1570_2534
ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒๒๒ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ 7 ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ถ้วน ทั้งในเรื่องเกี่ยวกับความรัก คติชีวิตเกี่ยวกับความหลอกลวง ธรรมชาติ ของหญิงชายที่มีความรักต่อกัน อ� ำนาจของความรักสามารถเปลี่ยนแปลง ความหมายมุ่งจะท� ำร้ายให้กลายเป็นดีต่อกันได้ ในเรื่องยังทรงแทรกแนวคิด เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ก� ำลังของกองทัพเรือให้แข็งแกร่ง ซึ่งเรื่องนี้อาจสืบ เนื่องจากภูมิศาสตร์ของไทยมีดินแดนติดทะเล ข้าศึกศัตรูเข้ามาถึงได้ทางทะเล และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระบรมราโชบายที่จะพัฒนา พลังของชาติในการป้องกันข้าศึกทางทะเล บทละครพูดค� ำฉันท์เรื่องมัทนะ พาธา หรือต� ำนานแห่งดอกกุหลาบ เป็นละครพูดค� ำฉันท์ ๕ องค์ พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้รับ ยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ให้เป็นยอดของบทละครพูดค� ำฉันท์ ผู้บรรยายมีความยินดีที่วงการเศรษฐกิจการค้าเห็นคุณค่าของวรรณคดีไทย และใช้วรรณคดีกวีนิพนธ์ ๓ เรื่องดังกล่าวเป็นประโยชน์ด้านโฆษณา ซึ่งเป็นการ ใช้ประโยชน์แนวใหม่ หวังว่าทุกคนคงเห็นคุณค่าของวรรณคดีไทยสมดังค� ำโฆษณา ที่ว่า “วรรณคดีไทย รากฐานทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ให้โลกรู้ว่าเมืองไทยมีดี” • วันอังคารที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาโนช กงกะนันทน์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาประยุกต์ศิลป์ สาขาวิชามัณฑนศิลป์ บรรยายเรื่อง “มัณฑนศิลป์อยุธยา” ความโดยสรุปว่า ศิลปกรรมอยุธยาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงเมื่อเสียกรุงครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐) ศิลปกรรมส่วนใหญ่เป็นศิลปกรรมที่เกิดจากความบันดาลใจทางศาสนาด้วยความ ศรัทธาอย่างสูง มีทั้งสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประณีตศิลปกรรม มัณฑนศิลป์ ซึ่งกล่าวโดยรวมว่า “พุทธศิลป์” มัณฑนศิลป์ในสมัยอยุธยาที่น� ำเสนอเป็น มัณฑนศิลป์บนใบเสมาหินสมัยอยุธยา รูปแบบของใบเสมาทั่วไปเป็นลักษณะกลีบ บัว ท� ำด้วยศิลา มีขนาดและความสูงแตกต่างกันตามสมัย คือ ยุคที่ ๑ อยุธยา ตอนต้น ยุคที่ ๒ อยุธยาตอนกลาง และยุคที่ ๓ อยุธยาตอนปลาย ยุคที่ ๑ อยุธยาตอนต้น (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๐๓๑) เริ่มตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองทรง สร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจนถึงสิ้นรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ใบ เสมามีขนาดสูงใหญ่ ใช้ปักลงในดินโดยไม่มีแท่นรองรับ มีการแกะสลักลวดลาย บนใบเสมาเป็นเรื่องราวเพื่อเสนอความรู้ เช่น พุทธประวัติ ชาดก ตลอดจนลด ลายงดงามอื่น ๆ วัสดุที่สร้างนิยมใช้หินชนวน ต่อมา ภายหลังใบเสมามีขนาด เล็กลง รูปแบบเรียบง่ายไม่มีเครื่องตกแต่งอลังการ ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะได้รับ อิทธิพลจากลัทธิหินยานของลังกาที่นิยมฝึกกรรมฐานเพื่อให้จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ ยินดียินร้ายในเครื่องประดับใด ๆ ยุคที่ ๒ อยุธยาตอนกลาง (พ.ศ. ๒๐๓๔- ๒๑๗๑) เริ่มตั้งแต่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ จนถึงสิ้นรัชกาลพระเจ้าทรงธรรม ใบเสมา ในยุคนี้มีรูปแบบสวยงาม ตรงเส้นกลางของใบเสมามีเส้นหยัก วัสดุที่ ใช้แกะสลักเป็นหินอ่อนหรือหินเนื้อละเอียดบางชนิด ใบเสมามีขนาดเล็กลงและ มีการก่องอิฐถือปูนเป็นฐานรองรับอีกทีหนึ่ง รูปแบบเรียบง่าย แต่สิ่งใหม่ที่เกิด ขึ้นในยุคนี้คือ การลงรักปิดทองบนใบเสมา ยุคที่ ๓ อยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. ๒๑๗๓-๒๓๑๐) เริ่มตั้งแต่แผ่นดินพระเจ้าปราสาททองจนถึงเสียกรุงครั้งที่ ๒ ยุคนี้เป็นยุคที่รุ่งเรืองมาก มีความอุดมสมบูรณ์และมั่งคั่ง ใบเสมามีรูปทรงที่ แบบบาง มีความละเอียดอ่อนและมีลายประดับเต็มพื้นที่ สะท้อนให้เห็นความ เบิกบานทางความคิด ส่วนบนสุดของเสมามีพระเกี้ยวประดับ ตาเสมาประดับ ด้วยลายวงกลมสองวง ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะรับอิทธิพลมาจากขอม วัสดุที่นิยมใช้ สร้างเป็น หินทรายขาวนวัตกรรมทางการออกแบบใบเสมาหินรูปแบบของใบ เสมามีวิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบันไม่มากนัก คือ (๑) รูปทรงลดขนาดลง (๒) เนื้อหาและลวดลายที่ปรากฏบนใบเสมา แต่เดิมเป็นเรื่องราวอย่างพุทธ ประวัติ ชาดก แต่ต่อมามีลายประดับ (๓) วัสดุ เดิมใช้แผ่นศิลา เช่น หินชนวน หินอ่อน ปัจจุบันใช้ซีเมนต์หล่อจากแบบในฐานะที่เป็นช่างออกแบบมีความ ประสงค์ที่จะออกแบบขึ้นใหม่ โดยคงลักษณะเดิมไว้ แต่เปลี่ยนลวดลายประดับ ใหม่ ทั้งนี้ คาดว่าผลที่จะตามมาก็คือ การใช้อาจเปลี่ยนแปลงไป คือ น� ำมา ตกแต่งสถานที่เพื่อเพิ่มความงดงามอันเป็นอาหารของจิตใจประการหนึ่ง ดร.ไพโรจน์ ทองค� ำสุก ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขา วิชาดุริยางคกรรม บรรยายเรื่อง “การอนุรักษ์โขนหน้าจอ” ความโดยสรุป ว่า โขนหน้าจอ เป็นการแสดงโขนบนเวทียกพื้นด้วยโครงเหล็ก หรือด้วยวิธี การจัดถังน�้ ำมันตั้งเรียงเป็นแนวยาว จากนั้นน� ำไม้กระดานวางในลักษณะรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วปูทับด้วยผ้ายางตลอดแนว มีจอผ้าขาวขึงตามความยาว ของโรง ด้านล่างของจอผ้าขาวมีตารางประกอบไว้เพื่อให้นักดนตรีสามารถ มองเห็นตัวโขนได้อย่างชัดเจน สองข้างจอมีประตูส� ำหรับผู้แสดงเข้าออก ด้านขวามือของผู้ชมมีภาพเขียนเป็นรูปปราสาทราชวัง สมมติเป็นกรุงลงกา หรือเมืองยักษ์ ด้านซ้ายมือของผู้ชมเป็นรูปพลับพลาพระราม ด้านหลังจอ ผ้าขาว และภาพเขียนทั้งสองภาพจะมีเสา ๗ ต้น (ซึ่งมีธงชาติอยู่ที่หัวเสา) เป็นส่วนที่ยึดผ้าขาว ด้านหลังของเวทีมีส่วนที่ยกพื้นเป็นที่ตั้งวงปี่พาทย์ จารีตในการแสดงโขนหน้าจอ คือ (๑) ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์เหมือนการ แสดงโขนประเภทอื่น แต่เพิ่มเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งคือ โกร่ง ตีประกอบเพลง หน้าพาทย์ที่มีกลองทัดตี ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเสียงดังครึกครื้นจังหวะเพลงแน่น ขึ้น เพราะการแสดงโขนหน้าจอจัดแสดงกลางแจ้ง เสียงที่ดังจะได้เรียกผู้คน มาชมการแสดงโขน (๒) การบรรเลงเพลงโหมโรง มีการบรรเลงเพลงโหมโรง ก่อนเริ่มการแสดงประมาณ ๓๐ นาที เพื่อเชิญชวนคนดูให้มาชมการแสดง โขน (๓) ผู้แสดงโขนหน้าจอ ตัวที่เป็นเสนา นางก� ำนัล ต้องคลานออกไปนั่ง เฝ้าก่อนที่ตัวนายจะเดินออก และกลับเข้าฉากหลังจากที่ตัวนายเดินเข้า (๔) ต� ำแหน่งการนั่งของผู้แสดงโขนหน้าจอ นั่งตามความยาวของเวทีที่ใช้แสดง พวกเสนานั่งคู่กันหันหน้าเข้าหานาย หันข้างให้ผู้ชม พิเภกและพญาวานรนั่ง ตรงกลางระหว่างสิบแปดมงกุฎ เป็นต้น (๕) การเข้าออกของผู้แสดง ฝ่าย พระออกด้านซ้ายของผู้ชม ฝ่ายยักษ์ออกด้านขวาของผู้ชม เป็นต้น (๖) บท โขน ด้วยเป็นการแสดงที่ไม่มีม่านเปิดปิด และไม่มีฉากประกอบการแสดง บทโขนจึงต้องมีความต่อเนื่องกัน และระบุตัวโขนเข้าออกให้ชัดเจน (๗) ผู้ พากย์ เจรจาแทน มีเฉพาะผู้ชาย แม้จะพากย์แทนตัวนางก็ตาม (ใช้ผู้พากย์ ที่มีน�้ ำเสียงอ่อนหวาน นุ่มนวล ไม่ดัดเสียง) (๘) การบอกบทร้อง ผู้พากย์ เจรจาโขน ต้องบอกบทร้องด้วยเสียงดังน� ำก่อนนักร้องทุกครั้ง เพื่อให้ผู้แสดง รู้บทก่อนที่จะร� ำ (๙) การเรียกเพลงหน้าพาทย์ ผู้พากย์จะเรียกเพลงหน้า พาทย์หลังจากจบการพากย์ (๑๐) การแผลงศร เมื่อพระรามท� ำท่าแผลงศร ออกไป จะมีตัวตลกโขนถือลูกศรวิ่งออกจากประตูด้านพระราม แล้ววิ่งไปหา ฝ่ายยักษ์ที่เป็นคู่ต่อสู้ โดยน� ำลูกศรเข้าตีกับคันศรของฝ่ายยักษ์ จากนั้นก็น� ำ ลูกศรปักที่อกยักษ์ ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงโอดทันที การแสดงโขนหน้าจอในปัจจุบัน อาจมีการแสดงเพียง ๒-๓ ครั้งต่อปี เมื่อความทราบถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ ทรงห่วงใยและมีพระราชประสงค์ที่จะอนุรักษ์โขนหน้าจอให้ประชาชนได้รู้จัก วิธีการแสดงโขนแบบโบราณ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บรรเลงระนาดเอกประกอบการแสดงโขนหน้าจอชุด ศึกทศกัณฐ์ขาดเศียร ขาดกร นอกจากนี้ ยังมีพระราชด� ำริให้จัดการแสดงโขนหน้าจอแบบโบราณ เรื่องรามเกียรติ์ซึ่งเป็นตอนที่คนไทยแต่งขึ้นเอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงแหล่ง ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมไทยอย่างแท้จริง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่เหล่า ศิลปินกรมศิลปากรและประชาชนไทยทั้งปวงอย่างหาที่สุดมิได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=