1570_2534
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ให้ใช้จุดที่อยู่ปากแม่น�้ ำโกลกเดิมเป็นเกณฑ์ ส� ำหรับการเจรจาแบ่งเขตไหล่ทวีป ต่อไปในอ่าวไทยตอนใต้ ไทยกับมาเลเซียอ้างสิทธิทับซ้อนกันในอ่าวไทยตอนใต้ ทั้งนี้เนื่องจากมาเลเซียเสนอให้ใช้เส้นลากต่อจากเส้นที่ตกลงกันเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยใช้เส้นมัธยะเป็นเกณฑ์โดยไม่ให้ผลใด ๆ กับเกาะโลซินของไทยเลย ดังนั้นจึง เกิดพื้นที่ทับซ้อนคล้ายสามเหลี่ยม ขอบด้านบนคือการอ้างสิทธิ์ของมาเลเซีย ส่วนขอบด้านล่างคือการอ้างสิทธิ์ของไทย ทั้ง ๒ ฝ่ายได้เจรจากันที่เชียงใหม่และ ท� ำความตกลงเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ทั้งนี้ไทย–มาเลเซียได้ร่วมกันจัดตั้งองค์กรร่วม ๒ ฝ่ายเพื่อน� ำก๊าซที่ขุดเจาะได้มาจ� ำหน่ายตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ กรณีไทยกับเวียดนาม การเจรจาเพื่อก� ำหนดเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปและ เขตเศรษฐกิจจ� ำเพาะระหว่างไทยกับเวียดนามในอ่าวไทยเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ฝ่ายไทยอ้างสิทธิ์โดยใช้เกณฑ์เส้นมัธยะเพื่อแบ่งเขตโดยใช้ชายฝั่งของ ทั้ง ๒ ประเทศเป็นฐาน แต่ฝ่ายเวียดนามอ้างสิทธิ์โดยใช้ขอบนอกของเกาะโตจู ซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งราว ๑๐๐ ไมล์ทะเลเป็นพื้นฐานโดยมิได้ค� ำนึงถึงเกาะโลซิน นอกชายฝั่งของไทยเลย จึงท� ำให้มีพื้นที่ทับซ้อน ไทยได้พยายามเจรจาให้ เวียดนามอ้างสิทธิ์ให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ปัจจุบันใน อ่าวไทยมีเพียงความตกลงระหว่างไทยกับเวียดนาม ลงนามเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๗ ฉบับเดียวเท่านั้นที่แบ่งเขตระหว่าง ๒ ประเทศไว้โดย ใช้เป็นเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจ� ำเพาะในเวลาเดียวกัน อย่างไร ก็ตาม ยังคงเหลือบริเวณที่มีการอ้างสิทธิ์ทับซ้อนกันอีก ๓ ฝ่าย ทางอ่าวไทย ตอนใต้ระหว่างเวียดนาม ไทย และมาเลเซีย • วันพุธที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาศาสนศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ มนุษยนิยมแนวปรัชญาอินเดีย พุทธปรัชญามนุษยนิยม ” ความโดยสรุปว่า อินเดียชนชาติอารยัน เป็นผู้ให้ก� ำเนิดศาสนาและปรัชญาพราหมณ์ (Brah- manism) มาแต่ก่อนพุทธกาล ๑,๐๐๐ ปีโดยประมาณ ถือพระเวท ๓ เรียก ว่า ไตรเวทหรือเตวิชชะ ในภาษาบาลี มีฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท เป็น คัมภีร์ที่เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์สูงสุดแต่เดิมมา ต่อมาใน พ.ศ. ๖๐ ชาวอินเดียผู้ นับถือศาสนาพราหมณ์ ได้ผสมผสานชื่อภูเขาฮินดูกูษกับแม่น�้ ำชื่อสินธุเข้า ด้วยกัน ใช้เรียกศาสนาพราหมณ์ที่ได้รับการปฏิรูปใหม่ว่า ศาสนาฮินดู (Hinduism) โดยรวมเอาลัทธิศาสนาและปรัชญาทั้งหลายที่เกิดในอินเดีย ทั้งที่นับถือพระเวท (Astika) และที่ปฏิเสธพระเวท (N stika) ไม่ละเว้นแม้ กระทั่งพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญา ทั้งที่มีคุณลักษณะพิเศษเป็น อเทวนิยมและมนุษยนิยม และปฏิเสธพระเวทโดยสิ้นเชิง วัฒนธรรมคติธรรม อินเดียเป็นบ่อเกิดลัทธิศาสนาและปรัชญามากหลาย ศาสนาฮินดู พระพุทธ- ศาสนา ศาสนาเชน และศาสนาสิกซ์ มีปรัชญา ๙ ระบบ แบ่งเป็น ๒ สาย สายที่ ๑ กลุ่มปรัชญาเทวนิยม สังกัดสายพระเวทที่ถือเป็นคัมภีร์ต้นก� ำเนิด และศักดิ์สิทธิ์สูงสุดจากพระพรหมผ่านพวกฤาษี สายที่ ๒ กลุ่มอเทวนิยม ที่ ปฏิเสธคัมภีร์พระเวทโดยสิ้นเชิง รวมถึงหลักค� ำสอนใด ๆ ในภายหลัง สืบเนื่อง มาจากพระเวท วิถีพุทธเกิดท่ามกลางวิถีพราหมณ์และอื่น ๆ ที่อินเดีย เริ่มเจริญ รุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมั่นคงที่อินเดีย และแล้วก็เสื่อมสลายจากอินเดีย พุทธปรัชญา มนุษยนิยมจากการเปรียบเทียบแนวคิดความเชื่อระหว่างศาสนาและปรัชญา พราหมณ์–ฮินดูกับพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญา แนวคิดโยงถึงคุณลักษณะ พิเศษหลักค� ำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลักษณะปฏิวัติหลักค� ำสอนที่ปฏิเสธ เด็ดขาดโดยสิ้นเชิงซึ่งแนวคิด ความเชื่อ และวิถีชีวิตใด ๆ ที่นับถือกันมาแต่อดีต ลักษณะปฏิรูปหลักค� ำสอนที่คงของเดิมบางอย่างเอาไว้ที่เห็นสมเหตุสมผลควร คงไว้ แต่ตีความ อธิบายความ ขยายความ และก� ำหนดแนวทางพร้อมสิ่งมุ่ง ประสงค์ใหม่ ใช้ค� ำศัพท์ในวัฒนธรรมทางภาษาเดิม แต่ให้ความหมายใหม่ ลักษณะ ค้นพบและสร้างขึ้นใหม่ หลักค� ำสอนที่พระองค์ในฐานะมนุษย์ได้ทรงแสวงหา ค้นพบ และบรรลุผ่านการตรัสรู้เองโดยชอบ จากคุณลักษณะพิเศษหลักค� ำสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ ประการที่ถือเป็นรากฐานและแก่นหลักค� ำสอนทั้ง หลายของพระพุทธองค์ จึงได้ก� ำหนดกรอบการศึกษาเน้นด้านปรัชญาว่า พุทธ- ปรัชญามนุษยนิยม ปรัชญามนุษยนิยม เป็นทั้งเหตุและผลการปฏิวัติและปฏิรูป ทางลัทธิศาสนา ปรัชญา สังคมวัฒนธรรม การเมือง การเศรษฐกิจ การศึกษา และวิทยาศาสตร์ ปรัชญามนุษยนิยมนี้ ถือก� ำเนิดขึ้นครั้งแรกในโลกมนุษย์ที่อินเดีย โดย พระพุทธเจ้าเมื่อ ๕๘๘ ปีก่อนคริสต์ศักราช พุทธปรัชญามนุษยนิยม จึงเป็น หลักการและแนวทางการพัฒนามนุษย์สู่วิถีชีวิตบูรณาการภายใต้หลัก ธรรมาธิปไตยมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ อเทวนิยม อวัตถุนิยม ธรรมชาตินิยม อิสรเสรีนิยม เหตุผลนิยม ประสบการณ์นิยม–ปฏิบัตินิยม ประโยชน์สุขนิยม สัมพัทธนิยม และมัชฌิมนิยม มนุษย์มีต้นก� ำเนิดมาจากไหน แต่เมื่อใดและ ความเป็นมนุษย์จะไปสิ้นสุดตรงไหน เมื่อไร และอย่างไร เช่นนี้ไม่ใช่ปัญหามี คุณค่าสารัตถะส� ำคัญใด ๆ ส� ำหรับพุทธปรัชญามนุษยนิยม พระสัมมาสัมพุทธ- เจ้าตรัสชี้แจงชัดแจ้งว่า ได้ทรงบรรลุพระสัจธรรมผ่านประสบการณ์การ ปฏิบัติของพระองค์เอง หาได้มาจากความบังเอิญ ทรงประกาศชัดเจนว่า พระองค์ทรงเป็นมนุษย์ (มนุสฺสภูโต) หาได้ทรงกล่าวอ้างมาจากอื่น พระองค์ มีพระพุทธจริยวัตรให้ถือเป็นแบบอย่างแก่มนุษย์ มนุษย์มิใช่ผลงานเนรมิต ของพระพรหมผู้เป็นเจ้า ด� ำเนินวิถีชีวิตตามพรหมลิขิต มิใช่สัตว์สังคมแต่ มนุษย์เป็นเวไนยสัตว์ ผู้มีใจสูงใช้เหตุผล สติปัญญาและคุณธรรมในการครอง ชีวิต ชีวิตที่มีคุณภาพบูรณาการปรุงแต่งขึ้นด้วยกายที่เป็นรูปธรรม และจิตใจ ที่เป็นนามธรรม มนุษย์กับธรรมชาติเป็นทรรศนะคลุมเนื้อหาทางปรัชญาและ อื่น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติแนวมนุษยนิยมนี้เราเข้าใจ ได้ ๒ มิติคือ มิติทางปรวิสัยหรือวัตถุวิสัย ให้หมายความถึงโลกแห่งธรรมชาติ และมิติทางอัตวิสัย หมายถึง โลก คือมนุษย์ ซึ่งปรุงแต่งให้เกิดเป็นชีวิตขึ้น ด้วยองค์ประกอบทางกายภาพ-รูปธรรมหรือวัตถุธรรม กับ ทางจิตภาพ- นามธรรมหรือจิตใจ อยู่ในประเภทสังขตธรรม ที่มีอยู่และเป็นไปตาม ธรรมชาติในกฎธรรมชาติที่เรียกว่า กฎไตรลักษณ์ดังกล่าวข้างต้น ที่มาของ สังคมและหลักภราดรภาพในสังคม ตามทรรศนะปรัชญาพราหมณ์-ฮินดู พระพรหมในภาคของ “ปุรุษศูกตะ” ได้ทรงสร้างมนุษย์ คุณค่า สถานภาพ ชั้นวรรณะ สิทธิหน้าที่ ความสัมพันธ์ ตลอดจนสถาบันทุกสถาบันและทุก ระดับของความเป็นอยู่ พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ ทรงวิเคราะห์ชี้แจงออกเป็น ประเด็น ๆ ตามแนวพุทธปรัชญามนุษยนิยม ดังนี้ (๑) ในแง่สัจนิยม ไม่มีพระ พรหมผู้สร้างโลก มนุษย์ต่างหากที่สร้างโลกมนุษย์ด้วยกันเอง (๒) ในแง่ เหตุผลนิยม ทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งสังคมมนุษย์ (๓) ในแง่จริยศาสตร์ มนุษย์ ไม่มีบาปบุญติดตัวสืบทอดให้กันทางสายเลือด มนุษย์กับการเมือง การเมืองมิใช่เรื่องผูกขาดให้เฉพาะบุคคลใดบุคคล หนึ่ง หรือชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่การเมืองย่อมเนื่อง ด้วยทุกคนที่ด� ำเนินชีวิตกระทบด้วยโลกธรรม ลาภ-เสื่อมลาภ ยศ-เสื่อมยศ สรรเสริญ-นินทา และสุข-ทุกข์ พุทธปรัชญามนุษยนิยมได้ให้หลักคิดที่เป็น สัจธรรมทางการเมืองการปกครอง ที่มีเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์เป็น สากล ละเอียดลึกซึ้งและกว้างไกล เน้นตรรกศาสตร์และจริยศาสตร์ทางการ เมือง เราสามารถน� ำแนวคิดนี้มาวิเคราะห์และจัดระบอบปรัชญาการเมือง ต่าง ๆ ให้สังกัดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใน ๒ ฝ่ายตรงกันข้ามกัน คือ (๑) อัตตนิยม เรียกตามลักษณะอ� ำนาจ การได้มาซึ่งอ� ำนาจ การครองอ� ำนาจ ให้เป็นพลัง ทางการเมืองการปกครองว่า ระบอบอัตตาธิปไตย (๒) โลกนิยม เรียกตาม ลักษณะอ� ำนาจ การได้มาซึ่งอ� ำนาจ การครองอ� ำนาจ ฯลฯ ผลเกิดจากอ� ำนาจ ให้เป็นพลังทางการเมืองการปกครองว่า ระบอบโลกาธิปไตย ที่เรียกและ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=