198 November'50 Rajbundit.indd

เสมือนยังเปï ยกอยู่ และด้วยภาพเขียนสีน้ำเป็นภาพที่เขียนลงบน กระดาษ จึงมีขนาดไม่ใหญ่นัก ทำให้นำไปปฏิบัติได้ง่ายและเร็วไวกว่า จิตรกรรมเทคนิคอื่น ๆ อีกทั้งฝñ กให้ผู้ปฏิบัติตัดสินใจได้เร็วและฉับพลัน เป็นคุณค่าการแสดงออกซึ่งความมีชีวิตและพลัง ขั้นตอนการปฏิบัติก็ เริ่มจากการร่างรูปด้วยดินสอบนกระดาษก่อน ถ้าชำนาญมากขึ้นก็ใช้ สีน้ำได้เลย ส่วนใหญ่มักฝñ กเขียนภาพหุ่นนิ่งในห้องเรียนก่อนแล้ว จึงออกไปเขียนภาพทิวทัศน์นอกสถานที่ แนวทางในการพัฒนาการ วาดภาพสีน้ำเริ่มจากเขียนตามตาเห็น เพื่อฝñ กหาฝï มือก่อน ต่อมาก็ เขียนด้วยความรู้สึก โดยการสร้างสรรค์งานอิสระนอกบทเรียนใน สถานศึกษา ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติได้ประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประสบการณ์ที่เกิดจากความบังเอิญมาพัฒนาเทคนิคการวาดภาพสีน้ำ ในครั้งต่อ ๆ ไป เช่น กรณีที่ฝนตกลงบนกระดาษที่จะใช้เขียนภาพ พบว่าเกิดเป็นดอกดวง พื้นผิวงาม การใช้เวลาจำกัดในการสร้างสรรค์ งาน การเก็บรักษาก็ควรเก็บในที่ที่มีอุณหภูมิเหมาะสม ไม่เก็บในที่อับชื้น แต่ก็ไม่ควรให้ต้องแสงแดด อย่างไรก็ดี ควรสร้างสรรค์ภาพให้เกิด คุณค่าทางวิจิตรศิลป์ คือ แสดงออกซึ่งอารมณ์ (emotion) มีความงาม ชีวิต พลัง มีลักษณะเป็นแบบตัวเองให้มากที่สุด (originality) ถูกต้อง ตามทฤษÆีศิลปะ (Theory of Arts) มีความสัมพันธ์เป็นเอกภาพ (unity) มีความเรียบง่าย แต่ดูดี ลึกซึ้ง (simplicity) การเขียนภาพ ควบคุมการแสดงออกได้ง่าย สร้างสรรค์ได้เร็วทันใจ สามารถค้นคว้า ทดลอง หาทางพัฒนาคุณค่าได้ เหล่านี้ล้วนเป็นเสน่ห์ของการเขียน ภาพสีน้ำ ทั้งนี้ ได้เสนอผลงานภาพสีน้ำประกอบการบรรยายด้วย เช่น ภาพ “ในบ้าน” รางวัลที่ ๑ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ๒๔˘๘ ภาพ “ฤดูฝน” รางวัลที่ ๒ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ๒๔˘๘ ฯลฯ และ นายมติ ตัÈ งพานิช ภาคีสมาชิก ประเภทสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชา สถาปัตยกรรม บรรยายเรื่อง “ส∂าปí ตยกรรมสนามบินสุวรรณ¿ูมิ” ความว่า สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ของ ประเทศไทย มีชื่อเป็นทางการว่า “ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพ- สุวรรณภูมิ” (Suvarnabhumi Airport หรือ New Bangkok International Airport) ใช้ใช้เวลาตั้งแต่เริ่มวางแผนจนถึงเปิดอย่าง เป็นทางการเป็นเวลา ๔๖ ปï ตลอดระยะเวลาการดำเนินการก่อสร้าง ก็เกิดข่าวเกี่ยวกับการก่อสร้างสนามบินในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านบวกและลบ อาทิ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินที่สำคัญ แห่งหนึ่งของโลก มีสนามบินที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย แต่ก็จะมีข่าวเรื่องความขัดแย้งในนโยบายรัฐ ผลประโยชน์ การทุจริต คอร์รัปชัน และการบริหารจัดการเกี่ยวกับสนามบิน ทำให้สนามบิน สุวรรณภูมิเป็นที่กล่าวขวัญกันทั่วโลก ประกอบกับเป็นสนามบินที่ทัน สมัยและมีความสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียและในวงการบินพาณิชย์ โลก จึงได้รับความสนใจจากทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะประเทศ ที่พยายามแย่งชิงความเป็นศูนย์กลางการบินจากประเทศไทย และ ด้วยความสำคัญและขนาดของสนามบินสุวรรณภูมินี้เองที่ความสนใจ ส่วนหนึ่งจึงอยู่ที่สถาปัตยกรรมของสนามบิน ซึ่งสรุปได้ดังนี้ สถาปัตยกรรมผังเมือง สนามบินสุวรรณภูมิมีพื้นที่ประมาณ ๒ หมื่นไร่ สภาพเดิมเป็นที่ราบลุ่ม และเป็นที่รองรับน้ำหลากจากทุ่งรังสิตและ คูคลองต่าง ๆ บริเวณโดยรอบและใกล้เคียงสนามบินเกิดการพัฒนา อย่างรวดเร็ว ด้วยการขยายตัวของกรุงเทพมหานครไปทางด้านตะวัน ออกและไม่มีมาตรการในการควบคุมการใช้ที่ดิน การควบคุมอาคาร และมาตรการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดผลกระทบทั้งต่อ วิถีชีวิต สภาพสิ่งแวดล้อม สภาพที่ดิน การวางผังเมือง และการใช้ ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลกับพื้นที่จังหวัด และภูมิภาคใกล้เคียง ส∂าปí ตยกรรมหลัก ประกอบด้วยส่วนที่ เกี่ยวข้องกับสนามบินโดยตรง เช่น ลู่ทางวิ่งขึ้นลง อาคารเทียบเครื่อง บิน Concourse อาคารที่พักผู้โดยสาร Terminal หอคอยบังคับการ บิน ส่วนบริการสนับสนุนกิจการสนามบิน เช่น คลังสินค้า โรงซ่อม เครื่องบิน สำหรับอาคารเทียบเครื่องบิน Concourse และอาคาร ที่พักผู้โดยสาร Terminal นั้นมีรูปแบบสมัยนิยมที่มีความโปร่งเบาและ โปร่งใส เน้นความสวยงามขององค์ประกอบโครงสร้างอาคารที่ใหญ่ โตอลังการ เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความทันสมัย ความเป็นสากลและมี ประโยชน์ใช้สอยที่ซับซ้อนที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ทั้งนี้มีการ วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับประเด็นทางสถาปัตยกรรมของอาคารดังกล่าว เช่น เอกลักษณ์และความเหมาะสมของรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ความจำเป็นในการใช้โครงสร้างโครงถักขนาดใหญ่ ความเหมาะสมใน การใช้วัสดุ อุปกรณ์และการก่อสร้างที่ต้องใช้เทคโนโลยีในระดับสูง ราคาแพง ฯลฯ ส∂าปí ตยกรรม¿ายใน มีจุดประสงค์ที่จะสะท้อน เอกลักษณ์ความเป็นไทย แต่ด้วยข้อจำกัดของความเป็นสากลของ สนามบินทำให้ ไม่สามารถแสดงออกถึงเอกลักษณ์ ไทยได้มากนัก สถาปัตยกรรมภายในจึงเป็นส่วนที่เพิ่มความเป็นไทยให้สนามบิน สุวรรณภูมิ เช่น การปูพื้นหินขัดเป็นลายไทย การประดับภาพ จิตรกรรมที่มีชื่อเสียงของไทยตามผนังทางเดิน และโถงรอรับกระเปÜ า การติดตั้งศาลาไทยตามแยกทางเดิน ประติมากรรมนารายณ์บรรทม สินธุ์เป็นจุดเด่นกลางอาคารท่าเทียบเครื่องบิน ทั้งนี้มีการวิพากษ์ วิจารณ์เกี่ยวกับการตกแต่งร้านค้า ปÑ ายโ¶ษณาที่ข่มความสำคัญของ ปÑ ายต่าง ๆ ภูมิสถาปัตยกรรม การตกแต่งบริเวณด้านข้างของอาคาร ที่พักผู้ โดยสารและพื้นที่ระหว่างอาคาร เน้นให้ดูสวยงามและ เรียบร้อยมากกว่าจะเข้าไปเดินเล่นหรือพักผ่อน มีการตกแต่งด้วยไม้ ประเภทหมาก ไม้ยืนต้นในกระถางขนาดใหญ่ พื้นทางเดินและลาน เป็นลายคลื่นน้ำ เป็นต้น ภูมิทัศน์โดยรอบเป็นทุ่งข้าวที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับคูคลองที่ไหลผ่านทำให้เกิดแสงและเงาสะท้อนของแสง โดยเฉพาะมุมมองจากเบื้องบนเวลาเครื่องบินขึ้นลง อย่างไรก็ดีมีการ พูดถึงภูมิทัศน์ที่งดงามจากมุมมองทางอากาศว่าจะอนุรักษ์ให้คงอยู่ได้ นานเพียงใด รวมไปถึงภูมิทัศน์โดยรอบสนามบินที่ทำให้เกิดมลภาวะ ทางสายตา อย่างไรก็ดี มีการพูดถึงสถาปัตยกรรมสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้งดีและไม่ดีซึ่งขึ้นอยู่กับความชอบและประสบการณ์ รวมทั้งข้อมูลที่ แต่ละคนได้รับ แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่ความเข้าใจที่ถูกต้องและการยอมรับ หรือปฏิเสธอย่างมีเหตุผลเพื่อจะเกิดประโยชน์ในการบริหารจัดการ การบริการ การปรับปรุง และการบำรุงรักษา ที่ทำให้สนามบินสุวรรณภูมิ ใช้งานได้อย่างปลอดภัย สะดวกสบาย คุ้มค่า และมีผลกระทบต่อสังคม ส่วนรวมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด. ั้่่ีี่ี่้ี่ าิ ด็ นื้ นิ ว้ เั ด้ า์ 5 ªï ∑’Ë Ò˜ ©บับ∑’Ë Ò˘¯ ‡ด◊ Õน惻จิ°ายน Úıı ผู้สน„จบทความดังกล่าวขÕÕนุ≠าตค้นคว้า‰ด้ท’Ë À้Õงสมุดราชบัณ±ิตยส∂าน ตามพระราชบั≠≠ัติข้Õมูลข่าวสาร พ.ศ. ÚıÙ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=