4.เมษายน 2552.indd

5 ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒๑๕ เดือนเมษายน ๒๕๕๒ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมีกฎหมายสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราช- บัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ คุ้มครองผลงานประพันธ์ในหลายด้าน พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘ พระราชบัญญัติ ภาพยนตร์ และวีดีทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์นั้น นับแต่มีการสร้างสรรค์ ไม่ต้องนำไปจด ทะเบียน ในฐานะพนักงานประจำ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้สร้างสรรค์ ใน ฐานะรับจ้างบุคคลอื่นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ว่าจ้าง กระทำการที่เป็นการ ละเมิดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อ สาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำที่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุ อันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น หากกระทำ การต่อไปนี้เพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นละเมิดลิขสิทธิ์ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอต่อสาธารณชน แจกจ่าย นำเข้ามาในราช- อาณาจักร ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์มีดังนี้ การวิจัยหรือศึกษาอันมิใช่เพื่อ หากำไร ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง ติชม วิจารณ์ โดยมีการรับรู้ถึง ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เสนอรายงานข่าวทางสื่อมวลชนโดยมีการรับ รู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดีของ ศาล เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน และการสอบ ทำบทสรุปโดยผู้ สอน หรือสถาบันการศึกษา เพื่อแจกจ่ายในชั้นเรียน โดยไม่เป็นการทำ เพื่อหากำไร ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม ปรกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วย กฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร งานอันมีลิขสิทธิ์ ได้แก่ วรรณกรรม ศิลปกรรม นาฏกรรม ดนตรี กรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ งานอันมีลิขสิทธิ์ เป็นงานที่เป็นการ ดัดแปลงานอันมีลิขสิทธิ์ ผู้ดัดแปลงได้ลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้ดัดแปลง งานที่นำเอางานอันมีลิขสิทธิ์ หรือข้อมูลอื่นใดมารวบรวมหรือประกอบ เข้ากัน การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่ครอบคลุมถึงเรื่องต่อไปนี้ คือ ความคิด แนวความคิด ขั้นตอน หลักการ กรรมวิธี การค้นพบ ระบบ ทฤษฎีทาง วิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ และวิธีการทำงาน สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย สันติสุข ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ บรรยายเรื่อง “Convention on Biodiversity (CBD) : Programime of work on Protected Areas With Particular Emphasis on Protected Areas System in Thailand” สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.พรสรรค์ วัฒนางกูร ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณคดี เปรียบเทียบ บรรยายเรื่อง “การรับพุทธศาสนาในวรรณกรรมเยอรมัน ยุคต้นสมัยใหม่ แกร์เลวรุพ ‘กามนิต ผู้จาริก’ และ เฮสเซ ‘สิทธารถะ’ ” ความโดยสรุปว่า บทความนี้เป็นบทความนำร่องของโครงการวิจัยที่ ศึกษาวิเคราะห์เรื่องการรับพุทธศาสนาในงานประพันธ์ของ แกร์เลอรุพ เฮสเซอ และโธมัส มันน์ โดยผู้วิจัยวิเคราะห์งานวรรณกรรมใช้ตัวอย่าง ผลงานประพันธ์เรื่อง “กามนิต-ผู้จาริกแสวงบุณย์” ของ แกร์เลอรุพ “สิทธารถะ” ของ แฮร์มันน์ เฮสเซอ และงานประพันธ์ประเภทโนเวล เลอหรือนวนิยายขนาดสั้นบางเรื่องของโธมัส มันน์ คำถามหลักของงานวิจัย คือ การรับพุทธศาสนาในงานประพันธ์ ของเฮสเซอ แกร์เลอรุพ และโธมัส มันน์ แตกต่างกันอย่างไร การ แสวงหา “ความจริง” ของปัจเจกบุคคลจากมุมมองของพุทธศาสนา และจากมุมมองในบริบทของวัฒนธรรมยุโรปเป็นอย่างไร นักเขียนเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมทั้ง ๓ คน คือ คาร์ล แกร์เลอรุพ (Karl Gjellerup ค.ศ. ๑๙๑๗) โธมัส มันน์ (ค.ศ. ๑๙๒๙) และแฮร์มันน์ เฮสเซอ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ล้วนเป็นนักเขียนช่วงต้น ของยุคสมัยใหม่ตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ และเป็นนักเขียนที่มีผลงานโดดเด่นหลายชิ้นที่สะท้อนแนวคิดจาก อินเดีย รวมทั้งแนวคิดจากพุทธศาสนา อีกทั้งนักเขียนที่เอ่ยนามมา ทั้งหมดนี้ยังได้รับอิทธิพลจากอินเดีย แนวคิดพุทธศาสนาและปรัชญา ตะวันออกไม่มากก็น้อย นักประพันธ์ชาวเดนมาร์ก คาร์ล แกร์เลอรุพ (๑๘๕๗-๑๙๑๙) เขียนนวนิยาย เรื่อง “กามนิต-ผู้แสวงบุณย์-นวนิยายตำนาน” (Der Pilger Kamanita - Ein Legendenroman ค.ศ. ๑๙๐๖) และ แฮร์มันน์ เฮสเซอ ชาวเยอรมันเขียนนวนิยายเรื่อง “สิทธารถะ” (Siddharta, ค.ศ. ๑๙๒๒) ผลงานทั้งสองชิ้นได้รับการยอมรับจากทั่ว โลกว่า เป็นนวนิยายที่มีพุทธศาสนาเป็นแก่นเรื่องหลัก ในนวนิยายทั้ง สองเรื่องมีตัวเอก คือ สิทธารถะและกามนิตที่ต่างล้วนแสวงหา “ความจริง” ของชีวิต โดยที่ “ความจริง” ของตัวเอกทั้งสองนั้นแตก ต่างกัน ใน “สิทธารถะ” เราได้พบแนวคิดและตัวละครซึ่งมีที่มาจาก พุทธศาสนาชัดเจน แต่จากการศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดพบว่า ส่วนประกอบเหล่านี้เป็นเพียงพุทธศาสนาแต่เปลือกนอก ทั้งนี้ เฮสเซอผู้ประพันธ์เรื่องนี้ มิได้เขียนให้พระพุทธองค์อธิบาย พระธรรมคำสั่งสอนในรายละเอียดแต่อย่างใด ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า อาจ เป็นเพราะผู้ประพันธ์เรื่อง สิทธารถะ ไม่เข้าใจคำสอนของพุทธศาสนา ดีพอ และมิได้ศึกษาพุทธศาสนาอย่างละเอียดจริงจัง ต่างจากผู้ประ- พันธ์เรื่อง กามนิต คือ คาร์ล แกร์เลอรุพที่ศึกษาพุทธศาสนาอย่าง ละเอียดลออจากเอกสารแปลภาษาบาลีหรือสันสกฤตเป็นภาษา เยอรมันหลายชิ้นเท่าที่มีอยู่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ก่อนที่จะ ลงมือประพันธ์งานชิ้นนี้ อีกทั้งแกร์เลอรุพยังแสดงเจตน์จำนงชัดเจนว่า ต้องการรังสรรค์แนวคิดพุทธในงานประพันธ์มิให้บิดเบือนไป นอกจากนี้ เราได้พบว่า เรื่อง กามนิต-ผู้จาริกแสวงบุณย์ ฉบับภาษาไทย เป็นเรื่อง แต่งจากจินตนาการเกือบทั้งหมด ยกเว้นเรื่องราวขององคุลิมาล และ ฉากระหว่างกามนิตและพระพุทธองค์ในห้องโถงบ้านช่างหม้อที่ผู้ประ พันธ์นำมาจากธาตุวิภังคสูตรในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนา และ กาม- นิต-วาสิษฐี ฉบับภาษาไทยได้รับการเรียบเรียงจากภาษาอังกฤษโดย ปราชญ์ไทย ๒ คน คือ เสฐียรโกเศศ และนาคะประทีป อีกทั้งยังอ่าน เพลิดเพลินและงดงามด้วยภาษาอันวิจิตรพิสดารแพรวพราวจนผู้อ่าน ชาวไทยแทบไม่รู้สึกเลยว่า นวนิยายเรื่องนี้ที่จริงประพันธ์โดยชาวตะวัน ตกเรื่อง กามนิต-วาสิษฐี จึงได้รับการยอมรับในประเทศไทยว่าเป็น วรรณกรรมพุทธศาสนาที่ประพันธ์ ได้อย่างสนิทเนียน โดยเฉพาะใน ความเห็นของผู้วิจัยเมื่อเทียบกับเรื่อง สิทธารถะ ของเฮสเซอ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=