4.เมษายน 2552.indd

7 ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒๑๕ เดือนเมษายน ๒๕๕๒ Red สีแดง เช่น in the red ติดตัวแดง คือ เป็นหนี้ มีที่มาจากหลัก ฐานทางการเงินที่ธนาคารแจ้งมา รายการที่เป็นหนี้จะพิมพ์ด้วยหมึกแดง Û. ศัพท์และสำนวนที่มีที่มาจากชื่อดอก‰มâ ºล‰มâ Apple แอปเปิล เช่น the apple of one’s eye คือ ผู้ที่เรารัก และทะนุถนอมราวกับแก้วตา แต่เดิม apple เป็นคำที่ใช้เปรียบเทียบ กับ retina หรือจอรับภาพในตา เนื่องจากมีลักษณะกลมเหมือนกัน ดัง นั้นจึงนำมาใช้กับผู้ที่มีค่าเท่ากับดวงตาของเรา Grape องุ่น วลี sour grapes องุ่นเปรี้ยว หมายถึง แกล้งทำเป็น ไม่อยากได้อะไรสักอย่างเนื่องจากไม่สามารถหาสิ่งนั้นมาได้ มีที่มาจาก นิทานอีสปเรื่องสุนัขจิ้งจอกซึ่งอยากกินองุ่นแต่เก็บไม่ถึงเพราะองุ่นอยู่ สูงเกินไป จึงกลบเกลื่อนความผิดหวังด้วยการพูดว่า ไม่เห็นอยากกิน เลย เพราะอย่างไรองุ่นก็คงเปรี้ยวอยู่ดี Rose กุหลาบ เช่น see things through rose-colored spectacles เห็นอะไรดีไปหมด เหมือนมองผ่านแว่นที่มีเลนส์สีชมพู คือ มองทุกสิ่งทุกอย่างในแง่ดีเกินไป การศึกษาที่มาและความหมายของศัพท์และสำนวนต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นประโยชน์ เนื่องจากทำให้ได้ความรู้ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และด้าน วิวัฒนาการของภาษา ยังมีศัพท์และสำนวนอีกมากมายซึ่งน่าจะได้ทำการ ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แตกแขนงออกไปอย่างกว้างขวาง นายชนก สาคริก ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชา การดุริยางคกรรม บรรยายเรื่อง “ตำนานเดี่ยวขิมเพลงลาวแพน” ความโดยสรุปว่า “เพลงลาวแพน” เป็นเพลงที่นักดนตรีไทยนิยมนำมา บรรเลงเดี่ยวอวดฝีมือกัน ประวัติเดิมนั้นเล่ากันว่าเพลงนี้มีต้นเค้ามา จากเพลงที่นิยมร้องเล่นกันในหมู่เชลยลาวที่ไทยกวาดต้อนมาจากเมือง เวียงจันทน์ในสมัยตอนต้นของยุครัตนโกสินทร์ ท่วงทำนองเพลงนี้มีทั้ง ความอ่อนหวานรำพึงรำพันและโศกเศร้าระคนกัน ซึ่งเห็นได้จากเนื้อ ร้องเดิมที่บรรยายถึงความยากลำบากทุกข์ระทมใจที่ต้องจากบ้านเมือง มาอยู่ในต่างแดน ต่อมานักดนตรีไทยเห็นว่าเพลงนี้มีท่วงทำนองแปลก ไพเราะน่าฟังจึงนำมาปรุงแต่งเสียใหม่ให้เข้ากับอรรถรสของบทเพลง ไทยที่มีสำเนียงลาว และเนื่องจากเค้าโครงของเพลงนี้มีลักษณะพิเศษที่ เปิดโอกาสให้ปรุงแต่งท่วงทำนองที่แปรเปลี่ยนไปได้มากมายหลายรูป แบบ จึงมีการประดิษฐ์ทางเพลงที่แตกต่างกันออกไปหลายแนวทาง ด้วยกัน ครั้นเมื่อมีการนำเอาเพลงลาวแพนไปบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี ต่างชนิดกันยิ่งทำให้ทางการบรรเลงมีความไพเราะน่าฟังแตกต่างกัน มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ท่วงทำนองส่วนใหญ่ยังคงมีเอกลักษณ์ที่ คล้ายคลึงกันอยู่มากเช่นในตอนท้ายเพลงจะต้องมีการบรรเลงด้วยท่วง ทำนองที่สนุกสนานเร้าใจที่เรียกกันว่า “ออกซุ้ม” ก่อนที่จะจบการเดี่ยว สำหรับเครื่องดนตรีไทยในวงเครื่องสายที่นิยมนำเพลงลาวแพนมา ปรุงทางเพื่อบรรเลงเดี่ยวอวดฝีมือกันนั้นส่วนใหญ่ก็จะมีจะเข้และขิม เนื่องจากเครื่องดนตรีทั้ง ๒ ชนิดสามารถทำเสียงประสานกันในตัวเอง ให้มีท่วงทำนองคล้ายคลึงกับเสียงแคนจึงสามารถสื่อความหมายของ บทเพลงให้ออกรสชาติเป็นสำเนียงลาวได้มากกว่าซอด้วง ซออู้ หรือขลุ่ย ในการบรรยายครั้งนี้ ได้นำเสนอทางเดี่ยวขิมเพลงลาวแพนที่ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้ต่อให้กับธิดาคนที่ ๒ คือ นางบรรเลง สาคริก (สกุลเดิม ศิลปบรรเลง) ทางเดี่ยวขิมเพลงลาว แพนของหลวงประดิษฐไพเราะประกอบด้วยทำนองเพลง ๕ เพลงคือ เพลงลาวแพน เพลงลาวสมเด็จ (ทางเดี่ยว) เพลงลาวลอดค่าย เพลง ลาวแพนน้อย (สาวตกกี่) และออกทำนองซุ้มเป็นอันดับสุดท้าย ส่วน ลักษณะพิเศษของทางเดี่ยวขิมเพลงลาวแพนนี้คือ มีทางสำหรับ บรรเลงคลอไปพร้อม ๆ กับนักร้องด้วย ทางที่ใช้บรรเลงคลอร้องนี้ เรียกว่า “ทำนองว่าดอกเพลงลาวแพน” นอกจากนี้ยังมีแนวทางการ ดำเนินทำนองเพลงที่แตกต่างจากทางเดี่ยวของครูคนอื่น ๆ คือ เมื่อ เริ่มต้นบรรเลงนั้นแนวเพลงจะค่อย ๆ ดำเนินไปอย่างช้า ๆ และค่อย เร็วขึ้นตามลำดับเมื่อจบทำนองลาวแพนแล้วจึงจะออกแนวโลดโผน พิสดารโดยบรรเลงเพลงลาวสมเด็จใน ลักษณะที่พลิกแพลงพิสดารรุก เร้าและต่อด้วยเพลงลาวลอดค่ายพอจบแล้วจึงออกเพลงลาวแพนน้อย โดยบรรเลงทางธรรมดา ต่อจากนั้นจึงบรรเลงทำนองซุ้มเป็นอันดับ สุดท้าย มีพิเศษอยู่ตอนที่จะเริ่มเพลงลาวแพนคือ ถ้าไม่ได้บรรเลงสวม ร้องจะขึ้นแบบลักจังหวะในประโยคแรกแต่ถ้าบรรเลงสวมจากร้องต้อง เพิ่มทำนองอีกวรรคหนึ่งเพื่อให้ลงกับจังหวะหน้าทับพอดีมิฉะนั้นจะ คร่อมจังหวะหน้าทับ (ต่อมานายชนกได้แต่งทางเพลงเดี่ยวนี้เพิ่มเติม เมื่อคราวแสดงขิมหมู่ ๕๘ คนเพลงลาวแพน ณ โรงละครแห่งชาติใน งานฉลองครบรอบร้อยปีเกิดของหลวงประดิษฐไพเราะ ระหว่างวันที่ ๖-๑๐ สิ่งหาคม พ.ศ. ๒๕๒๔) ต่อมา นางบรรเลง สาคริก ได้ต่อทางเดี่ยวขิมเพลงนี้แก่บุตรคือ นายชนก สาคริก ซึ่งต่อมานายชนก สาคริก เห็นว่าทางเดี่ยวขิมเพลงนี้ อาจจะสูญหายไปเหมือนเพลงสำคัญหลายเพลง เพราะไม่นิยมบันทึก เป็นโน้ตไว้ ด้วยความยุ่งยากในการที่จะหาวิธีสื่อความหมายการใช้มือที่ สลับซับซ้อนหรืออาจเป็นด้วยความหวงแหนทางเพลง นายชนกจึงได้ คิดวิธีเขียนโน้ตสำหรับการตีขิมขึ้นมาใหม่ให้มีศักยภาพในการแสดง ตำแหน่งการใช้มือที่สลับซับซ้อนได้อย่างถูกต้องรวมทั้งสามารถเรียนรู้ และเข้าใจได้ง่าย ซึ่งต่อมาได้เป็นรากฐานสำคัญในการเขียนซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ชื่อ “พิณผีเสื้อ” ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สำหรับการฝñ กตีขิมด้วย โปรแกรมวินโดรส์ ได้รับรางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์สาขาปรัชญาจาก สภาวิจัยแห่งชาติในปี ๒๕๓๘ จากการต่อเพลงในรุ่นของนายชนกนี้เอง ที่ทำให้มีการสืบทอดทางเดี่ยวขิมเพลงนี้ถึง ๑๐ กลุ่ม ตั้งแต่ก่อน พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๕๑ ºูâ สน„จ∫ทความดังกล่าวขออนุ≠าตคâ นควâ า‰ดâ ที่หâ องสมุดราช∫ั≥±ิตยส∂าน ตามพระราช∫ั≠≠ัติขâ อมูลข่าวสาร พ.ศ. ๒ıÙ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=