1569_5464
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน กรุงสยามยังถูกคุกคามจากปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และคนในบังคับต่างชาติ ครั้นทรงเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่าเป็นการ “พลิกแผ่นดิน” โดยอุปสรรคในช่วงต้นรัชสมัยได้ผ่านไปแล้ว แต่ ปัญหาใหม่และร้ายแรงกว่าเดิมคือ การคุกคามของจักรวรรดินิยม ตะวันตกรุนแรงมาก ขณะเดียวกันการปฏิรูปการปกครองที่ เป็นการดึงอ� ำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง การปกครองหัวเมืองในระบบ เทศาภิบาล และยกเลิกระบบกินเมืองที่เคยใช้กันมานาน ท� ำให้ เกิดปัญหาความไม่พอใจของข้าราชการระบบเก่าที่สูญเสียทั้ง อ� ำนาจและผลประโยชน์ และอุปสรรคที่ส� ำคัญคือการขาดแคลน คนที่มีความรู้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชี้แจงความไม่ พร้อมของการเมืองแบบรัฐสภาในเมืองไทยว่า ถ้ามีปาลิเมนต์หรือ รัฐสภา จะมีคนซึ่งสามารถเป็นสมาชิกได้กี่คน และจะท� ำการงาน ได้เพียงใด เพราะไม่มีความรู้ ไม่มีการฝึกหัด หรือเตรียมตัวมา ก่อน ซึ่งจะท� ำให้เกิดผลเสียแก่การทั้งปวง พระองค์ทรงเห็นว่าการ ปกครองที่เหมาะสมกับเมืองไทย คือ ระบอบกษัตริย์ที่เดินสาย กลางที่มีความสามัคคีพร้อมเพรียงเป็นส� ำคัญ ดังนั้น การที่จะให้ มีการเมืองแบบรัฐสภาตามกระแสของโลกในเวลานั้น จึงไม่แน่นัก ว่าจะเป็นผลดีหรือเป็นผลร้ายมากกว่ากัน เพราะผู้คนของเรายัง ไม่มีความรู้พอ แต่ถึงกระนั้น พระองค์ก็ทรงให้มีการคัดค้าน พระองค์ได้ และมีการตัดสินใจร่วมกันในลักษณะการระดมมัน สมอง สภาทั้งหลายที่ทรงตั้งขึ้นตั้งแต่ต้นรัชสมัย และมีการ ปรับปรุงใหม่ในครึ่งหลังของรัชสมัย เป็นการเปิดโอกาสให้มีการ ด� ำเนินงานโดยใช้เสียงข้างมากเป็นส� ำคัญ • วันพุธที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.เดือน ค� ำดี ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและ ญาณวิทยา บรรยายผลงานทางวิชาการ เรื่อง “ญาณวิทยา : บทบาทความรู้ทางโลกและความรู้ทางธรรม” ความโดยสรุปว่า ญาณวิทยา คือทฤษฎีความรู้เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ว่าด้วย บ่อเกิดของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และสมรรถนะของความ รู้ รวมทั้งความสมเหตุสมผลของความรู้ โดยตั้งค� ำถามว่า มนุษย์ รู้ความเป็นจริงอันติมะได้อย่างไร ญาณวิทยาแบ่งออกได้หลาย สาขา เช่น เหตุผลนิยม (Rationalism) ประสบการณ์นิยม (Empiricism) วิวรณนิยม (Revelationism) โพธิญาณนิยม (Enlightenmentism) และปฏิบัตินิยม (Pragmatism) โดยทั่วไป ปรัชญาแบ่งออกเป็น ๓ สาขาใหญ่ คืออภิปรัชญา ญาณวิทยา และคุณวิทยา ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ความรู้ของมนุษย์อาจมีลักษณะและจ� ำแนกออกได้หลาย ประเภทและหลายระดับตามฐานที่เกิดขึ้น มีบทบาทและมีความ สัมพันธ์กันของความรู้นั้น ๆ ดังนี้ (๑) ความรู้เกิดจากประสบการณ์ (Empirical) คือ ความรู้เกิดจากผัสสะ (senses) ความรู้เกิดขึ้น ได้เพราะอาศัยอายตนะหรือมีประสบการณ์เป็นจุดตั้งต้น ซึ่งหมาย ถึงการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสตามปกติสามัญที่มนุษย์ทุกคน ประสบอยู่ในชีวิตประจ� ำวัน (๒) ความรู้เกิดจากการใช้เหตุผล (Rational) คือ ความรู้มีจุดตั้งต้นที่จิต อาศัยวิธีการนิรนัย (Deduction) เป็นหัวใจของการแสวงหาความรู้ เป็นความรู้ที่เป็นสิ่ง ที่มีอยู่ในจิตอยู่แล้วติดตัวมาตั้งแต่ก่อนเกิด (๓) ความรู้เกิดจาก วิวรณ์ (Revelation) คือ การเปิดเผยตัวของสิ่งเหนือธรรมชาติ (Super natural manifestation) เป็นความรู้ที่ไม่ผ่านกระบวนการ ความรู้อย่างธรรมดาหรือศาสตร์ใด ๆ เป็นเรื่องนอกเหนือ ธรรมชาติ ศาสนาประเภทเทวนิยมยอมรับความรู้ประเภทนี้ (๔) ความรู้เกิดจากอัชฌัตติกญาณ (Intuition) ความรู้เกิดจากความ ไตร่ตรองภายในจิต เป็นการพิจารณาสภาวะทั่วไปทั้งภายในและ ภายนอก ซึ่งเป็นกิจกรรมของจิตโดยตรง มีอยู่ ๒ ระดับ คือ ระดับ สามัญเรียกว่า สามัญส� ำนึก (Common Sense) และระดับที่เป็น ความรู้อย่างพิเศษ หรือโพธิญาณ กลุ่มผู้ที่ยึดถือประสบการณ์พยายามที่จะตอบปัญหาเรื่อง ความรู้ของมนุษย์โดยอธิบายว่า ความจริงแท้จ� ำกัดอยู่แต่ในขอบ เขตของผัส สะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เท่านั้น สิ่งใดจะถือว่าแท้จริง มีอยู่จริงนั้น จะต้องรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส ทฤษฎีนี้ปฏิเสธ ความจริงที่อยู่นอกขอบเขตของประสาทสัมผัสและยอมรับวิธีการ ทางวิทยาศาสตร์ว่าเป็นวิธีที่ได้มาซึ่งความรู้อันถูกต้องและเป็นจริง กลุ่มผู้ที่ใช้เหตุผลพยายามตอบปัญหานี้โดยอธิบายว่ายังมี ความจริงแท้อยู่นอกขอบเขตของประสาทสัมผัสและสามารถรู้ได้ ด้วยอาศัยเหตุผล ในการตัดสินความจริงว่า อะไรผิด อะไรถูกนั้น กลุ่มใช้เหตุผลไม่ใช้ประสาทสัมผัสตัดสินความจริง แต่ใช้พุทธิ ปัญญาที่ได้มาโดยวิธีนิรนัยและพยายามที่จะเอาวิธีการทาง คณิตศาสตร์มาใช้แสวงหาความรู้ ดังนั้น จึงพยายามตอบปัญหา นี้ว่า มนุษย์ได้รับความรู้มาทางจิตโดยตรง เป็นลักษณะแห่งความ เข้าใจ ซึ่งเป็นความรู้ที่ติดตัวมาก่อนเกิด มีอยู่ก่อนประสบการณ์ ผู้ที่สามารถรื้อฟื้นความจ� ำก็จะได้ความรู้จริงและความรู้นี้ก็ไม่ สัมพันธ์กับการปฏิบัติทางศาสนาเช่นกัน ความรู้ประเภทแรก คือ ความรู้เกิดจากประสบการณ์ ความ รู้ประเภทหลัง ได้แก่ ความรู้เชิงเหตุผลนั้นถือว่าเป็นความรู้ทาง โลกระดับตรรก ซึ่งเป็นความรู้ที่มีพื้นฐานทางปรัชญา อาศัยการ คิดพัฒนาการเข้าสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ กลายเป็นความรู้ เชิงวิชาการ หรือศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งมีฐานะเป็นเครื่องมือและได้ กลายเป็นวิชาชีพในที่สุด ศาสตร์วิชาการเหล่านี้มีบทบาทตอบ ปัญหาความสงสัยและเป็นวิชาชีพ สร้างคนให้เป็นผู้ฉลาด ให้ เชี่ยวชาญในอาชีพสาขาต่าง ๆ เพราะความรู้เหล่านี้เกิดจากกลไก ของสมอง เป็นความรู้ที่เรียกว่า พุทธิปัญญา ปัจจุบันความรู้ ประเภทนี้พัฒนาสุดยอดเรียกว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ มักจะเรียกกันในสถาบันการศึกษาว่าความรู้วิชาการ ในขณะนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=