1.มกราคม 2552.indd
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน การวินิจฉัยคือเจาะเลือดหลังอดอาหารแล้ว ๑๒ ชั่วโมงเพื่อหา TC, HDL, TG และ LDL-C ค่าปรกติ TC=<200 mg/dl, TG=150 mg/dl, LDL-C=130 mg/dl, HDL-C=>40 mg/dl สาเหตุของ ภาวะนี้มี ๓ ประการ ๑. สาเหตุจากความผิดปรกติทางกรรมพันธุ์ ๒. สาเหตุจากโรค เช่น เบาหวาน, โรคไต ฯลฯ หรือจากยาบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยากั้นบีต้า ๓. สาเหตุจากอาหารที่มีโคเลสเตอร อล และ/หรือ กรดไขมันอิ่มตัวมาก เช่น มันสัตว์ ไข่แดง อาหาร คาร์โบไฮเดรตมาก และการดื่มสุรา การบำบัดทำได้โดย ๑. รักษา สาเหตุดังกล่าว ๒. การรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ๓. การใช้ยา ลดไขมันในเลือดควบคู่กับการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ๔. การ ออกกำลังกายที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ • วันพุธที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ นพ.ยง ภู่วรวรรณ ภาคีสมาชิก ประเ ภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “โจรกรรมทางวิชาการ” สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ศาสตราจารย์ ดร. วิจินตน์ ภาณุพงศ์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชา นิรุกติศาสตร์ บรรยายเรื่อง “คำศัพท์สำคัญในวัฒนธรรมพระไตร ปิฎก” ความโดยสรุปว่า พระไตรปิฎกถือเป็นคลังอารยธรรมทาง ปัญญา เป็นเรื่องของสถาบันพระพุทธศาสนา สถาบันซึ่งเกิดขึ้นได้ก็ เพราะการสังคายนา และการสังคายนาก็เกิดขึ้นได้ด้วยอาศัยเสียง เป็นหลัก กล่าวคือ ต้องมีการสังธยายพระไตรปิฎกภาษาปาฬิ ซึ่ง สืบทอดมาถึงปัจจุบันได้เพราะเป็นวัฒนธรรมทางปัญญาที่สืบทอดมา จนถึงปัจจุบัน ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานไม่นาน พระพุทธเจ้าตรัส ไว้ว่า จะไม่ทรงตั้งพระภิกษุองค์ใดเป็นศาสดาแทนพระองค์เมื่อ พระองค์ปรินิพพานไป แต่ได้มอบหมายให้ชาวพุทธได้รู้กันว่าพระ ธัมมวินัยนั้นคือพระศาสดาแทนพระองค์ โดยนัยแล้วพระพุทธพจน์ จึงเป็นทั้งพระพุทธศาสนาคือคำตรัสสอนของพระพุทธเจ้า และที่ ธำรงสถิตพระศาสดาโดยทรงไว้และประกาศพระธัมมวินัยแทน พระพุทธองค์ ทั้งนี้ ได้ยกตัวอย่างคำศัพท์สำคัญในวัฒนธรรมพระ ไตรปิฎกคือ สังวัธยาย หมายถึงท่องบ่น อ่านดัง ๆ เพื่อให้จำได้ สวดให้ท่องจำได้ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงริเริ่มให้มีวิธีการอ่านสังวัธยาย ในประเทศ ด้วยทรงอุปถัมภ์การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล อักษร โรมัน ชุดสมบูรณ์ชุดแรก และพระราชทานไปในนานาประเทศ สังคายนา หมายถึงวิธีรักษาพระพุทธพจน์ ซึ่งก็คือการรวบรวมคำ สั่งสอนที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วจัดเป็นหมวดหมู่เพื่อให้กำหนด จดจำได้ง่าย และซักซ้อมทบทวนกันจนลงตัว ซึ่งการสังคายนาครั้ง แรกจัดขึ้นภายหลังจากพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน ณ ถ้ำสัตตบรรณ คูหา ข้างเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ในพระราชูปถัมภ์ของพระ เจ้าอชาตศัตรู ปาฬิ หมายถึงเขียนตามรูปศัพท์ที่ใช้ในพระไตรปิฎก ปาฬิ ปาฬิกำเนิดในอินเดียโบราณและได้ทรงจำสืบทอดมาอย่าง บริสุทธิ์บริบูรณ์ ด้วยระบบสังคายนาในพระพุทธศาสนาเถรวาท ปัจจุบันปาฬิได้มีการรวบรวมเป็นหมวดหมู่เรียกว่า “พระไตรปิฎก” ทั้งนี้ ปาฬิเป็นภาษาที่ไม่มีอักษรเฉพาะของตน แต่ใช้อักษรของชาติ ต่าง ๆ เขียนเสียงปาฬิได้ ซึ่งลักษณะพิเศษนี้จึงทำให้พระไตรปิฎกปา ฬินี้แพร่หลายไปในนานาประเทศ นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ภาคีสมาชิก ประเภทวิชา วิจิตรศิลป์ สาขาวิชาประติมากรรม บรรยายเรื่อง “ประติมากรรม : สิทธิเดช แสงหิรัญ” ความโดยสรุปว่า อาจารย์สิทธิเดช แสงหิรัญ เริ่มศึกษาทางด้านศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่าง และมาศึกษาต่อทาง ด้านประติมากรรมที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม อาจารย์เป็นกำลัง สำคัญของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ทั้งในด้านผู้ช่วยงานทางด้าน ประติมากรรม และในด้านการเรียนการสอนโดยเป็นผู้สอนวิชากาย วิภาค ผลงานประติมากรรมของอาจารย์สิทธิเดช แสงหิรัญ เริ่มต้น จากรูปแบบสัจนิยมโดยอาศัยร่างกายมนุษย์เป็นรูปทรงในการ แสดงออก นอกจากจะเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ในการ ปฏิบัติงานทางด้านอนุสาวรีย์แล้ว อาจารย์สิทธิเดช ยังสร้างสรรค์ ประติมากรรมในลักษณะส่วนบุคคลในระยะแรกได้ความบันดาลใจ จากศิลปวัฒนธรรมตามแนวประเพณีนิยม หรือจากวรรณคดีไทยใน ช่วงที่อยู่ภายใต้นโยบายของรัฐใน แนวทาง “สร้างชาติใหม่” ก็ได้มี ส่วนร่วมในนโยบายนี้เช่นกัน แต่หลังจากที่นโยบายนี้สลายลงก็ได้ สร้างสรรค์ประติมากรรมในแนวสากลที่ยังมีกลิ่นอายของแนว ประเพณีเคลือบอยู่อย่างเบาบาง และในช่วงสุดท้ายของชีวิต อาจารย์สิทธิเดชได้เปลี่ยนรูปแบบจากแนวสัจนิยมมาสู่รูปทรงที่ เรียบง่าย มีลักษณะเป็นรูปทรงสมัยใหม่ ใช้ความบันดาลใจจาก ความรู้สึกเฉพาะตน และปล่อยวางความเป็นประเพณีดั้งเดิมโดยสิ้น เชิง ผลงานที่สร้างชื่อเสียง เช่น ครุฑอุ้มกากี ลีลาแห่งความเพียร นักมวยไทย วงกลม กำสรวล โทมนัส แม้ว่าอาจารย์สิทธิเดช แสง หิรัญ ได้สร้างสรรค์งานประติมากรรมไว้ ให้มนุษยชาติได้ชื่นชม จนถึงวัยเพียง ๔๑ ปี ขณะเดียวกันก็ได้ทิ้งคำถามของชีวิตให้ ได้ ขบคิด เพื่อเป็นสะพานก้าวไปสู่อริยมรรค เพื่อเป็นชีวิตที่อยู่เหนือ ชีวิต • วันอังคารที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ราชบัณฑิต ประเภทวิชาสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชา สถาปัตยกรรม บรรยายเรื่อง “การออกแบบกุฏิหมู่ วัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี” ความโดยสรุปว่า วัดพยัคฆาราม หรือวัดเสือ อยู่ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี รู้จักกันดี เรื่องเป็นวัดต้นแบบที่สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน โดยสกัด น้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำนำไปผสมกับน้ำมันดีเซล ผลิตเป็นน้ำมันไบโอ ดีเซล พลังงานทดแทนตามมาตรฐานสากล เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เกิดเพลิงไหม้ที่วัดนี้ทำให้กุฏิไม้สักทรงไทย ๒๐ ห้อง หอสวด มนต์ ๑ หลัง พิพิธภัณฑ์รวบรวมวัตถุโบราณอันเก่าแก่ล้ำค่า และ รถยนต์ ๒ คัน ถูกไฟไหม้หมด นอกจากนี้ยังมีพระภิกษุถูกไฟคลอก มรณภาพไป ๒ รูป และพระภิกษุบางรูปถูกไฟลวกมีบาดแผลไฟไหม้ หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้แล้ว พระภิกษุและเณรที่จำพรรษาอยู่ ประมาณ ๕๐ รูป ต้องไปจำวัดที่โรงเรียนปริยัติธรรม และที่เรือน รับรองสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรม พระครูโสภณสิทธิการ (หลวงพ่อ วสันต์ อนุปตฺโต) เจ้าอาวาส มีโครงการเร่งด่วนที่จะต้องสร้างกุฏิขึ้น มาทดแทนในสวนป่าข้างวัด ส่วนบริเวณที่เพลิงไหม้จะสร้างเป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=