1570_2534
ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒๒๒ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ 3 สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำ �นักสำ �นัก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.จตุรนต์ ถิระวัฒน์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ วิวัฒนาการของกฎหมายทะเล กับผลกระทบต่อการก� ำหนดเขตทางทะเล ของประเทศไทย ” ความโดยสรุปว่า อาณาเขตทางทะเลในความหมายทาง นิติศาสตร์ หมายถึง อาณาเขตทางทะเลตามกฎหมายระหว่างประเทศ วิวัฒนาการของกฎหมายทะเลส่งผลกระทบต่อการก� ำหนดเขตทางทะเล เหตุผลส� ำคัญประการแรกที่ท� ำให้กฎหมายทะเลมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วคือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ท� ำให้รัฐชายฝั่งสามารถแสวงประโยชน์ทาง ทะเลได้ไกลจากฝั่งไปมากขึ้น และความต้องการแสวงประโยชน์จากทรัพยากร ที่มีคุณค่าทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในทะเล กฎหมายนี้มีวิวัฒนาการใน ๒ ทิศทางคือ การขยายความกว้างของเขต ทางทะเลที่มีอยู่เดิม และการสร้างเขตทางทะเลขึ้นใหม่เพื่อรองรับความ ต้องการของรัฐชายฝั่ง การขยายความกว้างของเขตทางทะเลเดิม น่านน�้ ำ ภายในและทะเลอาณาเขตถือเป็นส่วนหนึ่งในดินแดนของรัฐที่มีการขยาย ความกว้างออกไปจากเดิม น่านน�้ ำภายใน หมายถึง น่านน�้ ำส่วนที่อยู่ถัดจาก เส้นฐานเข้ามาทางแผ่นดิน จึงรวมทั้งท่าเรือและปากแม่น�้ ำไว้ด้วย และมี สถานะเทียบเท่าดินแดนของรัฐ ทะเลอาณาเขต หมายถึง อาณาเขตทางทะเล หรือน่านน�้ ำของรัฐชายฝั่งซึ่งอยู่ถัดออกไปจากฝั่งทะเลหรือถัดออกไปจากน่าน น�้ ำภายใน ในปัจจุบันทะเลอาณาเขตจะมีความกว้างวัดจากเส้นฐานออกไปใน ทะเลได้ไม่เกิน ๑๒ ไมล์ทะเล การสร้างเขตทางทะเลขึ้นใหม่เพื่อรองรับเขตอ� ำนาจของรัฐชายฝั่ง มี การก� ำหนดเขตทางทะเลขึ้นใหม่คือ (๑) เขตต่อเนื่อง หมายถึง อาณาเขตทาง ทะเลของรัฐชายฝั่งที่อยู่ประชิดและถัดออกไปจากน่านน�้ ำอาณาเขต เป็นเขต ที่เกิดขึ้นตามอนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๕๘ เขตต่อเนื่องของรัฐต้องมีความกว้างอย่าง น้อย ๑๒ ไมล์ทะเล เขตต่อเนื่องก็ยังคงความส� ำคัญเป็นพิเศษส� ำหรับรัฐชายฝั่ง ในบางสภาพภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะกรณีทะเลหรือเกาะที่อยู่ภายใต้อธิปไตย ของรัฐต่าง ๆ (๒) เขตไหล่ทวีป เป็นพื้นดินส่วนที่อยู่ใต้น�้ ำนับจากชายฝั่งลาด ไปในทะเลจนถึงความลึกระดับหนึ่ง ตามบทบัญญัติของอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. ๑๙๕๗ เขตไหล่ทวีปมีลักษณะที่ไม่แน่นอน เนื่องจากใช้เกณฑ์ ๒ ประเภทใน การก� ำหนดไหล่ทวีป คือ ความลึกและความสามารถในการแสวงประโยชน์ซึ่ง ต้องมีส่วนที่ประชิดอยู่กับชายฝั่งด้วย (๓) เขตเศรษฐกิจจ� ำเพาะ เป็นเขตที่เกิด ขึ้นใหม่ตามอนุสัญญาสหประชาชาติ ค.ศ. ๑๙๘๒ หมายถึง อาณาเขตทาง ทะเลซึ่งอยู่ประชิดกับทะเลอาณาเขตและอยู่ถัดจากทะเลอาณาเขตออกไปใน ทะเลมีความกว้างไม่เกิน ๒๐๐ ไมล์ทะเลนับจากเส้นฐาน การก� ำหนดอาณาเขตทางทะเลของรัฐชายฝั่งทั้งหลายจะมีความชอบ ธรรมและเป็นผลสมบูรณ์ตามกฎหมายระหว่างประเทศได้ต้องเป็นไปตามหลัก ส� ำคัญ ๒ ประการ คือ ปฏิบัติการของการก� ำหนดอาณาเขตทางทะเลจะต้อง เกิดจากรัฐเจ้าของดินแดนที่เกี่ยวข้อง และจะต้องสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของ กฎหมายระหว่างประเทศ สถานการณ์ในปัจจุบัน การอ้างสิทธิทับซ้อนของ เขตทางทะเลต่าง ๆ และวิวัฒนาการของกฎหมายทะเลท� ำให้เกิดปัญหาการ อ้างสิทธิของรัฐชายฝั่งทับซ้อนกันเป็นจ� ำนวนมากซึ่งรวมถึงบริเวณพื้นที่ทาง ทะเลระหว่างประเทศไทยกับเพื่อนบ้านต่าง ๆ การอ้างเขตทับซ้อนทางทิศ ตะวันตกในทะเลอันดามัน กรณีไทยกับพม่า คือจากปากแม่น�้ ำปากจั่นไปทาง ทิศตะวันตกอีกราว ๔๗ ไมล์ทะเล ซึ่งฝ่ายไทยกับพม่ายังพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ เหนือเกาะ ๓ เกาะ คือ เกาะหลาม เกาะคัน และเกาะขี้นก พม่าและอินเดีย ได้ท� ำความตกลง ๓ ฝ่ายเพื่อแบ่งเขตไหล่ทวีประหว่างกัน โดยเมื่อไทยเจรจา ทวิภาคีเพื่อแบ่งเขตกับทั้ง ๒ ฝ่ายก่อนหน้านั้นแล้วก็เพียงเจรจากับอีก ๒ ฝ่าย เพื่อเชื่อมเส้นต่อจากความตกลงไทย–อินเดีย พ.ศ. ๒๕๒๑ ไปอีกประมาณ ๒๐ ไมล์ทะเล ดังนั้น ฝ่ายไทยจึงต่อรองให้ใช้เส้นเชื่อมตรงจุดที่เจรจาไว้กับทั้ง ๒ ประเทศก่อนแล้วซึ่งฝ่ายอินเดียก็ยอมตามข้อเสนอ ทั้ง ๓ ฝ่ายจึงท� ำความ ตกลงและแลกเปลี่ยนสัตยาบันกันเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ กรณี ไทยกับอินเดีย ในทะเลอันดามันซีกเหนือ ไทยกับอินเดียแม้จะอยู่ห่างไกลกัน คนละฟากแต่มีอาณาเขตทางทะเลเกี่ยวข้องกันเพราะอินเดียเป็นเจ้าของหมู่ เกาะนิโคบาร์และหมู่เกาะอันดามันซึ่งเป็นหมู่เกาะขนาดใหญ่ทอดยาวจากตอน ใต้ของเกาะปีบารีสของพม่าลงมาจนถึงช่องแคบเกรซบริเวณตอนเหนือสุดของ เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย กรณีไทยกับอินโดนีเซีย มีการท� ำความตกลงเพื่อ แบ่งเขตไหล่ทวีปกันถึง ๔ ช่วง ช่วงที่ ๑ เริ่มจากจุดร่วม ๓ ฝ่าย ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เฉียงขึ้นทางเหนือเป็นระยะทางประมาณ ๒๖ ไมล์ทะเล และ ช่วงที่ ๒ ลากจากช่วงแรกต่อไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมีการเจรจา ๓ ฝ่ายที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ และสามารถก� ำหนดจุดร่วม ได้ กรณีไทยกับมาเลเซีย ในส่วนที่เกี่ยวกับน่านน�้ ำภายในและทะเลอาณาเขต มีความตกลงแบ่งเขตที่ท� ำขึ้นระหว่างไทยกับอังกฤษ ค.ศ. ๑๙๐๙ และพิธีสาร แนบท้ายการปักปันเขตแดนของกองข้าหลวงปักปันเขตแดน พ.ศ. ๒๔๕๔– ๒๔๕๕ ซึ่งแบ่งเขตจากปากน�้ ำปะลิสไปถึงจุดกึ่งกลางปากช่องตะรุเตา–ลังกาวี นอกจากนี้ ก็ยังมีความตกลงเพื่อก� ำหนดเส้นลากต่อไปยังจากจุดกึ่งกลาง ดังกล่าวไปยังจุดร่วมไทย–มาเลเซีย–อินโดนีเซียซึ่งท� ำขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาตรงปากแม่น�้ ำปะลิสซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น เขตแดนทางทะเลของทิศตะวันตก แต่บริเวณพื้นที่ซึ่งเป็นปัญหามิได้กว้างมาก นัก และในทางปฏิบัติก็มิได้ก่อให้เกิดปัญหากระทบกระทั่งกันเรื่องการเดินเรือ ตรงปากแม่น�้ ำ การอ้างเขตทับซ้อนทางทิศตะวันออกในอ่าวไทย ก่อนที่จะมี อนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. ๑๙๕๘ ว่าด้วยเขตไหล่ทวีป พื้นที่อ่าวไทยส่วนใหญ่มีสภาพ ตามกฎหมายระหว่างประเทศเป็นทะเลหลวง รัฐชายฝั่งรอบอ่าวไทย ได้แก่ ไทย กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ต่างก็ประกาศทะเลอาณาเขตความกว้าง ๓ ไมล์ทะเลจากชายฝั่งหรือขอบนอกของเกาะของตน แต่หลังจากนั้นก็มีการขยาย ความกว้างของทะเลอาณาเขตออกเป็น ๑๒ ไมล์ทะเล กรณีไทยกับกัมพูชา ยัง มีการอ้างสิทธิทับซ้อนกันโดยเฉพาะในไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจ� ำเพาะ ฝ่าย กัมพูชาอ้างสิทธิโดยลากเส้นผ่านกึ่งกลางเกาะกูดของไทยไปในลักษณะที่ไม่ค� ำนึง ถึงหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศแต่อย่างใดนัก ทั้ง ๒ ประเทศเคยเริ่ม เจรจาครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒–๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ แต่เป็นเพียงการแสดงท่าที ทางกฎหมายและน� ำเสนอแนวคิดเรื่องเส้นเขตแดนของแต่ละฝ่าย แต่จากความ ไม่สงบภายในประเทศกัมพูชาท� ำให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต้องระงับการเจรจาไป โดยใน ปัจจุบันยังมิได้เริ่มการเจรจาอย่างจริงจัง กรณีไทยกับมาเลเซีย ในส่วนที่เกี่ยว กับทะเลอาณาเขต เส้นเขตแดนเริ่มจากปากแม่น�้ ำโกลกตามความตกลงในสนธิ สัญญาไทย–อังกฤษ ค.ศ. ๑๙๐๙ โดยมาเลเซียยอมเลื่อนเส้นเขตแดนมาตามแนว ใหม่ซึ่งทั้ง ๒ ฝ่ายตกลงใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งทะเลอาณาเขตโดยเส้นที่มี ความยาว ๑๒ ไมล์ทะเล ส่วนการแบ่งเขตไหล่ทวีปไประยะทาง ๒๔ ไมล์ทะเล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=