1.มกราคม 2552.indd

5 ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒๑๒ เดือนมกราคม ๒๕๕๒ ศาลาปฏิบัติธรรม ซึ่งต่อมาทางวัดได้รับเงินบริจาคประมาณ ๓๕ ล้านบาท ในการนี้ผู้บรรยายได้มีโอกาสออกแบบกุฏิหมู่ โดยมุ่งให้ เป็นกุฏิหมู่ต้นแบบต่อไป โดยออกแบบเป็นเรือนเครื่องสับ หันหน้าไป ทางอุโบสถ ในการออกแบบได้ปรับแก้ ไขข้อด้อยบางอย่างของเรือน เครื่องสับให้สามารถใช้งานได้นานและทนทาน เช่น เสาและคานไม้ที่ รองรับน้ำหนักเรือนซึ่งทรุดง่าย ได้ปรับเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ใน หมู่กุฏิประกอบด้วยหอพระ กุฏิซึ่งเป็นหลังคาแฝด หอฉัน หอสวด มนต์ ซึ่งมีตราฉลองสิริราชสมบัติ ๖๐ ปี ที่หน้าจั่วของหอ ห้องสรง ส่วนนอกชานนั้นปลูกไม้ยืนต้น ซึ่งควรเป็นไม้โตช้า ผลัดใบน้อย กิ่ง เหนียว ใต้ถุนเรือนเปิดโล่ง ปูกระเบื้องดินเผาแทนพื้นไม้ บริเวณ ใต้ถุนนี้เป็นที่สำหรับอบรมสามเณร ซึ่งรองรับได้ประมาณ ๑๐๐ รูป ศาสตราจารย์ ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ ภาคีสมาชิก ประเภท วิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาดุริยางคกรรม บรรยายเรื่อง “บทเพลง บรรเลง∂วาย” ความโดยสรุปว่า ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าพี่นาง เธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ นักประพันธ์เพลง คลาสสิก ๗ คน ได้แต่งเพลงเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสนี้ทำให้ เกิดบทเพลงคลาสสิกชั้นยอดขึ้นใหม่ถึง ๙ เพลง บรรเลงใน คอนเสิร์ตวาระต่าง ๆ บทเพลงเหล่านี้ล้วนเป็นบทเพลงคลาสสิกที่ได้ มาตรฐานสากล มีความประณีตไพเราะทั้งสิ้น ได้แก่ ๑. ถวายปฏิญญา ประพันธ์โดย ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร ผู้สน„จ∫ทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้า‰ด้ทีË À้องสมุดราช∫ัณ±ิตยส∂าน ตามพระราช∫ัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. ÚıÙ ๒. L’Adieu ประพันธ์โดย ณัฐ ยนตรรักษ์ ๓. Eternity ประพันธ์โดย ทฤษฎี ณ พัทลุง ๔. Lament ประพันธ์โดย อภิสิทธิ์ วงศ์โชติ ๕. Pie Jesu ประพันธ์โดย สมเถา สุจริตกุล ๖. Tears of Dust ประพันธ์โดย ณรงค์ ปรางเจริญ ๗. In Memoriam ประพันธ์โดย ศรสันติ นิวาศานนท์ ๘. แสงดาว ประพันธ์โดย ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร ๙. Elegy for a Great Person ประพันธ์โดย ณรงค์ ปรางเจริญ แม้ว่าบทเพลงคลาสสิกทั้ง ๙ บทนี้ ได้ประพันธ์ขึ้นในโอกาส พิเศษ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบทเพลงชั้นเยี่ยมเหล่านี้จะสูญไป พร้อมกับวาระ แต่จะเป็นผลงานอมตะที่คงอยู่ตลอดไปเช่นเดียวกับ บทเพลงคลาสสิกของโลกหลายเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเป็นการเฉพาะใน โอกาสพิเศษต่าง ๆ การเผยแพร่บทเพลงจะดำเนินต่อไปในโอกาสที่ เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงคอนเสิร์ตบนเวทีหรือการเผยแพร่ การบันทึกภาพและเสียงทางสื่อต่าง ๆ ทั้งนี้ในการเผยแพร่บทเพลง คลาสสิกจะอ้างถึงโอกาสพิเศษที่บทเพลงนั้นประพันธ์ขึ้นเสมอ บทเพลงคลาสสิกทั้ง ๙ บทนี้ก็เช่นกันจะยังคงมีชีวิตในวงการดนตรี ตลอดไป เฉกเช่นพระกรุณาธิคุณและพระเกียรติยศของสมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช- นครินทร์ ซึ่งจะสถิตอยู่ในใจของปวงประชาชั่วนิรันดร์ ภาวะโลกร้อน : มุมมองทางภูมิศาสตร์ ชั้นบรรยากาศของโลก มีความหนาแน่นอยู่ใกล้ผิวโลก ซึ่งชั้นบรรยากาศนี้เรียกว่าโทรโพสเฟียร์ มีความหนาแน่นบริเวณ ศูนย์สูตรมีความหนาประมาณ ๑๖ กิโลเมตร และความหนาของชั้นบรรยากาศลดลงเรื่อย ๆ ไปยังขั้วโลกจะมีความหนาประมาณ ๘ กิโลเมตร สำหรับประเทศไทยทางใต้สุดมีความหนาของชั้นบรรยากาศประมาณ ๑๕.๕ กิโลเมตร ส่วนเหนือสุดมีความหนาประมาณ ๑๔.๕ กิโลเมตรในบรรยากาศชั้นนี้มีความชื้น หมอก เมฆ หากเป็นเขตแห้งแล้งทะเลทรายไอน้ำในอากาศจะมีน้อย บรรยากาศชั้น ล่างนี้หากเป็นบรรยากาศแห้งและบริสุทธิ์จะประกอบด้วยไนโตรเจนซึ่งเป็นก๊าซที่ไม่ค่อยรวมตัวทางเคมีกับสารอื่น ๆ ทางเคมี ไนโตรเจนนี้ส่วนใหญ่มีประมาณร้อยละ ๗๘.๐๘๔ อีกประมาณร้อยละ ๒๐.๙๔๖ เป็นออกซิเจน ก๊าซนี้มีความไวที่ไปรวมกับสารอื่น ๆ เป็นออกไซด์นำให้สิ่งของต่าง ๆ เป็นออกไซด์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซตัวหนึ่งที่คอยดูดซับความร้อน และปิดกั้นความ ร้อนจากพื้นโลก นอกจากนี้มีก๊าซอื่น ๆ เช่น นิออน ฮีเลียม คริปทอน ซีนอน ไฮโดรเจน ไนตรัสออกไซด์และมีเทน โดยทั่วไปมีจำนวน น้อยแต่ภายหลังเข้าใจกันว่าก๊าซมีเทน (CH 4 ) เป็นก๊าซที่สร้างความร้อนแก่โลก รังสีจากดวงอาทิตย์ ประกอบด้วยรังสีแถบคลื่นสั้นมากความยาวคลื่นอยู่ในขั้นไมโครเมตร ( µm ) หรือไมครอน ซึ่งมีความยาว ช่วงคลื่นเศษหนึ่งส่วนพันล้านเมตรดังที่เรียกว่าไมครอนที่กล่าวมาแล้วรังสีแสงสว่างที่เราได้รับจากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นรังสีแสงสว่าง อยู่ระหว่าง ๐.๒›๐.๔ ไมโครเมตรหรือไมครอน ส่วนรังสีความร้อนอยู่ระหว่าง ๐.๗-๓.๐ ไมครอน ซึ่งเป็นส่วนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ คิดเป็นร้อยละ ๔๑ ส่วนรังสีอื่น ๆ มีรังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา และรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งเป็นรังสีแสงสว่าง นอกจากนั้นยังมีรังสี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=