1504_3716
7 ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒๑๓ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ‰ ¢ ª— ≠ À “ ¿ “ … “ ‰ ∑ ¬ บุคคล-บุคคลธรรมดา-นิติบุคคล ระยะนี้เมื่อดูรายการโทรทัศน์ จะพบว่ามีโ¶ษณาของกรมสรรพากรเชิญชวนให้ประชาชนไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.๙๐ หรือภงด.๙๑ กัน ภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ และประกอบกับมีผู้สงสัยสอบถามเข้ามาว่า คำว่า บุคคลนิติสมมติ [บุก-คน-นิ-ติ-สม- มด] คือบุคคลประเภทไหน บุคคล บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล แตกต่างกันอย่างไร จึงขออธิบายดังนี้ คำว่า บุคคลนิติสมมติ เป็นคำกฎหมายที่ปัจจุบันเลิกใช้แล้วค่ะ เป็นคำนาม หมายถึง นิติบุคคล ซึ่งในทางกฎหมายถือว่า นิติบุคคล เป็นบุคคลประเภทหนึ่ง คำว่า บุคคล (person) เป็นคำนาม หมายถึง คนซึ่งสามารถมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เรียกว่า บุคคลธรรมดา และคำว่า บุคคล ยังหมายถึง กลุ่มบุคคลหรือองค์กรซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และให้มีสิทธิและหน้าที่ ตามกฎหมาย เรียกว่า นิติบุคคล นั่นคือ บุคคล มี ๒ ประเภท คือบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล คำว่า บุคคลธรรมดา (natural person) เป็นคำนาม หมายถึง คนหรือมนุษย์ปุถุชนซึ่งสามารถมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เช่น ผู้อ่าน ผู้เขียน ส่วนคำว่า นิติบุคคล (juristic person; legal person) เป็นคำนาม หมายถึง กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกอง ทุนเพื่อดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วย อาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือ ตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็น ได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ. นางกนกวรรณ ทองตะโก นักวรรณศิลปá ชำนา≠การ กองธรรมศาสตร์และการเมือง ถาม การขานพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ถูกต้องขานว่าอย่างไร ตอบ โดยปรกติการขานพระนามจะขานว่า çพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูà Àัวé [ พ⁄ ระ-บาด-สม-เด็ด-พ⁄ ระเจâ า-ห⁄ ยู่-หัว ] แต่หากพบพระนามตามที่ระบุใน ประกาศที่เป็นทางการ เช่น พระบรมราชโองการ จะใช้ตามที่ระบุใน ประกาศที่เป็นทางการ เช่น พระบรมราชโองการ จะใช้ว่า พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมÀาภูมิพลอดุลยเดช อ่านว่า พ⁄ ระ-บาด-สม-เด็ด- พ⁄ ระ-ปอ-ระ-มิน-มะ-หา-พู-มิ-พน-อะ-ดุน-ยะ-เดด ถาม เหตุใดคำว่า พ.ศ. ซึ่งเป็นคำย่อของคำว่า พุทธศักราช จึงไม่ย่อว่า “พศ.” ตอบ คำว่า พ.ศ . เป็นคำย่อที่มีมาแต่เดิม ซึ่งตรงกับหลักเกณฑ์การเว้นวรรค ของราชบัณฑิตยสถาน ข้อ ๙ ว่า “ตัวย่อต้องมีจุดกำกับเสมอ ตัวย่อ ตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไปให้จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว ยกเว้นตัวที่ใช้มา ก่อนแล้ว” อีกประการหนึ่งคือคำว่า “พุทธศักราช” เป็นคำสมาส ไม่ใช่ คำประสม จึงมิได้เข้ากับหลักเกณฑ์การเขียนคำย่อของราชบัณฑิตยสถาน ข้อ ๓ ซึ่งระบุว่า “ถ้าเป็นคำประสม ใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำ” ถาม โรงเรียน·มà เÀล็ก หมายถึงโรงเรียนประเภทใด ตอบ โรงเรียน·มà เÀล็ก (magnet school) หมายถึง โรงเรียนที่สร้าง หลักสูตรแนวใหม่มุ่งเน้นคุณภาพและมาตรฐานสูงทางวิชาการเพื่อ ดึงดูดความนิยมจากผู้ปกครอง โรงเรียนประเภทนี้มีจุดเด่นทางวิชา การและความสามารถด้านใดด้านหนึ่ง เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีÃา โรงเรียนแม่เหล็กจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนที่สนองความ ต้องการของนักเรียนที่แตกต่างหลากหลาย เน้นนวัตกรรมและจุดเด่น ทางวิชาการว่า สามารถพัฒนาผู้เรียนให้ ดี เก่ง และฉลาด ผู้ปกครอง นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนโดยเชื่อมั่นว่าเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ ถาม โรงเรียนนานาชาติ กับ โรงเรียนทวิภา…า เหมือนหรือต่างกัน อย่างไร ตอบ โรงเรียนนานาชาติ (international school) หมายถึง โรงเรียน เอกชนที่หลักสูตรส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการมีการสอนแตก ต่างจากหลักสูตรกลางหรือหลักสูตรแห่งชาติของประเทศที่โรงเรียน นั้นตั้งอยู่ มีนักเรียนและครูจากหลายประเทศ โดยปรกติจะยึดปรัชญา การศึกษาสากล โดยมากสอนเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาหลักอื่น ๆ นักเรียนท้องถิ่นจึงสนใจเข้าศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ใน ประเทศไทย โรงเรียนนานาชาติจะต้องได้รับการรับรองจากกระทรวง ศึกษาธิการด้วย ส่วน โรงเรียนทวิภา…า (bilingual school) หมายถึง สถาน ศึกษาที่ใช้ภาษาประจำชาติและภาษาที่ ๒ ในการจัดการศึกษา หลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ โรงเรียนทวิภาษาใช้ครูเจ้าของภาษา หากเป็นครูที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ต้องมีความสามารถใช้ภาษาที่ ๒ ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียนในการ สื่อสารเหมือนเจ้าของภาษา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=