4.เมษายน 2552.indd
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สังคมอาจผิดเพี้ยนไป จึงเกิดมีคำพูดเชิงท้าทายว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” การให้ผลของกรรมมี ๒ ชั้น คือ ชั้นที่ ๑ ให้ผลชั้น ในเป็นการให้ผลทางใจ เป็นนามธรรม ชั้นที่ ๒ ให้ผลชั้นนอกเป็นการได้ โลกธรรมที่น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนา เมื่อนำเอาพระพุทธพจน์นี้ มาเป็นหลักในการทำความเข้าใจก็สามารถอธิบายได้ว่า (ก) ทำดีได้ผล ดี หมายถึง (๑) ได้ผลดีชั้นใน คือ ได้ผลดีทางใจ เป็นคุณธรรมสะสมอยู่ ในใจ (๒) ได้ผลดีชั้นนอก คือ ได้ผลเป็นโลกธรรมฝ่ายน่าปรารถนาที่ เป็นรูปธรรม คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ (ข) ทำชั่วได้ผลชั่ว หมายถึง (๑) ได้ผลชั่วชั้นใน คือ ได้ผลชั่วทางใจ เป็นบาปธรรมเกิดสะสมอยู่ในจิต (๒) ได้ผลชั่วชั้นนอก คือ ได้ผลเป็นโลกธรรมฝ่ายไม่น่าปรารถนาที่เป็น รูปธรรม คือ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา สมบัติ-วิบัติ องค์ประกอบของการให้ผลกรรมชั้นนอก “ทำดีได้ดีมี ที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” การกล่าวเช่นนั้นเกิดมาจากการมองข้ามการ ให้ผลชั้นในของกรรมไปที่การให้ผลชั้นนอกเลย การให้ผลชั้นในเป็นนาม ธรรม เกิดขึ้นรวดเร็ว รู้เฉพาะตัวไม่ประจักษ์แก่คนอื่น ไม่ทำให้น่าสนใจ ส่วนการให้ผลชั้นนอกเป็นรูปธรรมชัดเจน แต่ไม่ได้เกิดขึ้นรวดเร็วอย่าง การให้ผลชั้นใน เพราะมีองค์ประกอบ ๔ เข้ามาเกี่ยวข้อง องค์ประกอบ ๔ คือ กาล (เวลา) คติ (ที่) อุปธิ (ร่างกายและบุคลิกภาพ) และปโยคะ (การทำความดีหรือความชั่วอย่างต่อเนื่อง) เมื่อทำหน้าที่สนับสนุนให้ กรรมดีให้ผล เรียกว่า “สมบัติ” ตรงกันข้าม เมื่อทำหน้าที่สนับสนุนให้ กรรมชั่วให้ผลเรียกว่า “วิบัติ” กรรม ๑๒ ทฤษฎีการให้ผลชั้นนอกของกรรม ในพระไตรปิฎกมี กล่าวถึงกรรม ๒ ประเภทเป็นหลัก คือ กุศลกรรม กับ อกุศลกรรม กรรม ๑๒ น่าจะมาจากการนำความรู้เรื่องกรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ไว้ในที่ต่าง ๆ มาประมวลเสนอใหม่โดยแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่ม ที่ ๑ กรรมให้ผลก่อนหลัง กลุ่มที่ ๒ ระยะเวลาที่กรรมนั้น ๆ ให้ผล กลุ่มที่ ๓ กรรมที่ให้ผลตามระยะเวลาต่าง ๆ นั้น ให้ผลเป็นอะไร และ เน้นไปที่การให้ผลชั้นนอก กรรมทั้ง ๓ กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มที่ ๑ กรรมหนัก – กรรมเบา ให้ผลก่อนหลัง จัดเป็น ๔ ชนิด คือ (๑) กรรม หนักหรือครุกรรม (๒) กรรมใกล้ตายหรืออาสันนกรรม (๓) กรรม เคยชินหรืออาจิณณกรรม (๔) กรรมสักแต่ว่าทำหรือกตัตตากรรม กลุ่ม ที่ ๒ ให้ผลตามเวลา แบ่งเป็น ๔ ช่วงเวลา คือ (๑) ให้ผลในชาตินี้หรือ ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม (๒) ให้ผลในชาติหน้าหรืออุปปัชชเวทนียกรรม (๓) ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไปหรืออปราปราเวทนียกรรม (๔) ให้ผลแล้ว หรือยังไม่ให้ผลเลย หรือเลิกให้ผลหรืออโหสิกรรม และกลุ่มที่ ๓ ให้ผล เป็นทำหน้าที่ต่าง ๆ แบ่งเป็น ๔ หน้าที่ คือ (๑) ส่งให้เกิดหรือชนกกรรม (๒) อุปถัมภ์หรือสนับสนุนส่งเสริมหรืออุปัตถัมภกกรรม (๓) เบียนหรือ เบียดเบียนหรืออุปปีฬกกรรม (๔) ตัดรอนหรืออุปฆาตกกรรม การให้ผลชั้นนอกที่เน้นในกรรม ๑๒ ครอบคลุมตั้งแต่การส่งให้ เกิดในภพภูมิต่าง ๆ แล้วปรุงแต่งการดำเนินชีวิต ทำให้ ได้พบกับโลก ธรรมทั้งที่น่าปรารถนา ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และโลกธรรมที่ ไม่น่าปรารถนา ได้แก่ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ตามลักษณะ การให้ผลของกรรม • วันพุธที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นายสงวน ลิ่วมโนมนต์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ บรรยายเรื่อง “อุตสาหกรรม ความคิดสร้างสรรค์และกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาสมัยใหม่” ความ โดยสรุปว่า ในขณะนี้วัฒนธรรมอยู่ในสถานะไร้พรมแดนหรือวัฒนธรรม โลก จึงเกิดเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์เป็นแนวคิดที่จะสร้างให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทั้งต่อภาคการผลิต ภาคการบริการ ภาคการขาย เป็น แนวคิดที่อยู่บนการทำงานแบบใหม่ที่มีปัจจัยหลักมาจากความสามารถ และทักษะพิเศษของบุคคล ทางด้านความคิดทางปัญญา เรื่องนี้เป็น ระบบเศรษฐกิจใหม่ที่มีกระบวนการนำเอาวัฒนธรรมเศรษฐกิจและนว ตกรรมเทคโนโลยีใหม่ต่อยอดรวมเข้าด้วยกัน อุตสาหกรรมความคิด สร้างสรรค์จัดเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญ ในฐานะพลังขับ เคลื่อนเศรษฐกิจระดับโลกมากขึ้น ตัวอย่างที่สำคัญคือ จีน ประเทศจีนได้ดำเนินการการจัดการ วัฒนธรรมเพื่อประเทศในอนาคตมาเกือบ ๘ ปีแล้ว ผลสำเร็จอันยิ่ง ใหญ่ที่ปรากฏชัดคือ พิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิก ครั้งที่ ๒๙ “ปักกิ่ง เกมส์ ๒๐๐๘” นับเป็นงานชิ้นเอกของจีนด้านเศรษฐกิจการสร้างสรรค์ ของโลก ในพิธีเปิดครั้งนี้มีปัจจัย ๓ ประการ คือ (๑) ต้องมีโครงสร้าง พื้นฐานที่ส่งเสริมให้คนมีความคิดสร้างสรรค์ (๒) ต้องมีการศึกษา มี อิสระทางความคิด (๓) รัฐต้องกำหนด “ทรัพย์สินทางปัญญา” เป็น นโยบายวาระแห่งชาติ ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์ (Creative Economy: CE) บางครั้งถูกเรียกกันว่า Creative Industry: CI หรือเรียกว่า อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม ประเทศอังกฤษถือว่าเป็นศูนย์กลางของ อุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ครองส่วนแบ่ง ตลาดโลกมากที่สุดในอุตสาหกรรมบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้ องค์การพัฒนายุทธศาสตร์ของชาติและภูมิภาคทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปะของอังกฤษ กล่าวว่า ความสำเร็จของอุตสาหกรรม ความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ภาครัฐได้กำหนดนโยบายสนับสนุนและ ส่งเสริมอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์อย่างจริงจัง ส่วนประเทศไทย อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรมมีความ เป็นไปได้ในด้านอุตสาหกรรมบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ สร้างจุด แข็งได้อย่างจริงจัง แต่อย่างไรก็ดี สำหรับบุคคลในภาคธุรกิจเบื้องต้น จะต้องสร้างให้ตนเองมีความคิดสร้างสรรค์ก่อน สิ่งสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์สามารถ พัฒนาได้ คือ กฎหมายคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีกฎหมายคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ ได้เป็นเวลา ๕๘ ปีมาแล้ว ตัวอย่างของมรดกทาง วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ ได้ ได้แก่ ภาษา สำนวน โวหาร สุภาษิตคำ พังเพย ศิลปะ มารยาทและแนวทางประพฤติปฏิบัติในสังคม และภูมิ ปัญญาท้องถิ่นในเชิงช่าง ประเทศไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ๗ ฉบับ ดังนี้ (๑) พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ ไขเพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราช บัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ (๒) พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ (๓) พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ (๔) พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจร รวม พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕) พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. ๒๕๔๕ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ (๗) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องชื่อทางการค้า กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเป็นกรอบกฎหมายของประเทศไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=