1.มกราคม 2552.indd

2 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สำนักธรรมศาสตร์·ละการเม◊ อง • วันพุธที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ศาสตราจารย์ ดร.ปิยนา∂ ∫ุนนาค ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ไทย บรรยายเรื่อง “คนร∂ไøไทย กองทัพญีË ปุÉ น กับ เส้นทางร∂ไøในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา” ความโดยสรุปว่า การศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนรถไฟไทย กองทัพญี่ปุ่นกับเส้น ทางรถไฟในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา อยู่บนพื้นฐานของแนว ความคิดและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพื่อเป็นที่มั่นในการ เดินทางเข้าไปโจมตีพม่าและมลายูต่อไป โดยผ่านทางภาคตะวันตก เฉียงเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย ดังนั้น กองทัพญี่ปุ่นจำเป็น ต้องสร้างเส้นทางรถไฟเพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์และต้องเข้าไป เกี่ยวข้องกับคนรถไฟไทยซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการ รถไฟของประเทศ โดยมีการสร้างเส้นทางรถไฟทั้ง ๒ สายเป็นสื่อ สัมพันธ์ การใช้เส้นทางรถไฟที่มีอยู่แล้วของกองทัพญี่ปุ่น และการ สร้างทางรถไฟสายใหม่ในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพาชี้ให้เห็น บทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างคนรถไฟไทยกับกองทัพญี่ปุ่น ซึ่ง ต่างก็มุ่งรักษาผลประโยชน์ของชาติตนเป็นสำคัญ เหตุการณ์ใน พ.ศ. ๒๔๘๒ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดขึ้น ประเทศไทยตรงกับแผ่นดินรัชกาลที่ ๘ รัฐบาลภายใต้การนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศนโยบายเป็นกลาง ในวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ สงครามมหาเอเชียบูรพาเกิดขึ้น อังกฤษและ สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกทาง ชายฝั่งทะเลภาคใต้และบางปู มีการต่อสู้กัน แต่ในที่สุดไทยก็ต้อง ยอมตามแผนการของญี่ปุ่น คือ (๑) ยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศ ไทยไปยังพม่าและมลายู (๒) ลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรกับญี่ปุ่น (๓) ประกาศสงครามต่ออังกฤษและสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ สาเหตุที่ไทยต้องทำสัญญากับญี่ปุ่นเพื่อป้องกันการโจมตีของ ญี่ปุ่น รักษาไว้ซึ่งเอกราชของไทย และถูกกดดันจากกองทัพของ ญี่ปุ่น ในเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ถึงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ รัฐบาลไทยประกาศผ่านสื่อมวลชนทุกชนิด ย้ำให้ทุกคนรักความ เป็นกลางอย่างเคร่งครัด และจะต้องต่อสู้กับผู้รุกรานเพื่อรักษา เอกราชและอธิปไตยไว้จนสุดชีวิต โดยมีพระราชบัญญัติกำหนด หน้าที่ของคนไทย พ.ศ. ๒๔๘๔ ขณะเริ่มสงครามมหาเอเชียบูรพา รัฐบาลและกองทัพญี่ปุ่นได้ ขอให้รัฐบาลไทยร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและขอใช้ดินแดนเป็น ที่มั่นโจมตีอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส ยิ่งกว่านั้นยังขอให้ รัฐบาลไทยร่วมมือในการสร้างเส้นทางรถไฟสายตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านแม่น้ำแควไปสู่ดินแดนพม่า ซึ่งในเวลาต่อมาเรียกกันว่า “เส้น ทางรถไฟสายมรณะ” และเส้นทางรถไฟสายใต้เพื่อไปยังหัวเมือง มลายูของอังกฤษทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางด้านยุทธศาสตร์และ เศรษฐกิจของญี่ปุ่น นับจากจุดเริ่มต้นของการให้ความร่วมมือดัง กล่าวจนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ คนรถไฟไทยต้องเผชิญ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการสร้างทางรถไฟ ได้แก่ ภัยจาก ธรรมชาติ โรคภัยไข้เจ็บ การถูกโจมตีด้วยการทิ้งระเบิดจากฝ่าย สัมพันธมิตรในช่วงปลายของสงคราม อุบัติเหตุบนเส้นทางรถไฟ และปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันให้อยู่รอดปลอดภัยอย่างมี ศักดิ์ศรีจากการคุกคามและหมิ่นศักดิ์ศรีของทหารญี่ปุ่นบางคน ตลอดจนการต่อสู้ระหว่างจิตสำนึกทางด้านมนุษยธรรมที่มีต่อเชลย ศึกชาวต่างประเทศผู้ถูกเกณฑ์ให้มาสร้างทางรถไฟ กับการที่ต้อง แสดงท่าทีคล้อยตามพันธมิตรญี่ปุ่นเพื่อความอยู่รอดของตนเองและ ประเทศชาติ แต่ ในที่สุดเขาเหล่านั้นก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อ ประเทศชาติจนสำเร็จลุล่วงลงพร้อม ๆ กับการสิ้นสุดสงครามที่ กองทัพญี่ปุ่นเป็นฝ่ายปราชัย การปฏิบัติหน้าที่ของคนรถไฟไทยใน ยามสงครามอาจไม่เห็นเด่นชัดเหมือนพวกทหาร แต่การกระทำของ พวกเขาก็ถือได้ว่าเป็นการประกอบวีรกรรมต่อประเทศชาติเช่น เดียวกัน • วันพุธที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.‰ผทชิต เอก จริยกร ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ บรรยายเรื่อง “การพัฒนากฎหมายเพืË อส่งเสริมกิจการร∂ไøไทย” ความโดยสรุปว่า ประเทศไทยได้เริ่มมีกิจการรถไฟตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในเวลาต่อมาได้มี การก่อสร้างขยายเส้นทางเรื่อยมา โดยหน้าที่ในการดูแลกิจการ รถไฟเป็นหน้าที่ของกรมรถไฟหลวง ปัจจุบันคือการรถไฟแห่ง ประเทศไทย แม้ว่ากิจการรถไฟของประเทศไทยจะดำเนินกิจการต่อ เนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็ตาม แต่กลับปรากฏว่ากิจการ รถไฟมีปัญหาและอุปสรรคอย่างมาก การรถไฟแห่งประเทศไทย ประสบปัญหาการขาดทุนสะสมต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี กิจการรถไฟของไทยอยู่ภายใต้กฎหมายสำคัญ ๓ ฉบับ คือ (๑) พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ. ๒๔๖๔ (๒) พระ ราชบัญญัติการเดินรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ และ (๓) ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๕๘ ซึ่งกำหนดให้กิจการรถไฟเป็น กิจการที่ต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตรี ปัญหา ทางกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากิจการรถไฟของประเทศมี ๒ ประการ คือ ๑. กฎหมายรถไฟเป็นกฎหมายเก่าที่มีบทบัญญัติไม่ส่งเสริมและ สนับสนุนให้เอกชนมาใช้บริการ ๒. กฎหมายรถไฟไม่ส่งเสริมสนับสนุนให้เอกชนมาลงทุนใน เรื่องที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและการประกอบกิจการเดินรถ เมื่อพิจารณาปัญหาทางกฎหมายทั้ง ๒ ประการดังกล่าว จะพบ ว่า ปัญหากฎหมายในประการที่ ๒ นั้น เริ่มมีความพยายามแก้ ไข สรุปการ∫รรยายเสนอผลงานค้นคว้า·ละวิจัย ของราช∫ัณ±ิต·ละภาคีสมาชิกต่อทีË ประชุมสำนัก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=