1570_2534
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ลิวคีเมียออกมาในเลือด จึงไม่ขัดขวางการสร้างเม็ดเลือดในไขกระดูก ศาสตราจารย์ ดร.ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ระบบการ จัดการพลังงานในอุตสาหกรรม” ความโดยสรุปว่า ระบบการจัดการพลังงาน (Energy Management System) จะช่วยให้การบริโภคพลังงานเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพและเป็นระบบ ส� ำหรับโรงงานที่มีขนาดหม้อแปลงตั้งแต่ ๑,๑๗๕ กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไปหรือที่มีการใช้พลังงานรวมทั้งจากไฟฟ้าและ ความร้อนรายปี ตั้งแต่ ๒๐ ล้านเมกะจูลขึ้นไป มีกฎหมายควบคุมให้มีการ จัดท� ำระบบจัดการพลังงานและต้องรายงานผลการด� ำเนินงานของระบบเป็น ประจ� ำทุกปี โดยเริ่มผลของการด� ำเนินงานใน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป โดยที่ ใน ค.ศ. ๒๐๑๑ มาตรฐานสากลส� ำหรับระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001 จะพร้อมให้ผู้ที่ต้องการการรับรองระบบน� ำไปใช้ การพัฒนาระบบการจัดการ พลังงานจึงเป็นสิ่งจ� ำเป็นส� ำหรับอุตสาหกรรมทั้งในด้านปฏิบัติตามกฎหมาย และการป้องกันการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ส� ำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยแก้ว บรรยาย เรื่อง “นวนิยายรางวัลซีไรต์ ปี ๒๕๕๒” ความโดยสรุปว่า การประกวด วรรณกรรมรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจ� ำ ปี ๒๕๕๒ เป็นการประกวดครั้งที่ ๓๑ หลังจากเริ่มประกวดครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕๒๒ วรรณกรรมที่จัดการประกวดในปีนี้เป็นประเภทนวนิยาย ซึ่งส่งเข้า ประกวดจ� ำนวน ๗๖ เรื่อง นวนิยายที่ได้รับคัดเลือกในรอบสุดท้ายก่อนการตัดสิน มี ๗ เรื่อง ดังนี้ (๑) เงาฝันของผีเสื้อ ของ เอื้อ อัญชลี จากส� ำนักพิมพ์มติชน (๒) ทะเลน�้ ำนม ของชัชวาลย์ โคตรสงคราม ส� ำนักพิมพ์หนังสือแม่น�้ ำโขง (๓) ประเทศ ใต้ ของ ชาคริต โภชะเรือง ส� ำนักพิมพ์ก๊วนปาร์ตี้ (๔) โรงเรียนที่เงียบที่สุดในโลก ของฟ้า พูลวรลักษณ์ ส� ำนักพิมพ์ใบไม้สีเขียว (๕) ลับแล, แก่งคอย ของ อุทิศ เห- มะมูล โดยแพรวส� ำนักพิมพ์ (๖) โลกใบใหม่ของปอง ของ ไชยา วรรณศรี ส� ำนัก พิมพ์วรรณศรี (๗) วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ของ วิมล ไทรนิ่มนวล ส� ำนักพิมพ์สามัญชน เรื่องที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจ� ำปี ๒๕๕๒ คือ ลับแล, แก่งคอย ของ อุทิศ เหมะมูล ซึ่งเป็นนวนิยายที่เล่า เรื่องชีวิตเด็กชายวัยรุ่นที่ถูกอ� ำนาจแห่ง “ความถูกต้อง” ควบคุมโดยไม่รู้ตัว ความ คิดและการด� ำเนินชีวิตที่ถูกก� ำหนดไว้นั้นมีพลังอ� ำนาจเกินกว่าจะขัดขืน ชีวิตที่ ขาดอิสระจึงเหมือนการเดินวนอยู่ในเขาวงกต ทางออกของเขาที่ดูเหมือนว่ามี อยู่เพียงทางเดียวจึงเกือบน� ำไปสู่การแตกสลายของตัวตน นวนิยายเรื่องนี้จึง ท� ำให้เราตระหนักว่า การตอบค� ำถาม “ฉันคือใคร?” อาจเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดของมนุษย์ มนุษย์พยายามหาค� ำตอบเกี่ยวกับอัตลักษณ์หรือตัวตนใน ท่ามกลางสังคมที่ก� ำหนดหรือคาดหวังให้เขา “เป็น” จนบางครั้งเราอาจต้องตั้ง ค� ำถามว่า เราเป็นปัจเจกชนที่มีวิญญาณอิสระ หรือเป็นเพียงผลผลิตจากพิมพ์ที่ ผู้อื่นสร้างขึ้นมา นวนิยายเรื่อง ลับแล, แก่งคอย ได้เสนอมิติอันซับซ้อนของตัว ตนมนุษย์ที่แยก ไม่ออกจากประวัติความเป็นมาของครอบครัว ชาติพันธุ์ ชุมชน สังคม ความเชื่อ ต� ำนาน เรื่องเล่า ฯลฯ ในความเป็น “เรา” จ� ำต้องโยงใยกับ “ความเป็นอื่น” หรืออีกนัยหนึ่ง ความเป็นอื่นนั้นสร้างเราขึ้นมา ผู้เขียนใช้กลวิธี การเล่าเรื่องอันแยบยล สร้างตัวละครที่มีเลือดเนื้อและอารมณ์ราวกับมีตัวตน จริง สร้างแก่นและบรรยากาศได้อย่างมีชีวิตชีวา และใช้ภาษาเรียบง่ายแต่ทรง พลัง แสดงจินตภาพกระจ่างและงดงามมองในแง่ของคตินิยมหลังสมัยใหม่หรือ โพสต์โมเดิร์น นวนิยายเรื่องนี้แสดงพลังอ� ำนาจของเรื่องเล่าที่ผู้แต่งเสกเป่าตัว หนังสือให้เป็นเรื่องราวข้อเท็จจริงที่ผู้อ่านหลงเชื่อ คล้อยตาม และจมหายไปใน ท้องทะเลแห่งตัวหนังสือนั้น จากนั้นผู้เขียนจึงดึงผู้อ่านขึ้นมา แล้วบอกใหม่ว่าที่ เล่ามาแล้วนั้นเป็นเพียงการปั้นน�้ ำให้เป็นตัว แท้จริงแล้วเรื่องราวเป็นอีกอย่าง หนึ่ง นี่คืออ� ำนาจของวรรณกรรมในการสร้างมายาคติ ตามคตินิยมหลังสมัยใหม่ วรรณกรรมมิใช่งานศิลปะแห่งการถ่ายสะท้อนความจริง หากแต่เป็นศิลปะ การใช้ภาษาเพื่อประกอบสร้างเรื่องเล่าตามจุดประสงค์ของผู้แต่ง ข้อความสุดท้าย ในนวนิยายเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ชีวิตมิใช่อะไรอื่น หากแต่คืองานศิลปะ มนุษย์ทุกคน เป็นประติมากรที่ต้องตกแต่งชีวิตของตนเองให้งดงามที่สุด ดังนั้น หากเราเพียร พยายามสกัดสิ่งลวงต่าง ๆ ในชีวิตออกไปแล้ว ก็จะพบความจริงของชีวิตคือความ งดงาม เฉกเช่นประติมากรที่สกัดส่วนเกินบนแท่งหินอ่อน เพื่อให้ได้รูปแกะสลักที่ งดงามที่สุดนวนิยายเรื่องนี้นับเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนมีความคิดที่ ตกผลึก มีชั้นเชิงแยบยลที่ถไ่ายทอดมิติลึกล�้ ำของความเป็นมนุษย์ได้อย่างซับซ้อน หลอกล่อให้คนอ่านคล้อยตามแล้วหักมุมให้งงงวยด้วยความคลุมเครือ ผู้เขียน เหลื่อมซ้อนโลกแห่งความจริงและความลวงเข้าด้วยกัน เปิดปะทะกันระหว่าง ศาสตร์กับไสย เช่น อาการผีเข้าซึ่งเป็นพรมแดนใกล้ชิดกับปฏิกิริยาทางจิต แล้ว แต่จะมองจากมุมใด รวมทั้ง “ผม” เจ้าของเรื่องเล่าก็เป็นตัวละครที่มีหลายแง่ หลายมุม ทั้งมุมที่ก� ำหนดโดยคนอื่น มุมที่ตัวเองเป็น และมุมที่ตัวเองคิดสร้างให้ เป็น ความจริงความลวงจึงปะทะสังสรรค์กันอย่างใกล้ชิดจนนวนิยายเรื่อง ลับแล, แก่งคอย เป็นวรรณกรรมที่ท� ำให้ผู้อ่านเข้าใจความเป็นมนุษย์ยิ่งขึ้น คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยกรอง บรรยายเรื่อง “ วรรณคดีไทย รากฐานทาง วัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ ให้โลกรู้ว่าเมืองไทยมีดี ” ความโดยสรุปว่า “วรรณคดี ไทย รากฐานทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ ให้โลกรู้ว่าเมืองไทยมีดี” หรือ “ความ งดงามของภาษาไทย มรดกทางใจของคนไทยทั้งชาติ ให้โลกรู้ว่าเมืองไทยมีดี” หรือ “วรรณคดีไทย มรดกทางใจของคนไทยทั้งชาติ ให้โลกรู้ว่าเมืองไทยมีดี” หรือ “วรรณคดีไทย รากฐานทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่” และ “เมืองไทยมีดี” ล้วนเป็นค� ำที่ประทับใจ แม้ว่าข้อความข้างต้นจะเป็นค� ำโฆษณาเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง แต่ผู้ท� ำโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้เลือกน� ำเรื่อง วรรณคดีไทย มาเป็นแก่นเพื่อจัดท� ำภาพเสนอทางโทรทัศน์ รวม ๓ เรื่อง คือ (๑) บทละครเรื่องนางมโนห์รา (บทละครครั้งกรุงเก่า) (๒) บทละครเรื่องวิวาห พระสมุทร (๓) บทละครพูดค� ำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา วรรณคดีเหล่านี้ล้วนเป็น วรรณคดีที่มีชื่อเสียงเพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่งวรรณศิลป์ ผู้จัดท� ำโฆษณาออกแบบภาพโฆษณาได้งดงามมาก เรื่องที่ ๑ เรื่อง มโน ห์รา แสดงภาพนางมโนห์รากินรีสาวสวยก� ำลังบินร่อนอยู่หน้าผาน�้ ำตกในป่า หิมพานต์ เรื่องที่ ๒ เรื่องวิวาหพระสมุทร พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงภาพนางอันโดรเมดาขณะนั่งอยู่บนโขดหินใน ทะเล ชื่นชมไข่มุกอันเป็นทรัพย์สินล�้ ำค่าของท้องทะเลไทย เรื่องที่ ๓ เรื่อง มัทนะพาธา แสดงภาพนางมัทนากับกุหลาบแดงแย้มกลีบสวยสุด เป็นที่น่ายินดี ที่บริษัทโฆษณาเห็นความส� ำคัญของวรรณคดีไทย และน� ำนางในวรรณคดีส� ำคัญ ทั้ง ๓ เรื่องไปเป็นโฆษณา นับว่าเป็นการแสดงคุณค่าของวรรณคดีในเชิงธุรกิจ การค้าอีกแนวหนึ่ง นอกเหนือจากการที่ใช้วรรณคดีเป็นประโยชน์ในด้านศิลปะ บันเทิง เช่น โขน ละคร หรือเพลงขับร้อง บทละครเรื่องมโนห์ราก็เช่นเดียวกับ วรรณคดีไทยเรื่องอื่น ๆ ที่มีคุณค่าทางระเบียบของภาษากวีนิพนธ์ แต่มีบท เพียงตอนพรานบุญจับมโนห์ราไปถวายพระสุธน ในเรื่องสะท้อนภาพสังคม ถึง ความเชื่อ เช่น ฝันดีฝันร้าย และยังกล่าวถึงเรื่องรามเกียรติ์ เมื่อพระฤาษีไถนา พบผอบนางสีดา จึงเป็นหลักฐานแสดงว่า มีเรื่องรามเกียรติ์เดิมแล้วแต่ครั้ง กรุงเก่า ตลอดจนความเชื่อเรื่องเคราะห์ดี เคราะห์ร้าย การแต่งกายหรือเครื่อง ส� ำอางของสตรีโบราณ การละเล่นของไทยสมัยโบราณ เป็นต้น บทละครพูด เรื่องวิวาหพระสมุทร เป็นผลงานพระราชนิพนธ์ที่ถึง พร้อมด้วยคุณลักษณะ ของวรรณศิลป์ มีถ้อยค� ำเด่น งดงามสละสลวย ประทับใจ มีสุนทรียรสครบ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=