1569_5464
ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒๒๐ เดือนตุลาคม ๒๕๕๒ 5 ความรู้ประเภทนี้มีประสิทธิภาพสูงสุด มนุษย์ใช้ความรู้ประเภทนี้ จัดการกับวัตถุทั้งหลายให้กลายเป็นอุปกรณ์เพื่อน� ำมาใช้เป็น เครื่องอ� ำนวยความสะดวกสบายของชีวิต และยังสามารถสร้าง ความเพลิดเพลินให้แก่มนุษย์จนท� ำให้มนุษย์หลงใหลไว้วางใจว่า จะน� ำไปสู่ความสุขได้อย่างนิรันดรอีกด้วย มนุษย์พัฒนาความรู้ที่ เรียกว่า Science นี้ไปไกลสุด จนเลยสุดเขตแดนการควบคุมได้ ของมนุษย์เสียแล้ว จนผลของการใช้ความรู้ทางโลกนี้ได้กลับมา เป็นมหันตภัยคุกคามมนุษย์เสียเอง จึงมีผู้อุปมาว่า มนุษย์พัฒนา ความรู้ไปไกลสุด เป็นการสร้างยักษ์ขึ้นมาแล้วควบคุมยักษ์ไม่ได้ ในที่สุดยักษ์กลับมาจับกินมนุษย์เสียเอง นี่คือสภาพที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบันที่เรียกว่าภัยเกิดจากมลภาวะหรือสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ และ ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง ความรู้อย่างวิวรณ์เป็นการไขแสดงหรือเปิดเผยตัวของ เทพเจ้าในศาสนาเทวนิยม ไม่ใช่ความรู้วิชาการ เพราะการเปิด เผยตัวความจริงนี้อาศัยการปฏิบัติ และศรัทธา วิวรณ์คือการไข แสดงของสิ่งเหนือธรรมชาติหรือพระเจ้า มีฐานอยู่ที่ความเชื่อ และพัฒนาการเป็นความไว้วางใจในสิ่งภายนอก เป็นการปฏิบัติ ตามความเชื่อความภักดี เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติ กับสิ่งนอกธรรมชาติที่เรียกว่า God นั้น เพราะอาศัยความเชื่อที่ มีลักษณะเป็นพลัง จึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในจิตใจคือ ความโน้มเอียงไปสู่ความภักดีและมอบตนถวายชีวิตให้ ส่วนความรู้ที่เรียกว่าโพธิญาณ ซึ่งเป็นความรู้สูงสุดในทาง พระพุทธศาสนา ต้องอาศัยการปฏิบัติตามไตรสิกขาและศรัทธา ในเบื้องต้นมาคู่กันเป็นพลังขับเคลื่อน ศรัทธาในที่นี้มีลักษณะเป็น ความมั่นใจ คือ มั่นใจในกฎแห่งกรรม ดังนั้นความรู้ประเภทนี้ต้อง อยู่เหนือศรัทธาเสมอ แต่ในที่สุดศรัทธากลายเป็นพลังเสริมให้ ความรู้นี้แก่กล้า มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนบุคคลผู้ปฏิบัติ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตจากขั้นต�่ ำไปสู่ขั้นสูง คือจากปุถุชนไป เป็นพระอริยบุคคล ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ความรู้ประเภทเกิดจากประสบการณ์ โดยตรง ใช้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เป็นต้น เป็นความรู้จริงที่เรียก ว่าศาสตร์ นั้นแยกได้ ๓ กลุ่ม คือ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ มนุษยศาสตร์ มีฐานะเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือของมนุษย์ ส� ำหรับ ประกอบอาชีพเพื่อด� ำเนินชีวิตให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ส่วนความรู้ วิวรณ์และโพธิญาณเป็นความรู้ภาคปฏิบัติหรือความรู้ทางธรรมที่ มีฐานอยู่ที่ศรัทธาและพัฒนาไปสู่ความรู้ตามความเป็นจริงสูงสุด ในศาสนานั้น ๆ มีหน้าที่ในการเข้าถึงเทพเจ้าหรือการบรรลุธรรม ตามล� ำดับที่ก่อให้เกิดความสุขความดีและความสงบ เป็นต้น แก่ ผู้ปฏิบัติและเป็นความรู้เฉพาะตน ส� ำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชา คณิตศาสตร์ บรรยายเรื่อง “คณิตศาสตร์ในการวิจัยยีโนม : การ สร้างตัวแบบเชิงสุ่มของเครือข่ายการควบคุมระดับยีโนม” ความ โดยสรุปว่า เฟคเดอรอฟ และผู้ร่วมวิจัย (๒๕๔๕) กล่าวว่า ลักษณะ เชิงสุ่มเป็นเหตุการณ์ที่พบในกระบวนการเชิงชีวภาพทุกระบบ... การก่อตัวของความรบกวน และระบบบรรเทาความรบกวน เป็น เครื่องหมายประจ� ำตัวของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ในขณะที่ฮูม ได้ให้ข้อสังเกตว่า ทรานส์คริปชัน ในยูคาริโยท เกิดขึ้นที่ความถี่ต�่ ำ และถูกควบคุมในลักษณะที่มีความไม่แน่นอน ดังนั้นจึงเป็นที่แน่ชัดว่า การควบคุมการท� ำงานของยีนเป็น ระบบที่มีความรบกวนเชิงสุ่ม (แมคอาดัมส์ และผู้ร่วมวิจัย, ๒๕๔๒) จะอธิบายว่า ถ้ามีความไม่แน่นอนจากการวัด หรือการแปรเปลี่ยน ในอุณหภูมิ หรือความแปรเปลี่ยนในสิ่งแวดล้อม เราสามารถศึกษา เชิงปริมาณ และค� ำนึงถึงลักษณะเช่นนี้ได้อย่างไร เราจะแสดง ว่าการใช้ตัวแบบเชิงสุ่มจะท� ำให้เราสามารถจ� ำลองเหตุการณ์จริงได้ ดีขึ้นอย่างไร โดยพิจารณาการจ� ำลองวิถีทางที่แบคทีเรียอีโคไล ติด เชื้อแลมป์ดาแบคทีเรียโอฟาจ ยิ่งไปกว่านั้น เราจะศึกษาการใช้ตัว แบบเชิงสุ่มกับกระบวนการส่งผ่านสัญญาณระหว่างเซลล์ที่มีชีวิต ส� ำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นายวินัย ภู่ระหงษ์ ภาคี สมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยกรอง บรรยายเรื่อง “...ผิดที่ผิดทาง...” ความโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ถึงวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ ภายในโถงสถานีรถไฟ หัวล� ำโพง กรุงเทพฯ เยื้องชานชาลาที่ ๕ ปรากฏกล่องสีขาวในผัง สี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวกว่า ๑๐ เมตร ตั้งอยู่ ภายในมีลักษณะโปร่ง เป็นโถงทางเดินปลายเปิดทั้งสองข้าง ตลอดทางเดินปูพรมและมี ประตูเรียงรายทั้งสองด้าน พร้อมทั้งโคมไฟสองข้างทางเดิน ไม่ ต่างกับโถงทางเดินอันหรูหราของโรงแรมชั้นน� ำ กล่องดังกล่าวนี้เป็นงานศิลปะของศิลปิน ๒ คน คือ ไมเคิล เอ็มกรีน และอันการ์ แดรกเซ็ท Michael Elmgreen & Inger Dragset ที่จงใจจ� ำลองมาจากโถงทางเดินของโรงแรมโอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ ซึ่งทุกอย่างที่ปรากฏอยู่นั้นเหมือนจริงทุกประการ งาน ศิลปะชิ้นนี้ ศิลปินทั้งสองตั้งชื่อว่า Dislocated Oriental สถานีรถไฟหัวล� ำโพงเป็นที่สาธารณะ ใคร ๆ ก็สามารถไปได้ แต่โถงทางเดินของโรงแรมโอเรียนเต็ลค่อนข้างเป็นสถานที่ส่วนตัว มีไว้รับรองแขกชั้นดีของโรงแรมเท่านั้น การที่ศิลปินทั้งสองสร้าง ความขัดแย้งโดยการน� ำสิ่งหนึ่งที่ควรอยู่ในที่แห่งหนึ่ง มาอยู่ในที่อีก แห่งหนึ่งที่ตรงข้ามอย่างผิดที่ผิดทางเช่นนี้ ย่อมสร้างความสนใจ และเกิดประเด็นค� ำถามต่ออีก “ท� ำไม” และ “เพื่ออะไร” ฯลฯ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=