1569_5464

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน การผิดที่ผิดทางในทางทัศนศิลป์ (ดูจะ) เป็นปรากฏการณ์ ทางศิลปะที่ (ค่อนข้าง) ปรกติ และมักเป็นปรากฏการณ์ที่สร้าง ความสนใจเชิงตื่นใจของคนในวงการศิลปะ ส่วนในทางวรรณศิลป์ โดยเฉพาะในวรรณกรรมไทยไม่ค่อยจะปรากฏ และเมื่อเกิดขึ้น แล้วผลกระทบต่อความนึกคิดมักเป็นไปในทางตรงข้าม บทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่องของคุณสุวรรณ กวีหญิงในรัช- สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว น่าจะเป็นตัวอย่างของความผิดที่ ผิดทางทางวรรณศิลป์ เพราะคุณสุวรรณน� ำเอาตัวละครทั้งชาย และหญิงไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ชื่อ จากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ มากกว่า ๕๐ เรื่อง มาแสดงบทบาทอยู่ในเรื่องใหม่เดียวกัน เช่น ช้าปี่ ๏ เมื่อนั้น พระอุณรุทผู้รุ่งรัศมี สมสู่อยู่ด้วยนางจันที ภูมีตรีตรึกนึกใน แค้นด้วยอิเหนากุเรปัน กับสุวรรณมาลีศรีใส เอานางจันสุดายาใจ ไปยกให้พระสมุทบุตรระตู เสียดายวงศ์อสัญแดหวา พระราชาเคืองแค้นแสนอดสู เหม่เหม่อสุรินดูหมิ่นกู จะได้ดูฤทธิ์กันในวันนี้ฯ ๖ ค� ำ ฯ ปีนตลิ่ง ๏ ด� ำริพลางทางมีพจนารถ สั่งท้าวสันนุราชเรืองศรี กับทั้งต� ำมะหงงเสนี จงจัดพลมนตรีอย่านานฯ ๒ ค� ำ ฯ ในคราวที่หอพระสมุดวชิรญาณจัดพิมพ์บทละครของคุณ สุวรรณ ๒ เรื่องคือบทละครเรื่อง “อุณรุทร้อยเรื่อง” และบทละคร เรื่อง “พระมะเหลเถไถ” ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๖๓ สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ องค์สภานายกหอพระ สมุดวชิรญาณ ได้ทรงอธิบายถึงเหตุผลในการจัดพิมพ์ เพราะทรง เกรงว่าผู้อ่านทั้งหลาย “...จะพากันเห็นเป็นการแปลกประหลาด ที่หอพระสมุดฯ เอาหนังสือเช่นนี้มาพิมพ์ เพราะที่แท้เป็นบทบ้า แต่งมิใช่เป็นบทละครอย่างปกติ...” และทรงแสดงความเห็นต่อ เนื้อเรื่องในบทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่องว่า “...ส่วนบทละครอุณ รุทร้อยเรื่องนั้น ...ถ้าดูโดยกระบวนความอยู่ข้างจะเลอะ...” อย่างไรก็ตาม ในตอนท้ายค� ำอธิบายเรื่องบทละครฯ สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึง บทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่อง ว่า “...ดีทางส� ำนวนกลอนกับแสดง ความรู้เรื่องละครต่าง ๆ กว้างขวาง เพราะในสมัยนั้นบทละครยัง มิได้พิมพ์คุณสุวรรณคงต้องพยายามมากทีเดียวจึงได้รู้เรื่องละคร ต่าง ๆ มากถึงเพียงนั้น แต่มีอยู่บท ๑ ...ซึ่งควรสรรเสริญใน กระบวนว่าเป็นความคิดแปลกดี คือบทจ� ำแลงตัว...” ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต ประเภท วิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทย บรรยายเรื่อง “เรื่องของชื่อ” ความโดยสรุปว่า ชื่อ เป็นค� ำที่ตั้งขึ้นเพื่อให้หมายรู้ว่าเป็นผู้ใด สถานที่ใด เมืองใด ชื่อของคนนอกจากจะมีเพื่อให้รู้ว่าเป็นผู้ใดแล้ว ยังมีความเชื่อว่า ชื่อเป็นสิ่งที่ผูกพันอยู่กับเจ้าของชื่อ จึงต้องตั้ง ชื่อให้เป็นมงคล และมีการตั้งชื่อเพื่อเป็นเคล็ดหรือแก้เคล็ด จน เกิดเป็นวัฒนธรรม ความเชื่อหรือความนิยมในการตั้งชื่อ สุภาพรรณ ณ บางช้าง ได้ศึกษาชื่อของคนไทย ตั้งแต่สมัย สุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ในด้านลักษณะการใช้ภาษาและ ความหมาย และพบว่า ชื่อของคนทั่วไปสมัยสุโขทัยทั้งหมดเป็น ค� ำพยางค์เดียว และเป็นค� ำภาษาไทยทั้งหมด ในด้านความหมาย ชื่อที่พบมีความหมายแสดงล� ำดับเครือญาติ เช่น อ้าย อี่ ไส งั่ว เอื้อย เป็นชื่อต้นไม้ เช่น สัง อิน เป็นค� ำเรียกสี เช่น ด� ำ และเป็น ค� ำเรียกธาตุ เช่น ค� ำ พระนามของเจ้านายในสมัยอยุธยา ใช้ค� ำ ภาษาบาลีสันสกฤต และมีหลายพยางค์ แต่ก็พบที่เป็นค� ำไทยก็มี อยู่บ้าง ส่วนชื่อคนทั่วไปในสมัยอยุธยาและธนบุรียังคงเป็นค� ำ พยางค์เดียว และเริ่มมี ๒ พยางค์บ้าง อีกทั้งเริ่มมีค� ำที่มาจาก ภาษาบาลีสันสกฤตด้วย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงมีลักษณะ ของชื่อคนใกล้เคียงสมัยอยุธยาและธนบุรี ต่อมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ ๔ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ภาษาในการตั้งพระนาม อย่างมาก กล่าวคือ ใช้ภาษาบาลีสันสกฤตและมีหลายพยางค์ ในสมัยก่อนการตั้งชื่อเด็กมักเป็นค� ำที่ใช้ หลอกผี โดยใช้ค� ำที่ มีลักษณะไม่งาม เช่น บี้ ด� ำ เบี้ยว ไม่มีการแบ่งเป็นชื่อชายหญิง ทั้งนี้ ชื่อที่เรียกเมื่อแรกเกิดเป็นเพียงชื่อเล่น ๆ ส� ำหรับเรียกกันใน หมู่ญาติ ดังนั้นจึงมีการตั้งชื่อใหม่ที่เป็นมงคลนาม โดยให้พระภิกษุ เป็นผู้เลือกชื่อให้ใช้เป็นชื่อจริง และชื่อจริงก็มักจะเป็นค� ำที่มาจาก ภาษาบาลีและสันสกฤต ต่อมามีผู้น� ำหลักการตั้งชื่อตามนามทักษา ปกรณ์มาใช้และแนะน� ำชื่อไว้มากมาย ซึ่งการตั้งชื่อตามนามทักษา ปกรณ์เป็นการตั้งชื่อตามลักษณะที่ก� ำหนดเป็น เดช ศรี มูละ และ มนตรี เพื่อให้ชื่อเป็นมงคลแก้เจ้าของชื่อ เพื่อให้ได้ชื่อที่สมกับเป็น เพศหญิงเพศชาย และเพื่อแก้บาปลักษณะที่อายุเป็นกาลกิณีหรือ ศัตรูลักษณะให้เป็นบุญลักษณะ ในปัจจุบัน ความเชื่อเรื่องชื่อดี ชื่อมงคลใช้ต� ำราใหม่ด้วยการ ก� ำหนดค่าอักษรเป็นจ� ำนวน ชื่อต้องมีค่าที่เป็นจ� ำนวนมงคล จึง นิยมตั้งชื่อที่มีเป็น ๓ พยางค์ หรือมากกว่า ๓ พยางค์ และตั้งชื่อ ด้วยอักษรที่ไม่ค่อยใช้ นัยว่าก� ำหนดตามจ� ำนวนที่เป็นเลขมงคล เช่น ชริโศภณ มนรัญชน์วัจน์ พลิตถิยา ทรรศนาลักษณ์ นอกจากชื่อจริงแล้วยังมีชื่อเล่น ซึ่งน่าจะเริ่มมาจากการตั้งชื่อ เด็กเพื่อหลอกผีเป็นประการแรก ประการที่สอง น่าจะเกิดจากความ นิยมเรียกชื่อแต่ย่อ ๆ ซึ่งบางครั้งก็ตัดจากพยางค์หน้าหรือพยางค์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=