1570_2534

ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒๒๒ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ 5 นิยมชมชอบกันมากในปัจจุบันว่า ระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ใน ความแท้จริงทางการเมืองการปกครอง มนุษยนิยมนี้ไม่หยุดอยู่กับปรัชญา การเมืองสุดโต่งตกขอบ ตรงกันข้ามและขัดแย้งกัน ๒ ฝ่ายนี้ เพราะระบอบ แรกถือบุคคลเป็นใหญ่สุด ระบอบที่ ๒ อาจได้อ� ำนาจของประชาชนมาใช้ แทนประชาชน และอ้างเพื่อประชาชน ในต� ำราปรัชญาการเมืองทั่วไป ความเป็นมาของรัฐและรัฐบาลโดยสรุป มี ๒ ทรรศนะหรือทฤษฎี คือ ทฤษฎีเทวก� ำเนิด และทฤษฎีสัญญาประชาคม ใน ๒ ทรรศนะนี้ พุทธปรัชญาการเมืองเห็นพ้องกับทรรศนะสัญญาประชาคม เป็นเบื้องต้นและแต่เพียงรูปแบบ ทั้งนี้ สัญญาประชาคมนั้น จะต้องร่วมกัน ก� ำหนดและบัญญัติขึ้นโดยทุกฝ่ายผู้ตั้งอยู่ในธรรมเท่านั้น รัฐและรัฐบาลมี เหตุปัจจัยให้เกิดมีขึ้น เพราะเป็นส่วนหนึ่งของสังขตธรรม ไม่ได้เกิดเองมีเอง ตามธรรมชาติ และปราศจากการประกอบกรรมของมนุษย์ ค� ำว่ า ธรรมาธิปไตย ถือเอาความทางจริยศาสตร์การเมืองและการปกครองบริหาร เป็นประเด็นส� ำคัญ เรื่องอ� ำนาจและความเป็นใหญ่รวมกันเข้าเรียก อ� ำนาจ อธิปไตย ตามที่นิยมเรียกกันในปัจจุบัน กับเรื่องผลที่ได้จากการใช้อ� ำนาจนั้น ว่าเป็นผลดีหรือผลร้าย พัฒนาหรือหายนะ เพราะอ� ำนาจเป็นใหญ่ในโลก แต่ ตัวอ� ำนาจอธิปไตยเองก็ดี ที่มาแห่งอ� ำนาจอธิปไตยก็ดี ต้องเป็นไปตามธรรม ถือธรรมเป็นอ� ำนาจสูงสุด จึงเรียกว่า ธรรมาธิปไตย ผู้น� ำในอุดมคติควรต้อง เป็นปราชญ์ เป็นผู้พร้อมด้วยความเป็นเลิศทางความรู้ชอบและความ ประเสริฐทางความประพฤติชอบ ที่เรียกว่า สัปบุรุษ ควรต้องเป็นนักเสีย สละและเป็นแบบอย่างในความเป็นนักเสียสละของประชาชน ไม่ตกเป็นทาส ความทะยานอยากความละโมบโลภมาก ความอิจฉาริษยาอาฆาตพยาบาท ถ้าผู้น� ำท� ำหน้าที่รัฐบาลยึดหลักธรรมาธิปไตย เป็นนิติธรรมและธรรมาภิบาล สู่นิติรัฐในการประกอบกรรมทางการเมืองและการปกครองบริหาร ปฏิบัติ หน้าที่ตามกฎหมายอันชอบธรรม ประชาชนย่อมแซ่ซ้องสรรเสริญ และนั่น ย่อมหมายความว่าเสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์ ความเป็นผู้น� ำหรือผู้ท� ำหน้าที่รัฐบาล ย่อมขึ้นอยู่กับมติมหาชนคู่สัญญา ผู้ทรงพลังหรืออ� ำนาจวินิจฉัยเบ็ดเสร็จเด็ดขาดซึ่งชะตากรรมของผู้น� ำท� ำหน้าที่ รัฐบาล เมื่อได้รับมอบหมายต� ำแหน่งพร้อมสิทธิหน้าที่และอ� ำนาจ ในการ ปกครองบริหารประเทศแล้ว ผู้น� ำท� ำหน้าที่รัฐบาลจะต้องประพฤติตนตั้งอยู่ใน คุณสมบัติ คุณสมบัติของผู้น� ำหรือประมุขหรือผู้ปกครองบริหารระดับต่าง ๆ ตามหลักสูตรผู้น� ำในระบอบธรรมาธิปไตยนี้มี ๑๐ ข้อ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ถือเป็นรากเหง้า แก่น และหัวใจของคุณสมบัติความเป็นผู้น� ำโดยแท้ ส� ำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.มงคล เดชนครินทร์ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บรรยายเรื่อง “อินเวอร์เตอร์แบบขับน� ำที่ใช้มอสเฟตเพื่อจุดหลอดวาวแสงด้วย แบตเตอรี่” ความโดยสรุปว่า การน� ำเสนอวงจรอินเวอร์เตอร์แบบที่ขับน� ำด้วย ออสซิลเลเตอร์ และใช้ทรานซิสเตอร์แบบมอสเฟตในวงจรก� ำลังเพื่อจุดหลอด วาวแสงขนาด ๑๘ วัตต์ด้วยแบตเตอรี่ วงจรออสซิลเลเตอร์ที่ใช้ขับน� ำ ทรานซิสเตอร์ดังกล่าวสร้างขึ้นจากวงจรรวมเบอร์ ๕๕๕ ซึ่งให้แรงดันออกรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยที่ความถี่ถูกก� ำหนดไว้ที่ ๑๗.๘ กิโลเฮิรตซ์ ส่วนวงจรที่สร้าง แรงดันขับน� ำทรานซิสเตอร์ในวงจรนั้นประกอบด้วยทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ ขนาดเล็กตัวหนึ่งกับชิ้นส่วนวงจรอื่น ๆ ผลการทดลองปรากฏว่า วงจรอินเวอร์ เตอร์ที่น� ำเสนอนี้มีสมรรถนะสูงกว่าวงจรจุดหลอดวาวแสงที่ใช้อินเวอร์เตอร์แบบ ขับน� ำที่ใช้ทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วงจรอินเวอร์เตอร์ ในที่นี้มีประสิทธิภาพทางไฟฟ้าอยู่ในช่วงร้อยละ ๖๔.๒–๘๕.๒ ส่วนวงจรอินเวอร์ เตอร์ที่เคยน� ำเสนอในอดีตมีประสิทธิภาพสูงสุดอยู่ในช่วงร้อยละ ๖๑.๗–๗๓.๖ ศาสตราจารย์ นพ.ยงยุทธ วัชรดุลย์ ราชบัณฑิต ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “การด� ำเนินงาน ของเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” • วันพุธที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาการประมง บรรยายเรื่อง “เส้นทางสู่การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ ำที่มีความยั่งยืน” ความโดย สรุปว่า การเพาะเลี้ยงสัตว์ที่มีความยั่งยืน (sustainable aquaculture) คือ การเพาะเลี้ยงที่สามารถจัดหาโปรตีนจากสัตว์น�้ ำเพื่อการบริโภคของคนได้ อย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องอยู่บนรากฐานของการปฏิบัติที่ดี (good prac- tices) มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ อย่างมีนัยกับพื้นที่ข้างเคียง ในขณะเดียวกันมีผลในการพัฒนาสังคมและ ความเจริญของเศรษฐกิจในพื้นที่หรือภูมิภาคที่ด� ำเนินการเพาะเลี้ยงด้วย CONSENSUS เป็นผู้ให้ค� ำจ� ำกัดความดังกล่าว CONSENSUS เป็นที่ประชุมของผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ ำ สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเจ้าหน้าที่ของรัฐ และนักวิชาการของประเทศต่าง ๆ ในสหภาพยุโรป CONSENSUS มีวัตถุประสงค์ในการวางมาตรการของการ ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ ำที่มีความยั่งยืนซึ่งทุกประเทศสมาชิกต้องถือ ปฏิบัติ CONSENSUS ได้จัดการประชุมเพื่อหารือแนวทางและก� ำหนด มาตรการแล้ว ๒ ครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกใน ค.ศ. ๒๐๐๕ เป็นการหารือ ก� ำหนดแผนงาน และครั้งที่ ๒ ใน ค.ศ. ๒๐๐๘ เพื่อติดตามสรุปผลการด� ำเนิน งานการวางมาตรการต่าง ๆ เพื่อจะน� ำมาบังคับใช้ในอีก ๑–๒ ปีข้างหน้า การบังคับใช้เริ่มในประเทศของกลุ่มสหภาพยุโรปก่อนแล้วต่อจากนั้นก็จะเป็น มาตรการควบคุมระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศคู่ค้าจากภูมิภาคอื่น ๆ การ วางมาตรการควบคุมได้ก� ำหนดกลุ่มดัชนีชี้วัดกลุ่มต่าง ๆ ของการเพาะเลี้ยง สัตว์น�้ ำรวมทั้งหมด ๙ กลุ่ม กล่าวคือ ผลลัพธ์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ มาตรการ สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการด้านสุขอนามัย ทรัพยากรบุคคล บรรจุภัณฑ์และการขนส่ง ภาพพจน์สาธารณะ การใช้ ทรัพยากร และประเด็นอื่น ๆ ที่ควรได้รับการพิจารณา ทั้ง ๙ กลุ่มดังกล่าว ข้างต้นมีดัชนีชี้วัดรวมทั้งหมด ๗๘ รายการ ประเทศไทยควรให้ความสนใจ ในเรื่องนี้เพราะหากไม่สามารถด� ำเนินการเพราะเลี้ยงสัตว์น�้ ำได้ตามมาตรการ การเพาะเลี้ยงที่มีความยั่งยืนก็จะมีปัญหาในการส่งออกสินค้าสัตว์น�้ ำไปยัง ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ศาสตราจารย์ นพ.สุรพล อิสรไกรศีล ราชบัณฑิต ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ลิวคีเมีย” ความ โดยสรุปว่า ลิวคีเมีย (Leukemia) หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว พยาธิก� ำเนิด ของลิวคีเมีย – hypothesis โรคที่มีการเพิ่มจ� ำนวน (proliferation) ของตัว อ่อนของเม็ดเลือดขาว โดยไม่มีขีดจ� ำกัด (uncontrolled neoplastic pro- liferation) แบ่งได้เป็น ๒ ชนิด ได้แก่ เฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ลิวคีเมีย ชนิดเฉียบพลัน มีการเพิ่มจ� ำนวนของตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาว โดยไม่มีการ พัฒนาเป็นตัวแก่ ลิวคีเมียชนิดเรื้อรัง มีการเพิ่มจ� ำนวนของตัวอ่อนของเม็ด เลือดขาว โดยมีการพัฒนาเป็นตัวแก่ได้บางส่วน อาการและอาการแสดง ลิวคีเมีย ชนิดเฉียบพลัน มีอาการของการสร้างเม็ดเลือดปกติลดลง โลหิตจาง anemia ไข้ โรคติดเชื้อ เลือดออกจากเกล็ดเลือดต�่ ำ ชนิดเรื้อรัง มีจ� ำนวน เม็ดเลือดขาวในเลือดสูง ม้ามโต ต่อมน�้ ำเหลืองโต องคชาติแข็งค้าง MT1– MMP expression มีความส� ำคัญเกี่ยวกับพยาธิก� ำเนิดของลิวคีเมีย เซลล์ ลิวคีเมียในชนิดเฉียบพลัน มี MT1–MMP expression ต�่ ำ ท� ำให้มีเซลล์ลิว คีเมียสะสมในไขกระดูกจึงมีอาการที่เกิดจากการสร้างเม็ดเลือดปรกติลดลง ส่วนเซลล์ลิวคีเมียในชนิดเรื้อรัง มี MTI–MMP expression สูง ท� ำให้เซลล์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=