงเวลา ๓๐-๔๐ ปีที่ผ่านมาครอบครัว ไทยมีขนาดเล็กลง ทุกวันนี้การอยู่อาศัยในลักษณะที่เรียกว่าครัวเรือนมีรูปแบบหลากหลาย ครัวเรือนไม่ใช่เฉพาะหน่วยที่ประกอบด้วยพ่อแม่ลูก หรือพ่อแม่ลูกและญาติอื่น ๆ เท่านั้น แต่ยังมีครัวเรือนประเภทอื่นอีก คือ ครัวเรือนที่มีสมาชิกอยู่เพียงคน เดียว และที่อยู่กันเพียง ๒ คน เป็นอันชัดเจนว่าขนาดครอบครัวเล็กลง และ รูปแบบการอยู่อาศัยก็มีการปรับตัวตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ เปลี่ยนไป ครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว การเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นเป็นการ ปรับตัวของครอบครัวที่สนองตอบต่อลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจแบบ อุตสาหกรรม ครอบครัวไทยเปลี่ยนจากการเป็นครอบครัวขยายในอดีตสู่การ เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นในปัจจุบัน ปรากฏการณ์เกี่ยวกับครัวเรือนอีกอย่าง หนึ่งที่ควรกล่าวถึงคือ การสร้างและการด� ำรงชีวิตประจ� ำวันของครัวเรือนที่อิง อยู่กับกระแสโลกาภิวัตน์ ครัวเรือนแบบนี้เรียกว่า “ครัวเรือนโลกาภิวัตน์” เช่น การแต่งงานและการสร้างครอบครัวของหญิงไทยในชนบทกับคู่สมรสชาวต่าง ประเทศ การแต่งงานนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจและ สังคมของครัวเรือน ลักษณะเด่นของ “ครัวเรือนโลกาภิวัตน์” คือเป็นครัวเรือน ที่ด� ำรงอยู่โดยอาศัยกระแสโลกาภิวัตน์ค่อนข้างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งงาน หรือการด� ำเนินชีวิตประจ� ำวันของครัวเรือน รูปแบบการสร้างและการด� ำเนิน ชีวิตครอบครัวเช่นนี้เป็นไปได้ เพราะในกระแสโลกาภิวัตน์นั้น เงิน (ทุน) คน (แรงงาน) เทคโนโลยี และข้อมูลข่าวสาร สามารถเคลื่อนไหวข้ามชาติได้อย่าง แทบไม่มีข้อจ� ำกัด ความสัมพันธ์ในครอบครัวเปลี่ยนไป ความสัมพันธ์ภายในครัวเรือนมี ๒ มิติ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก ต่างรุ่น (แนวตั้ง) และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกรุ่นเดียวกัน (แนวนอน) ข้อมูล ระดับประเทศเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ๒ มิตินี้ปัจจุบันค่อนข้างจ� ำกัด กรณีตัวอย่าง ที่แสดงถึงคุณภาพของความสัมพันธ์ในครอบครัวในปัจจุบัน จะเห็นได้จากปัญหา การดูแลบุตรที่ยังเล็กและการดูแลผู้สูงอายุ ภายใต้สถานการณ์ที่การย้ายถิ่น จากชนบทสู่เมืองในกลุ่มคนวัยแรงงานมีอัตราสูงอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ท� ำให้ เด็กที่ก� ำลังต้องการความอบอุ่นและการเอาใจใส่จากพ่อแม่ และผู้สูงอายุที่ไม่ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในครอบครัวมีความหมาย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=