4.เมษายน 2552.indd
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ในความเข้าใจของสิทธารถะ “ความจริง” ที่เขาค้นพบก็คือ ความ เป็นหนึ่งเดียวสมบูรณ์หลอมรวมกับอาตมัน ตามความหมายในศาสนา พราหมณ์ สอดคล้องกับวิถีแนวคิดของตัวเอกที่เป็นพราหมณ์และใช้ชีวิต อย่างพราหมณ์ แต่ในที่สุดแล้ว เฮสเซอเห็นว่า ภูมิปัญญาของอินเดียนั้น อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ปฏิเสธชีวิตในโลกนี้จนเกินไป อีกทั้งวิถีทาง ปฏิบัติยังมีการทรมานตนอย่างสาหัส จึงเขียนให้สิทธารถะละจากเหล่า สมณะและพระพุทธองค์ โดยเฮสเซอเข้าใจผิดไม่สามารถแยกแยะได้ ชัดเจนระหว่างแนวทางปฏิบัติของพราหมณ์ พุทธ และเหมาเอาว่า เรื่อง โยคะและการทรมานตนนั้นเป็นแนวปฏิบัติของทั้งพราหมณ์และพุทธ ประเด็นที่สำคัญที่สุดซึ่งสะท้อนในงานวรรณศิลป์หลายต่อหลายชิ้น ของแฮร์มันน์ เฮสเซอ ก็คือ การนำปัญหาระหว่างความขัดแย้งภายใน จิตใจกับการใช้ชีวิตในสังคมมาถกเถียงอภิปรายเพื่อที่จะหาทางออกและ วิธีแก้ปัญหาเหล่านั้นซึ่งอันที่จริงเป็นปัญหาส่วนตัวของเฮสเซอเอง ใน ความเห็นของผู้วิจัย แม้ว่าเฮสเซอจะสนใจศึกษาแนวคิดและปรัชญา ตะวันออกหลายสำนัก โดยเฉพาะลัทธิเต๋าและขงจื๊อ แต่นักประพันธ์ ชาวเยอรมันผู้นี้ก็ยังคงดำรงความเป็นปัจเจกบุคคลตามแบบตะวันตก อย่างเหนียวแน่น การแสวงหาอันเปรียบเสมือนเป็นหนทางหลีกหนีของ เฮสเซอได้สะท้อนให้เห็นชัดผ่านงานวรรณศิลป์ในการแสวงหาและหลีก หนีของตัวเอกในงานประพันธ์ อีกทั้งสิทธารถะเลือกหนทางเดินที่จะ แสวงหาความจริงด้วยตนเองเฉกเช่นปัจเจกบุคคลตะวันตก โดยที่เฮสเซอ มิได้เข้าใจความหมายของ “หนทางของแต่ละบุคคล” ชัดเจนว่า การ เข้าถึงความหลุดพ้น หรือการเข้าถึงสภาวธรรมนั้นเป็น “ประสบการณ์ ส่วนตนของแต่ละบุคคลที่จะต้องปฏิบัติและประสบด้วยตนเอง ไม่ใช่ สภาวะที่จะแบ่งปันกับผู้อื่นได้” ในลักษณะเดียวกับคำสอนพุทธศาสนาที่ ว่า มนุษย์ทุกผู้ย่อมมีกรรมเป็นของตนเอง บังคับบัญชามิได้ ส่วนหนทางแสวงหา “ความจริง” ของกามนิตในงานประพันธ์ของ แกร์เลอรุพนั้น นับว่าต่างจากหนทางแสวงหาความจริงของสิทธารถะ นั่นคือ กามนิตมิได้เดินทางค้นหาความจริงผ่านการแสวงหาตนเอง คาร์ล แกร์เลอรุพ สร้างสรรค์ผลงาน กามนิต จากความสนใจ ส่วนตัว รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากกระแสความสนใจพุทธปรัชญาและ ปรัชญาตะวันออกช่วงต้นของสมัยใหม่คือ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ นวนิยายเรื่อง กามนิต-ผู้จาริกแสวงบุณย์ แตกต่างจาก สิทธารถะ ของเฮสเซอตรงที่ว่า ในประวัติชีวิตของสิทธารถะตัวเอกของเรื่อง ไม่ ว่าจะอยู่ภายใต้ “เสื้อคลุม” ของพุทธหรือพราหมณ์ก็ตาม แฝงประวัติ ชีวิตของผู้ประพันธ์ไว้มากมายในขณะที่เรื่อง กามนิตไม่มีข้อนี้ ประเด็น ถึงกระนั้น ความเข้าใจผิดของเฮสเซอในหลายประเด็นเกี่ยวกับคำสอน ของพุทธศาสนาผนวกกับมุมมองในลักษณะ “ปัจเจกบุคคล” แบบตะวัน ตก ได้ก่อสานขึ้นเป็นผลงานวรรณศิลป์ที่น่าสนใจศึกษา ก่อให้เกิดผล กระทบต่อวงการวรรณศิลป์ในเยอรมนีและวรรณศิลป์โลก อีกทั้งยัง เปี่ยมด้วยเสน่ห์อย่างยากที่จะปฏิเสธได้ สำหรับผลงานประพันธ์ของ โธมัส มันน์ นั้น แตกต่างจากผลงาน ของ แกร์เลอรุพ และ เฮสเซอ อย่างเห็นได้ชัด ในงานประพันธ์ของ โธมัส มันน์ เราไม่พบส่วนใดที่เป็นพุทธ โดยตรง แต่เป็นที่น่าพิศวงว่าในงานประพันธ์ประเภทเรื่องเล่า ( Erzählung ) หรือ โนเวลเลอ ( Novelle) หรือ นวนิยายขนาดสั้น ของ โธมัส มันน์ หลายชิ้น เราได้พบแนวคิดพุทธศาสนาเกี่ยวกับประเด็น เรื่อง “การรู้เท่าทันปัจจุบัน” ซึ่งเป็นคุณสมบัติและอุปนิสัยของตัวเอก เช่น ในเรื่อง “ความตายที่เวนิส” ( Der Tod in Venedig ) “ความ รู้สึกผิดหวัง” ( Enttäuschungen ) “ห้วงทุกข์” ( Schwere Stunde ) หรือ “รอวันตาย” ( Der Tod ) จะเห็นได้ว่า โธมัส มันน์ มิได้นำเสนอแนวคิดพุทธศาสนาอย่างเต็ม รูปแบบในงานวรรณศิลป์ในลักษณะเดียวกับ แกร์เลอรุพ หรือ เฮสเซอ โดยที่นักเขียนคนหลังสุดที่เอ่ยนามมีประสบการณ์ตรงกับอินเดียและ ปรัชญาที่มาจากอินเดียผ่านทางบิดาและจากการศึกษาปรัชญาตะวัน ออก แต่แนวคิดพุทธศาสนาของ โธมัส มันน์ได้รับอิทธิพลจากโชเปนเฮา เออร์ ลักษณะการรับและเข้าใจพุทธศาสนาของโธมัส มันน์จากโชเปน เฮาเออร์จึงต้องมีการค้นคว้าและวิเคราะห์วิจัยอย่างละเอียดต่อไป • วันอังคารที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ รองศาสตราจารย์มาลิทัต พรหมทัตตเวที ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษา ต่างประเทศ บรรยายเรื่อง “ที่มาและความหมายของศัพท์และสำนวน ต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ” ความโดยสรุปว่า ศัพท์และสำนวนต่าง ๆ ที่ใช้ กันอยู่ในภาษาอังกฤษนั้นมีที่มาหลากหลายและน่าสนใจ ซึ่งในที่นี้ขอ จำแนกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้ ๑. ศัพท์และสำนวนที่มีที่มาจากชื่อสัตว์ เช่น Adder งูพิษขนาดเล็ก คำที่ใช้เรียกชื่อสัตว์ชนิดนี้ ใน Middle English คือ naddre เวลาออกเสียง a naddre เร็ว ๆ เสียงจะกลืน กันทำให้คนที่ได้ยินเข้าใจว่าเป็น an adder Alligator จระเข้ ซึ่งมีจมูกสั้นและทู่กว่า crocodile ชาวสเปน เรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า el lagarto (สัตว์เลื้อยคลาน) ในสำนวน See you later alligator หมายถึง แล้วค่อยเจอกัน ซึ่งคำว่า alligator เป็นคำที่ พวก Cockney (ผู้มีถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่แถบ East End ของ ลอนดอน) ใช้พูด เนื่องจากพวก Cockney ชอบใช้สแลงที่สัมผัส คล้องจองกันที่เรียกว่า rhyming Cockney’s slang เช่น Adam and Eve คือ believe to bell the cat หมายถึง เสี่ยง หรือทำสิ่งใดที่ อันตรายเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น มีที่มาจากนิทานอีสปว่า ฝูงหนูซึ่งถูก แมวรบกวนปรึกษากันว่าจะจัดการแมวอย่างไร หนูตัวหนึ่งเสนอให้เอา กระดิ่งไปผูกคอแมว เมื่อแมวมาใกล้พวกหนูจะได้รู้ตัวล่วงหน้าและหนี ได้ แต่มีหนูตัวหนึ่งท้วงขึ้นมาว่าแล้วใครจะเป็นคนเอากระดิ่งไปผูกคอ แมว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในทางปฏิบัตินั้นเป็นไปไม่ได้ ๒. ศัพท์และสำนวนที่มีที่มาจากชื่อสี Black สีดำ เช่น สำนวนว่า in someone’s black book หมาย ถึง ไม่อยู่ในสายตาของคน ๆ นั้นอีกต่อไปและอาจถูกลงโทษได้ ซึ่ง black book หรือ สมุดปกดำ หรือ บัญชีดำ มาจาก สมุดปกดำ หรือ บัญชีดำ เล่มแรกที่พระเจ้าเฮ็นรีที่ ๘ ของอังกฤษ ทรงรวบรวมรายชื่อ พระอารามหลวงที่เป็นโรมันคาทอลิกในอังกฤษ ด้วยพระองค์ทรงปฏิรูป ศาสนาแยกตัวออกจากศาสนจักรโรมันคาทอลิกในกรุงโรม และทรงตั้ง นิกายใหม่ จึงทรงกล่าวหาว่าอารามหลวงที่เป็นโรมันคาทอลิกนั้น ประพฤติมิชอบ Blue สีฟ้า หรือ น้ำเงิน เช่น blue-blooded หมายถึง ผู้ที่มีเลือด สีน้ำเงิน คือเชื้อพระวงศ์และสมาชิกของตระกูลขุนนาง ซึ่งมีที่มาจาก คำในภาษาสเปนว่า Sangre azul เลือดสีน้ำเงิน ซึ่งหมายถึงคนสเปนที่ มีเลือดสเปนบริสุทธิ์ไม่มีเลือดแขกมัวร์เจือปน ผู้ดีสเปนเหล่านี้จะมีผิว ขาวใสจนมองเห็นเส้นเลือดซึ่งดูเหมือนเป็นสีน้ำเงิน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=