1569_5464
ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒๒๐ เดือนตุลาคม ๒๕๕๒ 3 ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ รองศาสตราจารย์วุฒิชัย มูลศิลป์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ไทย บรรยายผลงานทางวิชาการ เรื่อง “พระบรม- ราชาธิบายแก้ไขการปกครอง : พระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการปกครองแผ่นดิน” ความโดยสรุป ว่า พระราชด� ำรัสทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครอง แผ่นดินเป็นหนึ่งในเอกสารส� ำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกความทรงจ� ำแห่งโลก” ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นหนึ่งในเอกสารส� ำคัญซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้ง ยังเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ให้ทรงศึกษา “ประเพณีการปกครอง บ้านเมืองและราชการแผ่นดิน” เมื่อเสด็จกลับจากทวีปยุโรปใน พ.ศ. ๒๔๖๗ ครั้นเสด็จขึ้นครองราชย์ก็โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ใน พ.ศ. ๒๔๗๐ เมื่อตรวจสอบพระราชด� ำรัสพระบรมราชาธิบายฉบับร่าง พบว่าฉบับร่างที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงร่าง ไว้อย่างดี เกือบทั้งหมดไม่มีการแก้ไขสาระส� ำคัญ แต่ในฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๐ มีข้อความที่ผิดไปจากฉบับตัวเขียนอยู่หลายแห่งซึ่ง ท� ำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนได้ ประเด็นส� ำคัญที่ต้องวิเคราะห์คือ พระ ราชด� ำรัสพระบรมราชาธิบายทรงมีขึ้นเมื่อใด มีผู้ให้ความเห็นแตกต่างกันในเรื่องพระราชด� ำรัสพระบรม- ราชาธิบายว่าทรงมีขึ้นเมื่อใด เพราะเอกสารพระบรมราชาธิบาย ไม่ปรากฏวันที่ ส่วนวันที่ที่ปรากฏในใบปะหน้าของฉบับคัดลอกนั้น ก็ไม่ถูกต้อง ข้อที่น่าพิจารณาเกี่ยวกับวันเวลาที่ทรงมีพระบรม- ราชาธิบายคือ เป็นช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกับวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นใน พม่ า จนท� ำให้พม่ าสูญเสียเอกราช พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ราชทูตไทยประจ� ำฝรั่งเศสและยุโรป กราบบังคมทูลเสนอความ เห็นได้เต็มที่ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์จึงท� ำค� ำกราบบังคมทูลร่วม กับเจ้านายและข้าราชการรวม ๑๑ คน ถวายเข้ามาเมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๗ ขอให้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากแบบ “แอฟโสลุด โมนากี” (Absolute Monarchy) เป็นแบบ “คอนสติ- ตูชาแนล โมนากี” (Constitutional Monarchy) แต่ค� ำกราบ บังคมทูลที่น่าจะมีความส� ำคัญมากต่อการมีพระราชด� ำรัส พระบรมราชาธิบายเป็นของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทวะ- วงศ์วโรปการ หลังจากศึกษารูปแบบการปกครองของยุโรปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ แล้ว จึงเป็นไปได้มากว่าพระราชด� ำรัสพระบรม- ราชาธิบายมีขึ้นหลังจากพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์ วโรปการ กราบบังคมทูลรายงานไม่นานนัก เรื่องที่กราบบังคมทูลไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ส� ำหรับพระองค์ แต่ เป็นเรื่องที่ทรงคิดเห็นแล้วทั้งสิ้น อีกทั้งทรงปรารถนาอย่างแรง กล้าที่จะจัดการให้ส� ำเร็จลุล่วงไปด้วย แต่ความต้องการที่ส� ำคัญ ในเวลานั้น ๒ ประการ คือ “คอเวอนเมนต์รีฟอม” ที่ข้าราชการ ทุกคนท� ำงานได้เต็มตามหน้าที่และมีการประชุมปรึกษากัน กับ “ผู้ ท� ำกฎหมายให้เป็นผู้ส� ำหรับที่จะตริตรองตรวจตราทุกสิ่งทุกอย่าง” ซึ่งยังมีปัญหาเพราะขาดคนที่มีความรู้ ถ้าจะปฏิรูปการปกครอง ตามแบบที่กราบบังคมทูลมา เมื่อถึงปลาย พ.ศ. ๒๔๓๑ การ คุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตกที่มีต่อไทยโดยเฉพาะฝรั่งเศส ก็รุนแรงยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็น ว่าถึงเวลาที่จะต้องปฏิรูปการปกครองให้เหมาะสมกับกาลสมัย พระองค์มีพระราชด� ำรัสถึงความไม่เหมาะสมของรูปแบบการ ปกครองที่เป็นอยู่ ความล้าสมัยของโครงสร้างการปกครอง นอกจากนี้ บางหน่วยงานก็มีงานมากล้นมือ บางหน่วยงานก็ไม่มี งานท� ำ และระบบศาลที่เป็นอยู่ก็ระคนกันทั้งกฎหมายเก่าและที่มี การแก้ไข ส่วนโครงสร้างใหม่ที่ทรงปฏิรูปคือ แบ่งเป็น ๑๒ กรม จากเดิมมีอยู่ ๖ กรม โครงสร้างใหม่ที่ทรงปฏิรูปนี้ทรงทดลอง ด� ำเนินการเป็นเวลา ๔ ปีก็ทรงด� ำเนินการเป็นการถาวร พร้อมมี การเปลี่ยนค� ำว่ากรมเป็นกระทรวง พระราชด� ำริที่จะให้มีกฎหมายก� ำหนด “พระบรมราชานุภาพ” ของพระเจ้าแผ่นดิน โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะ- วงศ์วโรปการทรงร่างและน่าจะร่างเสร็จก่อนวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ เรียกว่า “ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ ๑ ว่าด้วยราช- ประเพณีกรุงสยาม” แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสอย่างไร และไม่ปรากฏว่า มีการประกาศใช้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงน� ำการ เปลี่ยนแปลงมาสู่กรุงสยามตั้งแต่ก่อนการครองราชย์ด้วย พระองค์เองใน พ.ศ. ๒๔๑๖ ซึ่งน� ำความสุขมาสู่ราษฎร และ ขยายไปสู่พระราชกรณียกิจด้านอื่น ๆ พระราชปณิธานที่ส� ำคัญ อีกประการหนึ่งคือ “เพื่อให้เป็นการมั่นคงในการที่เป็นเอกราชของ กรุงสยาม” การคุกคามจากอังกฤษและฝรั่งเศสท� ำให้ไทยต้องเสีย ดินแดนหลายครั้ง เสียเงินค่าปฏิกรรมสงคราม แต่ต้องรักษา เอกราชของชาติไว้ให้ได้ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำ �นักสำ �นัก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=