1.มกราคม 2552.indd
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน อินฟราเรด และรังสีความร้อน รังสีความร้อนเป็นรังสีมีความยาวกว่ารังสีอื่น ๆ ที่มาจากรังสีดวงอาทิตย์ รังสีที่เรามองเห็นเป็นรังสี แสงสว่าง ไม่ใช่ตัวแปรทำให้เกิดความร้อนแต่มาพร้อมกับความร้อน เราจึงพบว่าแม้จะไม่มีแสงสว่างมากแต่มีความรู้สึกร้อน รังสี ความร้อนเป็นรังสีที่มีช่วงคลื่นยาวมากกว่ารังสีอื่น ๆ ของรังสีจากดวงอาทิตย์ ดังนั้น เมื่อกระทบกับพื้นโลกเกิดการแปรสภาพเป็น รังสีคลื่นยาวกว่ารังสีอื่น ๆ เมื่อสะท้อนกลับรังสีความร้อนจะสะท้อนกลับค่อนข้างช้า จะรู้สึกว่ามีความร้อนอยู่แม้รังสีแสงสว่างหมด ไปแล้ว เมื่อเกิดมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนเพิ่มขึ้นในบรรยากาศมากขึ้นซึ่งเป็นเสมือนแผ่นกระจก รังสีอื่นมีช่วงคลื่นสะท้อน กลับก็ยังคงมีช่วงคลื่นที่สั้นกว่าจึงสามารถเล็ดลอดออกไปได้ ส่วนรังสีความร้อนซึ่งมีช่วงคลื่นยาวกว่ารังสีอื่น ๆ จึงถูกเก็บกักไว้ จะ พบว่าบ้านเรือนที่มีหน้าต่างเป็นกระจกและปิดไว้แม้ว่าแสงแดดซึ่งเป็นรังสีแสงสว่างหมดไปแล้วแต่ความร้อนก็ยังคงมีอยู่เป็นเวลา นาน เว้นแต่ได้เปิดหน้าต่างออกให้อากาศถ่ายเทจึงค่อยลดความร้อนลง หากไม่ช่วยกันลดความร้อนก็จะทำให้น้ำแข็งบริเวณขั้วโลก และยอดเขาสูงเช่นภูเขาหิมาลัยละลาย ระดับน้ำในทะเลก็จะสูงขึ้นมาท่วมบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ พืชหลายชนิดจะอยู่ไม่ได้ สาเหตุที่โลกร้อนในปัจจุบันไม่ใช่เนื่องจากก๊าซมีเทน (CH 4 ) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2 ) ซึ่งเป็นตัวเรือนกระจกทำให้โลกร้อน ก๊าซทั้งสองอย่างในอดีตก็เกิดได้โดยธรรมชาติ เราพบว่าก๊าซมีเทนที่เจาะพบที่ขอนแก่นก็เป็นก๊าซที่เกิดในอดีตและฝังจมอยู่ในบาง ชั้นของเปลือกชั้นนอกของโลก สิ่งที่มีชีวิตต้องการออกซิเจน (O 2 ) แต่คายคาร์บอนไดออกไซด์ โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานใน การผลิตก็คายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา เช่นเดียวกับประเทศไทยเราปลูกข้าว ก็สร้างก๊าซมีเทน ปัญหาน่าจะอยู่ตรงที่ว่าทำอย่างไร ให้เกิดสมดุลระหว่างสิ่งที่เป็นประโยชน์กับสิ่งที่สร้างความเสียหาย เมื่อพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมแล้วพบ ว่าการสะสมของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกและที่สูงบนภูเขาทำให้น้ำจากทะเลไปพอกพูนอยู่ที่ขั้วโลกและภูเขาสูง ทำให้พื้นที่ต่าง ๆ โดย เฉพาะพื้นที่ซึ่งเป็นทะเลจะเหือดแห้งไปบางส่วน เมื่อเกิดก๊าซเรือนกระจกปกคลุมโลกทำให้อากาศมีอุณหภูมิสูง เป็นผลให้น้ำแข็งจาก ขั้วโลกและตามภูเขาสูงละลาย น้ำทะเลจะมีระดับสูงขึ้น และมีฝนตกมากผิดปรกติ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นปัญหาต่อความเป็นอยู่ ของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายบนพื้นโลกดังที่ทราบกันแล้วเหตุการณ์เช่นนี้จะหาทางอย่างไรที่จะทำให้เกิดการสมดุลและอยู่ได้อย่างยั่งยืน สิ่งซึ่งสร้างความวิตกในขณะนี้พบว่ามีสภาพที่น่าพิจารณาดังนี้ ๑. น้ำแข็งที่อยู่บริเวณขั้วโลกเหนือโดยเฉพาะเกาะกรีนแลนด์ น้ำแข็งได้ละลายบริเวณชายฝั่งเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับบริเวณ ขั้วโลกใต้น้ำแข็งได้หดหายไปตามบริเวณชายฝั่ง ภูเขาสูงประมาณ ๕,๐๐๐ เมตร ที่หิมะปกคลุมในโบลิเวียขณะนี้เกือบไม่มีหิมะ ปกคลุม นิวออร์ลีน ในสหรัฐอเมริกาบ้านเรือนที่สร้างอยู่ชายฝั่งมีน้ำท่วม น้ำในแม่น้ำโขงจะมีระดับเพิ่มขึ้น น้ำในทะเลสาบเขมรจะ เพิ่มขึ้น ๓ เท่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน แม่น้ำสาละวินซึ่งไหลผ่านแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะมีน้ำแข็งละลายไหล ผ่านราวเดือนเมษายน ปัจจุบันยังแสดงให้เห็น บริเวณสมุทรปราการ บางขุนเทียน กรุงเทพฯ สมุทรสาคร ปรากฏว่าชายฝั่งได้รุกล้ำ เข้ามาข้างในแผ่นดินมากขึ้นเรื่อย ๆ การศึกษาและวิเคราะห์จำเป็นต้องพิจารณาให้มากขึ้น พื้นที่ภาคกลางในอดีตมีร่องรอยที่น้ำ ทะเลเคยท่วมเป็นบริเวณกว้าง เท่าที่พบซากสัตว์ทะเลในบริเวณคลอง ๑๔ ซึ่งอยู่ทางเหนือกรุงเทพฯ มีความลึกประมาณ ๘ เมตร บริเวณที่สร้างอุโมงค์รถใต้ดินในกรุงเทพฯ ระดับลึก ๒๐ เมตร พบว่าเป็นทรายละเอียด ซึ่งแสดงว่าครั้งหนึ่งบริเวณนี้อยู่ชายฝั่งทะเล ๒. อุณหภูมิที่สูงขึ้นเนื่องจากเรือนกระจกมีผลต่อความเป็นอยู่ในบางท้องถิ่น โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ โรงงานไฟฟ้าซึ่งใช้ถ่านหินและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็นอันมาก การเกษตรเช่นการปลูกข้าวมี ผลในการปล่อยก๊าซมีเทนแต่โดยภาพรวมก๊าซมีเทนจากการทำนาทั้งปีในประเทศประมาณว่าไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของทั้งโลก การ ปลูกข้าวสมัยใหม่ได้ใช้วิธีหลีกเลี่ยงให้เกิดก๊าซมีเทนน้อยที่สุดโดยไม่ให้มีน้ำขังต้นข้าวมากและเป็นระยะเวลายาวเพื่อไม่ให้เกิดการ เน่าเปื่อยของต้นข้าวและพืชอื่น ๆ ในทุ่งนา ๓. การอุตสาหกรรมการไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินหรือลิกไนต์โรงงานถลุงเหล็กและโรงงานอุตสาหกรรมหลายอย่าง ล้วนเป็นแหล่งที่ ปล่อยสารซึ่งเป็นตัวการที่สร้างเรือนกระจกซึ่งทำให้อุณหภูมิของอากาศสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากความร้อนจากดวงอาทิตย์เป็นพลังความ ร้อนที่มีความถี่สูง แต่เมื่อกระทบกับพื้นโลกก็ถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนคลื่นยาวจะไม่สามารถทะลุผ่านชั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทนออกไปอย่างรวดเร็ว ได้ทำให้เกิดอุณหภูมิสูงขึ้น ยิ่งเป็นบริเวณที่มีการถ่ายเทของอากาศน้อย เช่นไม่มีลมพัดประจำจะ ยิ่งทำให้อุณหภูมิของท้องที่ซึ่งมีสภาพของเรือนกระจกจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ๔. การเกษตรกรรมโดยการบุกรุกทำลายป่า ป่าไม้ ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะในเวลากลางวันที่ต้นไม้ปรุงอาหารโดยใช้ คาร์บอนไดออกไซด์ ในการปรุงอาหารและคายออกซิเจนออกมา การบุกรุกทำลายป่าทำให้แหล่งที่ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ลดน้อยลง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=