1.มกราคม 2552.indd
3 ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒๑๒ เดือนมกราคม ๒๕๕๒ ปัญหาไปบ้าง เห็นได้จากการจัดทำร่างพระราชบัญญัติบริหารการ ขนส่งและร่างพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยขึ้นใหม่ แต่ ปัญหาและอุปสรรคนี้ยังขึ้นอยู่กับการยอมรับของผู้กำหนดนโยบาย ของประเทศคือรัฐบาลว่าจะเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ ไขเช่นนี้หรือ ไม่ และขึ้นอยู่กับการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งจะได้รับผลกระทบจาก การออกกฎหมายและการแก้ ไขกฎหมายทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว ประการสำคัญที่สุดอยู่ที่การยอมรับของสหภาพแรงงานการรถไฟ แห่งประเทศไทยว่าจะยอมรับร่างกฎหมายทั้ง ๒ ฉบับหรือไม่ เพราะ อาจถูกมองว่ารัฐบาลกำลังพยายามแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และหากไม่ สร้างความเข้าใจที่ดีก็อาจนำไปสู่ความขัดแย้งกับสหภาพแรงงาน การรถไฟได้ ส่วนปัญหาประการแรกนั้นยังไม่ได้รับการเอาใจใส่จากผู้รับผิด ชอบ กล่าวคือ ยังมิได้มีแนวความคิดและการดำเนินการเพื่อแก้ ไข บทบัญญัติเรื่องความรับผิดของการรถไฟแห่งประเทศไทย และใน เรื่องหน้าที่และความรับผิดของผู้โดยสารหรือผู้ส่งสินค้า สมควรที่จะ ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในเรื่องสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของ ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของรถไฟ โดยอาจจะนำ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยการขนส่งทางรถไฟระหว่างประเทศ ค.ศ. ๑๙๘๐ มาเป็นแนวทางในการร่างก็คงจะทำให้ปัญหาในส่วนของ กฎหมายรถไฟได้รับการแก้ ไขและพัฒนาไปอย่างเหมาะสม เป็น ธรรม และเป็นสากลมากยิ่งขึ้น สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ พิเชียรสุนทร ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ บรรยายเรื่อง “การศึกษาฤทธิ์ลดไข้แก้ปวด และความเป็นพิษของยาเบญจโลกวิเชียรในสัตว์ทดลอง” ความโดย สรุปว่า ยาเบญจโลกวิเชียรเป็นยาตำรับแก้ ไข้แผนโบราณขนานหนึ่ง ที่นิยมใช้กันในหมู่แพทย์แผนไทย จัดเป็นยาแก้ ไข้ที่ใช้ ได้ผลดีขนาน หนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการแห่งชาติด้านยาได้คัดเลือกไว้ในบัญชียาหลัก แห่งชาติโดยประกาศเป็น “บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. ๒๕๔๙” สำหรับแก้ ไข้ ยาขนานนี้ประกอบด้วยเครื่องยาสมุนไพร ๕ ชนิด ได้แก่ รากย่านาง รากคนทา รากมะเดื่ออุทุมพร รากไม้เท้ายายม่อม และรากชิงชี่ ในปริมาณเท่ากันโดยน้ำหนัก ยาเบญจโลกวิเชียรนี้ ได้ นำมาศึกษาฤทธิ์ลดไข้ของยาเบญจโลกวิเชียรในสัตว์ทดลอง โดย ทดลองกับหนูขาวเพศผู้ วัดอุณหภูมิกายทางทวารหนักจนกระทั่งได้ ค่าคงที่ ถืออุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิกายชั่วโมงที่ ๐ (T๐) ซึ่งเป็นเวลา เริ่มต้นของการทดลอง จากนั้นฉีด Baker’s yeast เข้าช่องท้องใน ขนาด ๐.๑๓๕ มก./กก. (ใน NSS) จากนั้นแบ่งเป็น ๕ กลุ่ม ๆ ละ ๕- ๘ ตัว ดังนี้ กลุ่มที่ ๑ ป้อนน้ำเกลือ กลุ่มที่ ๒ ยาแอสไพริน กลุ่มที่ ๓ ยาเบญจโลกวิเชียรขนาด ๑๐๐ มก./กก. กลุ่มที่ ๔ ยาเบญจโลก วิเชียรขนาด ๒๐๐ มก./กก. และกลุ่มที่ ๕ ยาเบญจโลกวิเชียรขนาด ๔๐๐ มก./กก. วัดอุณหภูมิกายต่อไปทุก ๑ ชั่วโมง จนกระทั่งถึง ชั่วโมงที่ ๘ หลังให้ยาเบญจโลกวิเชียร จากนั้นเปรียบเทียบอุณหภูมิ กาย ณ ชั่วโมงต่าง ๆ กับอุณหภูมิกายที่เริ่มต้น T0 เพื่อดูฤทธิ์ในการ ลดไข้ จากนั้นศึกษาฤทธิ์ลดไข้ของเครื่องยาสมุนไพรแต่ละชนิดใน ขนาดที่ประกอบเป็นขนาดของยาเบญจโลกวิเชียรที่ลดไข้ ได้อย่าง ชัดเจน เพื่อเปรียบเทียบฤทธิ์ของเครื่องยาแต่ละชนิด ผลการศึกษา พบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับน้ำเกลือร่วมกับ Baker’s yeast (กลุ่มควบคุม) มีระดับอุณหภูมิกายสูงตลอดการทดลอง ส่วนหนูที่ได้รับยาตำรับ เบญจโลกวิเชียรขนาด ๑๐๐, ๒๐๐, และ ๔๐๐ มก./กก. ร่วมกับ Baker’s yeadt มีอุณหภูมิกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อ เทียบกลุ่มควบคุม โดยเฉพาะยาเบญจโลกวิเชียรขนาด ๒๐๐ มก./ กก. สามารถลดอุณหภูมิกายของหนูขาวได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ ได้รับยาเบญจโลกวิเชียรในขนาดอื่น ๆ การศึกษาฤทธิ์ลดไข้ของ เครื่องยาสมุนไพรแต่ละชนิดในขนาด ๔๐ มก./กก. (ขนาดของสมุน ไพรแต่ละชนิดที่ประกอบเป็นยาเบญจโลกวิเชียร ๒๐๐ มก./กก.) พบ ว่า รากย่านาง รากมะเดื่อ อุทุมพร รากคนทา และรากชิงชี่ สามารถลดอุณหภูมิกายของหนูขาวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่ง สามารถลดอุณหภูมิกายของหนูขาวได้ตั้งแต่ชั่วโมงที่ ๑ หลังจากได้ รับยา และยังแสดงผลต่อเนื่องไปอีก ๗ ชั่วโมง ส่วนรากไม้เท้ายาย ม่อมนั้นลดอณุหภูมิกายของหนูขาวได้ในชั่วโมงที่ ๗ และ ๘ หลัง จากได้รับยา หรือชั่วโมงที่ ๕ และ ๖ หลังการฉีดยีสต์ จึงได้ ข้อสรุป ว่า ยาเบญจโลกวิเชียรสามารถลดอุณหภูมิกายของหนูขาวที่เหนี่ยว นำให้เกิดไข้โดย Baker’s yeast ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ เครื่องยาทั้ง ๕ ตัวในตำรับยาเบญจโลกวิเชียร (ยกเว้นรากไม้เท้า ยายม่อม) มีผลลดอุณหภูมิกายของหนูขาวตั้งแต่ชั่วโมงที่ ๑ หลังได้ รับยา ศาสตราจารย์ ดร.พญ.นิภา จรูญเวสม์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ บรรยาย เรื่อง “ภาวะความผิดปรกติของไขมันในเลือด (Dyslipidemia)” ความโดยสรุปว่า Dyslipidemia เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันใน เลือดต่างไปจากเกณฑ์ที่เหมาะสมซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอด เลือดแดงแข็งทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดแดงส่วนปลาย ไขมันมนุษย์มี ๓ ชนิด คือ คอเลสเตอรอล (TC) ไตรกลีเซอไรด์ (TG) และฟอสไฟไลปิด ไขมันทั้ง ๓ ชนิด รวมตัวเป็นอนุภาค ไขมันเหล่านี้จะมีโปรตีนห่อหุ้ม เพื่อให้ ละลายในเลือดได้ โปรตีน คือ อะโปโปรตีน ไลโปโปรตีน ซึ่งมี ๕ ชนิด คือ ๑. ไคโลไมครอน ได้จากเยื่อบุลำไส้เล็กจะนำ TG ไปสลาย โดยไลโปโปรตีนไลเปสให้เป็นพลังงาน ๒. ไลโปโปรตีนความหนา แน่นต่ำมาก (VLDL) ได้จากตับนำ TG จากตับไปสลายให้พลังงาน VLDL-TG ที่เหลือจะเป็น ๓. ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นปาน กลาง IDL ซึ่ง TG ถูกสลายโดยเอนไซม์จากตับเป็น ๔. ไลโปโปรตีน ความหนาแน่นต่ำ IDL จะมีคอเลสเตอรอลสูง จะส่งคอเลสเตอรอล ไปยังเยื่อบุเซลล์และสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ LDL-C ที่เหลือจะถูก เก็บโดยตัวรับ (receptor) ที่ตับ ถ้าตับมีตัวรับน้อย LDL-C ที่ไม่ถูก เก็บจะถูกเก็บโดยตัวรับในผนังหลอดเลือดแดงทำให้หลอดเลือดแดง แข็ง ๕. ไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL-C) ได้จากตับและ ลำไส้เล็กจะรับคอเลสเตอรอลอิสระไปเปลี่ยนเป็น คอเลสเตอ- รอลเอสเธอร์ และแลกเปลี่ยนโลโปโปรตีนของ TG แล้วนำ TG HDL ไปสลายโดยเอนไซม์จากตับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=