1504_3716

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ๓. วรรณกรรมที่นำมาจากพงศาวดารและนิทานต่างชาติ เช่น สามกä ก ราชาธิราช นิทราชาคริต ผู้ชนะสิบทิศ ๔. วรรณกรรมที่แต่งขึ้นมาใหม่จากจินตนาการโดยกวี และนักเขียนประเภทอื่น ๆ เช่น พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน ศิริพจนภาค สี่แผ่นดิน โฉมหน้าศักดินาไทย ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะวรรณกรรมลักษณะที่ ๔ เท่านั้น เนื่องด้วยมีข้อจำกัดเรื่องเวลานำเสนอ จึงจะหยิบยกมาพูดเพียง บางเรื่องเพื่อให้เห็นทั้งความคงที่และความเปลี่ยนแปลงใน สังคมไทยที่สะท้อนให้เห็นในวรรณกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ความเปลีË ยน·ปลงทางสังคมทีË สำคัญ·ละเÀ็น‰ด้ชัด„น วรรณกรรม‰ทย ได้แก่ ๑. เปลี่ยนจากสังคมศักดินามาเป็นสังคมสมัยใหม่ที่มี ความเสมอภาค เสรีภาพและมีการกดขี่ระหว่างชนชั้นน้อยลง ๒. เปลี่ยนจากความเชื่อที่ว่าสตรีเป็นช้างเท้าหลัง ไม่มี สิทธิ์มีเสียงมาเป็นลักษณะที่สตรีมีบทบาทเป็นผู้นำในสังคม มี ฐานะเท่าเทียมกับชาย ๓. เปลี่ยนจากสังคมที่ล้าหลังโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ วัตถุมาเป็นสังคมที่ทันสมัย มีเครื่องอำนวยความสะดวกมาก ขึ้น มีผู้มีการศึกษาเพิ่มขึ้น มีการไปศึกษาต่างประเทศ เปลี่ยน จากสังคมที่คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะชนชั้นต่ำไร้การศึกษา มา เป็นสังคมที่คนส่วนใหญ่สามารถยกระดับตนเองได้ด้วยการ ศึกษาการใฝ่รู้ หรือเล่นการเมือง ๔. เปลี่ยนจากสังคมที่เชื่อมั่นในหลักธรรมของพระพุทธ- ศาสนาหรือศาสนาอื่น เคารพผู้ใหญ่และเจ้านาย มาเป็นสังคมที่ ท้าทายความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์และบาปกรรม ยกย่องคนที่มี เงินหรือมีอำนาจโดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นเป็นคนดีและซื่อตรงหรือไม่ ๕. เปลี่ยนมารับค่านิยมตะวันตกทั้งดีและเลว ค่านิยมที่ดี เช่น มีคู่ครองคนเดียว ไม่ ใช่มีเมียหลวงและเมียน้อยอีก จำนวนหนึ่ง โดยถือเป็นประเพณีนิยม ผู้ชายมิใช่เจ้าของหรือ นายของบุตร ภรรยา รับฟังความเห็นของผู้น้อย มีความเป็น ประชาธิปไตยมากขึ้น ค่านิยมที่เลวก็เช่น ความสำส่อนทาง เพศ สตรีไม่จำเป็นต้องรักษาความบริสุทธิ์ก่อนแต่งงาน ไม่ เลี้ยงดูพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ อยู่กันเฉพาะพ่อแม่ลูก แทนที่ จะใช้ระบบครอบครัวขยายซึ่งมีปู่ย่าตายายอยู่ด้วย สังคมไทย กลายเป็นสังคมแบบตัวใครตัวมัน ความเอื้ออารีมีน้อยลง ความคงทีË „นสังคม‰ทย แม้จะเห็นความเปลี่ยนแปลงหลายลักษณะในสังคมไทย แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็มีให้เห็น อาจเป็นเพราะธรรมชาติ ของมนุษย์ หรืออุปนิสัยคนไทยเป็นเช่นนั้นก็ได้ ซึ่งความคงที่ ในสังคมไทยที่สะท้อนอยู่ในวรรณกรรม ได้แก่ ๑. การฉ้อราษฎร์บังหลวง เอารัดเอาเปรียบผู้ด้อยกว่า ๒. การติดสินบน ๓. การชอบนินทาว่าร้าย หน้าไว้หลังหลอก ๔. การดูถูกคนที่ยากจนหรือมีฐานะต่ำต้อย การกดขี่สตรี ที่ฐานะต่ำต้อยและไม่มีทางสู้ ดร.ชลิตภากร วีรพลิน ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาสถา- ปัตยศิลป์ สาขาวิชาการผังเมือง บรรยายเรื่อง “แนวทาง การพั≤นาจังหวัดสุพรรณบุรี” ความโดยสรุปว่า ด้วย แนวทางการพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรีนั้นมุ่งให้สุพรรณบุรีเป็น จังหวัดชั้นนำในด้านผลิตอาหาร และผลิตภัณฑ์คุณภาพ มาตรฐานสู่สากล เป็นศูนย์กลางการศึกษา การกีÃา และการ ท่องเที่ยวโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และเพื่อให้ บรรลุถึงจุดมุ่งหมายดังกล่าว จึงใช้การแก้ปัญหาความยากจน ให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น โดยเป็นแหล่งผลิต อาหาร ผลิตภัณฑ์คุณภาพมาตรฐาน รวมทั้งส่งเสริมการท่อง เที่ยว ตลอดจนพัฒนาการศึกษา และการกีÃา เพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ประเด็นยุทธศาสตร์ ·ละ·นวทางการพั≤นา การพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรและการ แปรรูป รวมทั้งผลิตภัณฑ์ภายในประเทศและเพื่อการส่งออก โดยแนวทางการพัฒนาต่อไปนี้ - พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตวัตถุดิบให้ ได้คุณภาพและ มาตรฐานเพื่อการแข่งขันทางการค้าและการส่งออก - พัฒนาการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและ ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ - สนับสนุนและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการผลิต และการตลาดสินค้าเกษตร - สนับสนุนฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากรและ เทคโนโลยีการผลิต - สร้างและพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวสู่ระบบการท่องเที่ยว เพื่อเชื่อมต่อกลุ่มจังหวัดและสู่ความเป็นสากล โดยส่งเสริม กิจกรรมประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว พัฒนา ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด ส่งเสริมสินค้าท้องถิ่น ตลอดจนพัฒนาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม เป็นต้น ºู้สน„จบทความดังกลà าวขออนุญาตค้นคว้า‰ด้ทีË À้องสมุดราชบัณ±ิตยสถาน ตามพระราชบัญญัติข้อมูลขà าวสาร พ.ศ. ÚıÙ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=