1504_3716

3 ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒๑๓ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ สิทธิพลเมืองทุกรูปแบบที่ค่อย ๆ พัฒนาและเข้มข้นมาก ช่วย เหลือคนผิวดำทั้งในด้านการทำงานและด้านกฎหมาย สมาคมเอ็นเอเอซีพีมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้ชน ผิวดำใช้วิธีการต่อสู้ทางกฎหมาย คดี Brown v. Board of Education of Topeka ค.ศ. ๑๙๕๔ ซึ่งตัดสินให้ชนผิวดำได้ รับสิทธิเท่าเทียมในด้านการศึกษา ล้มล้างหลักการ “แบ่ง แยกแต่เท่าเทียม” เป็นคดีที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การ พิพากษาคดีของศาลฎีกาสหรัฐอเมริกาซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบ อย่างกว้างขวางต่อสังคมอเมริกันและเป็นจุดหักเหของการ ต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมืองใน ค.ศ. ๑๙๕๐ แม้คำตัดสิน ของศาลฎีกาสหรัฐอเมริกาในคดีนี้ยังไม่สามารถล้มล้างกฎ หมายจิมโครว์ ได้ทั้งหมด แต่ก็ส่งผลใหญ่หลวงต่อการต่อสู้ เพื่อสิทธิของชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา เพราะทำให้คดีใน ลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายคดีได้รับการตัดสินในบรรทัดฐาน เดียวกัน และยังทำให้ชนผิวดำส่วนใหญ่ หรือพลังเงียบที่หวั่น เกรง “อำนาจที่เหนือกว่าของชนผิวขาว” เกิดกำลังใจ และ ยินดีให้การสนับสนุนขบวนการเพื่อสิทธิพลเมืองซึ่งมีพลังเข้ม แข็งเพิ่มมากขึ้นกระทั่งสามารถดำเนินการต่อสู้ด้วยวิธีอหิงสา ได้ นับเป็นเวลานานกว่า ๕๐ ปี หลังจากดูบอยส์แสดงจุดยืน ทางความคิดเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวอเมริกันเชื้อ สายแอฟริกา และได้ดำเนินการขับเคลื่อนความคิดของเขาให้ เป็นรูปธรรมร่วมกับองค์กรเอ็นเอเอซีพีและปัญญาชนในภาค เหนือและภาคใต้ทั้งผิวขาวและผิวดำ ภารกิจของนักต่อสู้เพื่อ สิทธิของชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริการุ่นแรกได้ส่งผ่านมาถึง นักต่อสู้รุ่นหลัง คือ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ผู้มีความฝัน และต้องการเห็นชนผิวขาวและผิวดำอยู่ร่วมกันอย่างเท่า เทียมกันและกลมกลืนในสังคมอเมริกัน ก่อนที่จะผลักดัน ภารกิจของนักต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองในทศวรรษ ๑๙๖๐ ให้ ลุล่วงไปด้วยแนวทางอหิงสา อย่างไรก็ตาม แม้รัฐสภา สหรัฐอเมริกาได้ผ่านรัฐบัญญัติสิทธิพลเมือง ค.ศ. ๑๙๖๔ และ ๑๙๖๘ ซึ่งทำให้ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาได้รับสิทธิเท่า เทียมกับชนผิวขาวแล้ว แต่พวกเขาก็ยังต้องต่อสู้อีกยาวนาน เพื่อให้ ได้รับการยอมรับจากชนผิวขาว • วันพุธที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชา สังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา บรรยายเรื่อง “ความสัมพันธ์ ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูกับพฤติกรรมประชาธิปไตย ของวัยรุ่นในครอบครัวไทยปัจจุบัน” ความโดยสรุปว่า ประเทศ ไทยมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีกับการเร่ง พัฒนาประเทศ ความเจริญก้าวหน้านี้แฝงไว้ด้วยปัญหาที่เป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะพฤติกรรม จริยธรรมและพฤติกรรมทางสังคมต่าง ๆ การพัฒนา พฤติกรรมประชาธิปไตยจำเป็นต้องได้รับการกล่อมเกลามา ตั้งแต่วัยเยาว์ และสถาบันแรกที่มีความสำคัญในการกล่อม เกลาให้บุคคลได้มีพฤติกรรมที่เหมาะสมคือสถาบันครอบครัว ปัจจัยที่จะยกระดับมาตรฐานทรัพยากรมนุษย์ของประเทศใน ด้านต่าง ๆ รวมทั้งพฤติกรรมประชาธิปไตยสามารถทำได้โดย ผ่านกระบวนการของรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู ซึ่งรวมไปถึง การเลี้ยงดูที่ได้รับอิทธิพลจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย ผลการวิจัยความสัมพันธ์ของรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูกับ พฤติกรรมประชาธิปไตย ตามตัวแปร ได้แก่ เพศ ประเภท ลำดับการเกิด ประเภทของครอบครัว ภูมิภาค ผลการเรียน อาชีพหลักของครอบครัว ระดับการศึกษาของพ่อ และระดับ การศึกษาของแม่ พบว่า นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดู แบบเอาใจใส่จะมีพฤติกรรมประชาธิปไตยมากกว่านักเรียนที่ ได้รับการอบรมเลี้ยงดูรูปแบบอื่น และนักเรียนที่ได้รับการ อบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้งมีพฤติกรรมประชาธิปไตยน้อยที่สุด รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูมีความสัมพันธ์สูงกับการแสดงความ รักความห่วงใยต่อผู้อื่น เด็กที่ ได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วย ความอบอุ่นจะมีพฤติกรรมแสดงความรักความเผื่อแผ่ต่อ เพื่อนมนุษย์และจะมีความพึงพอใจในตนเองซึ่งส่งผลต่อ พฤติกรรมในทางที่ดีมากกว่ารูปแบบอื่น ๆ การอบรมเลี้ยงดู แบบเอาใจใส่จะได้รับความรักความอบอุ่นจากครอบครัว อย่างเหมาะสม มีการรับฟังเหตุผล ความคิดเห็น สนับสนุนให้ เด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในครอบครัว มี บรรยากาศที่อบอุ่นมีการกำหนดกรอบและแนวทางให้ ประพฤติปฏิบัติร่วมกันให้การควบคุมชี้แนะอย่างมีเหตุผล มี ความใกล้ชิดและไว้วางใจกัน ผลการวิจัยตามตัวแปรต่าง ๆ ได้แก่ (๑) เพศ พบว่า นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มีพฤติกรรม ประชาธิปไตยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูรูปแบบ อื่น ๆ และนักเรียนหญิงมีพฤติกรรมประชาธิปไตยมากกว่า เพศชาย อาจเป็นเพราะเพศหญิงถูกเลี้ยงดูในรูปแบบการ ยอมรับที่มากขึ้น มีโอกาสได้เรียนในระดับสูงมากขึ้นเท่าเทียม กับเด็กชาย (๒) ลำดับการเกิด พบว่านักเรียนที่ได้รับการ อบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ มีพฤติกรรมประชาธิปไตยกว่า นักเรียนที่ ได้รับการอบรมเลี้ยงดูรูปแบบอื่น ๆ โดยเมื่อ พิจารณาดูค่าเฉลี่ยในเรื่องการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ นักเรียนที่เป็นลูกคนโตจะรับรู้ว่าตนได้รับการอบรมเลี้ยงดู

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=