1504_3716
5 ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒๑๓ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ สุริยุปราคาบางส่วนเวลา ๑๕.๕๓ น. ดวงอาทิตย์แหว่งมาก ที่สุดเวลา ๑๗.๐๐ น. และสิ้นสุดสุริยุปราคาบางส่วนเวลา ๑๗.๕๙ น. ๒. จันทรุปราคาเงามัว ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ เห็นได้ใน ประเทศไทย ตั้งแต่เวลา ๑๙:๓๘:๔๖ น. ถึง ๒๓:๓๗:๔๐ น. ๓. จันทรุปราคาเงามัว ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ไม่เห็นใน ประเทศไทย ๔. สุริยุปราคาเต็มดวง ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เห็นใน ประเทศไทยเป็นสุริยุปราคาบางส่วนทั่วประเทศ ทางเหนือ เห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากกว่าทางใต้ สำหรับกรุงเทพฯ เริ่ม เกิดสุริยุปราคาบางส่วนเมื่อเวลา ๗.๐๗ น. เกิดเต็มที่เมื่อ เวลา ๘.๐๔ น. โดยดวงอาทิตย์ถูกบัง ๕๒.๑ % และสิ้นสุด สุริยุปราคาบางส่วนเมื่อเวลา ๙.๐๙ น. ๕. จันทรุปราคาเงามัว ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ไม่เห็นใน ประเทศไทย ๖. จันทรุปราคาบางส่วน ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็น จันทรุปราคาที่เห็นได้ทั่วประเทศไทยตั้งแต่เวลา ๐๑:๕๒:๔๔ น. (วันปีใหม่) ถึงเวลา ๐๒:๕๒:๔๒ น. สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ รองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณ- ศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทย บรรยายเรื่อง “บทเรียนจากแบบ เรียนเร็ว” ความโดยสรุปว่า หนังสือ แบบเรียนเร็ว เป็น ตำราเรียนภาษาไทยที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม พระยาดำรงราชานุภาพ ได้รับพระราชทานพระบรมราชา- นุญาตให้ใช้เป็นตำราเรียนภาษาไทยแทนหนังสือ แบบเรียน หลวง ตำราชุดนี้ มี ๓ เล่ม สอนเรื่องการอ่าน การเขียน การใช้คำ การเก็บใจความ การเขียนเรียงความ และ ไวยากรณ์ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีการใช้หนังสือเล่มนี้เพื่อ การเขียนการสอนแล้ว แต่บทเรียนหนึ่งที่ได้จากตำราเล่มนี้ก็ คือ การตอบคำถามว่าทำไมคำบางคำในอักขรวิธีปัจจุบันจึง ออกเสียงสั้นยาวต่างกันได้ทั้ง ๆ ที่ใช้รูปสระเดียวกัน ใน อักขรวิธีปัจจุบันแม้ว่าไม้ ไต่คู้ ไม่อาจจะอยู่ร่วมกับสระบนได้ แต่คนไทยก็อ่านได้เพราะความเคยชินนั่นเอง ถึงแม้ว่าจะไม่มี การใช้หนังสือ แบบเรียนเร็ว ในการเรียนการสอนแล้ว แต่ บทเรียนอย่างหนึ่งที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ก็คือ การตอบปัญหา เรื่องการอ่านเสียงสั้นยาวที่ใช้รูปสระเดียวกัน ศาสตราจารย์ ดร.อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาศาสตร์ บรรยาย เรื่อง “การใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ในคำยืม” ความโดย สรุปว่า การทับศัพท์ทุกพยางค์ตามเสียงวรรณยุกต์ที่คนไทย ออกเสียง บางคนอาจจะมองว่าดูรุงรังแต่ก็เป็นไปตามระบบ เสียงที่คนไทยสามารถออกเสียงได้ ไม่ใช่เขียนอย่างหนึ่งออก เสียงอีกอย่างหนึ่ง เป็นการส่งเสริมการเขียนภาษาไทยให้ถูก ต้องตามอักขรวิธีไทย คำไทยที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง มีสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวที่เป็นคำเป็น มีเสียงวรรณยุกต์ สามัญ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ คำไทยที่มีพยัญชนะ ต้นเป็นอักษรกลางมีสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวที่เป็นคำตายมี เสียงวรรณยุกต์เอก ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ คำไทย ที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำมีสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวที่ เป็นคำเป็นมีเสียงวรรณยุกต์สามัญ ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย วรรณยุกต์ คำไทยที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำมีสระเสียงสั้น หรือเสียงยาวที่เป็นคำตาย มีเสียงวรรณยุกต์ตรีและโทตาม ลำดับ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ คำไทยที่มีพยัญชนะ ต้นเป็นอักษรสูงมีสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวที่เป็นคำเป็นมี เสียงวรรณยุกต์จัตวา ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ คำ ไทยที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรสูงมีสระเสียงสั้นหรือเสียงยาว ที่เป็นคำตายมีเสียงวรรณยุกต์เอก ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย วรรณยุกต์ เราตระหนักดีว่าการทับศัพท์ไม่ใช่การถอดเสียง เป็นสัทอักษร ไม่ว่าจะพยายามอย่างไร เสียงที่ออกมาก็ไม่ เหมือนเสียงของเจ้าของภาษาดั้งเดิมอย่างแน่นอน แต่ก็เป็น เสียงที่คนไทยออกเสียงคำยืมนั้น ๆ ได้ ปัจจุบันคนไทยมี โอกาสได้ยินการออกเสียงของเจ้าของภาษามากขึ้น ความคุ้น ชินต่อเสียงทำให้สามารถได้ยินเสียงภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น ละเอียดลออมากขึ้น ฉะนั้นกาลเวลาและโอกาสก็เป็นปัจจัย สำคัญในการทับศัพท์ด้วย • วันอังคารที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ศรี สุรางค์ พูลทรัพย์ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขา วิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ บรรยายเรื่อง “ความเปลี่ยนแปลง และความคงที่ในสังคมที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมไทยสมัย รัตนโกสินทร์” ความโดยสรุปว่า เนื่องจากวรรณกรรม แม้ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของจินตนาการ แต่ความสมจริงทำให้ วรรณกรรมสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความ คงที่บางประการซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย ในภาพรวม วรรณกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์อาจแบ่งได้เป็น ๔ ลักษณะ ได้แก่ ๑. วรรณกรรมที่มีมาก่อนในสมัยอยุธยา ซึ่งนำมาแต่ง ใหม่ เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา พระลอ ๒. วรรณกรรมพระพุทธศาสนา เช่น ปฐมสมโพธิกถา มหาเวสสันดรชาดก ไตรภูมิโลกวินิจฉัย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=