198 November'50 Rajbundit.indd

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน การ„ช้คำ ç·ตกต่างé, çเช่นé, ç‰ด้·ก่é นักวรรณศิลป์ของราชบัณฑิตยสถานได้รับคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาไทยเสมอว่า คำว่า “แตกต่าง” ต้องใช้ว่า “แตกต่างกับ” ในเมื่อ ต้องการเปรียบเทียบกัน เช่น ก แตกต่างกับ ข จะไม่ใช้ “แตกต่างจาก” มีคำถามตามมาว่า “แตกต่างจาก” ใช้ ไม่ได้หรือ ตอบได้ว่า ราชบัณฑิตยสถานไม่ใช้ แต่หากจำเป็นจริง ๆ ให้ใช้ว่า “แตกต่างไปจาก” ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาไทยให้คำอธิบายว่า “แตกต่างไปจาก” เป็นการใช้คำไทยแทนคำต่างประเทศคือ “different from” คำว่า “เช่น” ในกรณีใช้ยกตัวอย่างประกอบคำอธิบาย ท่านยังได้แนะนำว่า เมื่อมีคำว่า “เช่น” แล้วไม่ต้องมีคำว่า “เป็นต้น” ต่อท้าย และต้อง ไม่มีคำว่า “และ” อยู่หน้าตัวอย่างสุดท้าย และตัวอย่างที่ยกมาประกอบคำอธิบายนั้นไม่ต้องระบุให้ครบทั้งหมด ดังตัวอย่าง “นักปรั™≠าเม∏ีคนสำคั≠ Ê เ™่น เซนต์ออกัสติน ปาสกาล นิตเซ” จะไม่เป็น “นักปรั™≠าเม∏ีคนสำคั≠ Ê เ™่น เซนต์ออกัสติน ปาสกาล และนิตเซ เปì นต้น” ส่วนหลักการใช้คำว่า “ได้แก่” คือ ต้องระบุให้ครบถ้วน มิให้ขาดหายอย่างใดอย่างหนึ่งไป ตัวอย่าง “อริยสัจ Ù ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโร∏ มรรค” ในตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่าหลังคำ “ได้แก่” ระบุจำนวนของอริยสัจว่ามี ๔ ประการครบถ้วน ทั้งนี้หากระบุตัวอย่างไม่ครบถ้วนให้ใช้ว่า “มี...เป็นต้น” ก็ได้ เช่น ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ มี ทาน ศีล บริจาค เป็นต้น นายสำรวย นักการเร’ ยน นักวรรณศิลปá ˜ว กองวิทยาศาสตร์ çลมé พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ได้ ให้ความหมายคำว่า “ลม” (wind) ว่า เป็นอากาศที่เคลื่อนที่ไปบนผิวโลกตามแนวนอนในทุกทิศทางและด้วย ความเร็วต่าง ๆ กัน ทิศทางของลมทราบได้จากทิศทางลมพัดเข้าหาตัวตามที่กำหนดไว้บนเข็มทิศ ปรากฏการณ์ “ลม” ที่เกิดขึ้นทั่วไป เช่น ลมบก (land breeze) คือ ลมที่เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของน้ำทะเลอุ่นกว่าอุณหภูมิของพื้นดินที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือผิวน้ำจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงไหล เข้าไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากฝัò งไปสู่ทะเล ตามปรกติลมนี้จะพัดออกจากฝัò งในเวลากลางคืน ตรงกันข้ามกับลมทะเล (sea breeze) คือ ลมที่ พัดจากทะเลสู่แผ่นดินในช่วงตอนบ่าย เกิดจากความแตกต่างระหว่างความร้อนกับความเย็นของแผ่นดินและน้ำ อากาศร้อนในแผ่นดินที่เกิดขึ้นในช่วง กลางวันส่งผลให้เกิดอากาศร้อนในพื้นที่ที่มีความกดอากาศต่ำ และอากาศเย็นจากทะเลถูกพัดพาเข้าสู่ฝัò งเป็นระยะทางสั้นแทนที่อากาศร้อน จึงทำให้เกิด ลมทะเลพัดเอื่อย ๆ ในเขตที่อากาศเปลี่ยนแปลงตามปรกติ โดยเฉพาะในเขตใกล้เส้นศูนย์สูตร ลมเช่นนี้หากเกิดขึ้นในบริเวณทะเลสาบขนาดใหญ่ เรียก ว่า ลมทะเลสาบ (lake breeze) ปรากฏการณ์ “ลม” ที่สำคัญที่มักเกิดขึ้นในประเทศไทยและในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกชนิดหนึ่ง คือ ลมค้า (trade wind) เป็นลมประจำ ถิ่น พัดในบรรยากาศชั้นล่าง จากระบบความกดอากาศสูงในเขตกึ่งโซนร้อนไปสู่บริเวณความกดอากาศต่ำที่เส้นศูนย์สูตร โดยมีทิศทางจากตะวันออก เฉียงเหนือในซีกโลกเหนือและจากตะวันออกเฉียงใต้ในซีกโลกใต้ นอกจากนี้ ปรากฏการณ์ “ลม” ที่มีความรุนแรงของความเร็วลมมากที่พบในประเทศ ไทย คือ “ลมมรสุม” มรสุม (monsoon) เป็นลมประจำฤดู คำนี้มาจากภาษาอาหรับ คือ mausim แปลว่า ฤดูกาล ในครั้งแรกใช้เรียกลมที่เกิดขึ้นในย่าน ทะเลอาหรับ ซึ่งพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเวลา ๖ เดือน และจากทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นเวลา ๖ เดือน ต่อมาได้นำคำนี้ ไปใช้เรียกลมที่พัด เปลี่ยนทิศทางตามฤดูกาลในรอบปï เช่นนี้ อันเนื่องมาจากความแตกต่างของหย่อมความกดอากาศเหนือภาคพื้นทวีปกับมหาสมุทรที่อยู่ข้างเคียง ตัวอย่าง ที่เด่นชัด ได้แก่ บริเวณอนุทวีปอินเดีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูร้อน ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดพาความชุ่มชื้นจากมหาสมุทร เข้าสู่แผ่นดิน ทำให้เกิดฝนตกโดยทั่วไป ส่วนในฤดูหนาว ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากพื้นแผ่นดินอีกครั้งจึงจะนำฝนมาตกบ้าง ทั้งนี้ จากเหตุการณ์อุบัติเหตุสายการบินวันทูโกไถลออกนอกรันเวย์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งมีผู้ตั้งสมมติฐานสาเหตุของ อุบัติเหตุดังกล่าวว่าเกิดจากสภาพภูมิอากาศ และปรากฏการณ์ “ลมเฉือน” (wind shear) เป็นเหตุสำคัญ ปรากฏการณ์ “ลมเฉือน” เป็นการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงของทิศทางลม และ/หรืออัตราเร็วลมในระยะทางสั้น ๆ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง หากเกิดขึ้นในเส้นทางบิน โดยเฉพาะในระยะการร่อนขึ้นลงของเครื่องบินจะเกิดพร้อมกับการปัò นปÉ วนของอากาศที่รุนแรง มักพบในบริเวณพายุฝนฟÑ า คะนองหรือพายุโซนร้อน เป็นต้น นางสาวÕิสริยา เลาÀต’ รานนท์ นักวรรณศิลปá ı กอง∏รรมศาสตร์และการเมือง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=