198 November'50 Rajbundit.indd
คือ ชั้น base course หนา ๒๓๐ มม. มีสภาพแตกหลุดร่อนออกจาก กัน โดยเฉพาะชั้นล่างสุดพบว่า มีน้ำแทรกอยู่จากการทดสอบในห้อง ปฏิบัติการของกรมทางหลวง เพื่อหาสัดส่วนผสมของ Asphaltic Concrete พบว่า สัดส่วนผสมของยางแอสฟัลต์และสัดส่วนคละ (gradation) ของวัสดุหิน อยู่ในเกณฑ์ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ จากการไถเปิดชั้นแอลฟัลต์ออก เพื่อตรวจสอบชั้น CTB พบว่า ผิวหน้า อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ไม่มีความเสียหายใด ๆ เว้นแต่มีน้ำซึมขึ้นมาตรง รอยตะเข็บ (joint) รอยตะเข็บนี้ เกิดจากการออกแบบ เพื่อให้ CTB ขยายตัวได้ โดยการก่อสร้าง CTB ได้ทำเป็นชั้น ๆ รวม ๔ ชั้น ๆ ละ ๑๘๐ มม. เมื่อปรากฏว่ามีการซึมของน้ำในรอยตะเข็บนี้ วิศวกรจึง สันนิษฐานได้ว่า น้ำที่ซึมซับมาจนทำให้ชั้นแอสฟัลต์เกิดการเสียหาย มาจากน้ำที่ขังอยู่บริเวณชั้นผ้าห่มทราย (Sand Blanket) ซึ่งเปรียบ เหมือนฟองน้ำที่ชุ่มน้ำอยู่ เมื่อมีน้ำหนักของล้อเครื่องบินกดด้านบน ความดันนี้ ก็น่าจะพอเพียงที่จะบีบให้น้ำในฟองน้ำไหลซึมได้ตามรอย ตะเข็บ เมื่อเจาะชั้น CTB เป็นหลุม ปรากฏว่าที่สันนิษฐานเป็นจริง มี น้ำทะลักออกมาจากผ้าห่มทรายด้วยความสูงของน้ำประมาณ ๒๐ ซม. สูบออกไปไม่หมด น้ำที่ซึมขึ้นมา จะทำให้ชั้น base course ของ แอสฟัลต์ต้องแช่อยู่ ในน้ำเป็นระยะเวลาหนึ่งก็จะเสื่อมสภาพใน ลักษณะที่ภาษาทางวิศวกรรมเรียกว่า Asphalt Striping ได้ ส่วน บริเวณที่ไม่ได้รับน้ำหนักล้อเครื่องบินมาก ก็พบว่าความเสียหายยังไม่เกิด จากการขุดเจาะหลุมขนาดใหญ่ บริเวณนอกพื้นทาง เพื่อพิสูจน์ดูว่า มี น้ำใต้ดินซึมจากด้านนอกเข้าไปในบริเวณพื้นทาง หรือว่า น้ำที่กักอยู่ ในชั้นผ้าห่มทรายสามารถซึมออกมาด้านนอกหรือไม่ ก็พบว่าหลุมที่ขุด แห้งสนิทไม่มีวี่แววของน้ำแต่อย่างไร วิศวกรจึงสรุปว่า น้ำที่ขังในชั้น ผ้าห่มทรายนั้นต้องเป็นน้ำเหนือดิน (Surface Water) ที่ถูกกักขังไว้ใน ชั้นผ้าห่มทรายและไม่มีทางระบายออกได้เท่านั้น ในเอกสารประกอบ แบบของผู้ออกแบบพื้นทาง และผู้ออกแบบระบบระบายน้ำ ได้ตั้ง สมมติฐานว่า จะมีการควบคุมไม่ให้น้ำเหนือดินซึมลงไปกักอยู่ในชั้น ผ้าห่มทราย คือ เป็นระบบแห้ง (Dry Condition) จึงไม่มีการออกแบบ Subdrain ในชั้นผ้าห่มทรายนี้ ไว้ โดยมีการกำหนดในคู่มือว่า เมื่อใช้ งานจะต้องควบคุมให้ระดับน้ำเหนือดินทั้งหมดระบายไปสู่ด้านนอก โดยกำหนดให้ปั๊มน้ำจากร่องระบายน้ำออกสู่คลองด้านนอก ถ้าร่องน้ำ มีระดับสูงกว่าที่กำหนด คำถามที่วิศวกรกำลังหาคำตอบคือ น้ำที่ กักขังในชั้นผ้าห่มทรายจำนวนมากมาจากไหน และถูกกักสะสมมาตั้ง แต่เมื่อไร และ ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ บรรยายเรื่อง “การจำลองพลศาสตร์และการควบคุมของระบบกลูโคส-อินซูลิน” วันพุธที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะ เศวต ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาการ ประมง บรรยายเรื่อง “ความก้าวหน้างานวิจัยระบบหมุนเวียนน้ำแบบ ปิดเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” ความว่า การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็น กิจกรรมที่มีการใช้น้ำปริมาณมาก ในอดีตที่มีการเพาะเลี้ยงฯ ไม่หนา แน่นมากนัก ระบบที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงฯ จะเป็นระบบเปิด กล่าวคือ มีการเปลี่ยนน้ำตลอดการเพาะเลี้ยงฯ น้ำที่ถูกใช้ ไปแล้วก็จะมีคุณภาพ ที่เปลี่ยนไป อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคสัตว์น้ำ เมื่อการเพาะเลี้ยงฯ มีความหนาแน่นมากขึ้น ความเสี่ยงในการเกิดโรค ก็จะ สูงขึ้น ดังได้เคยเป็นปัญหา เช่น โรคหัวเหลือง และโรคจุดขาวในกุ้ง กุลาดำ นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำ ในบริเวณที่มีการทิ้งน้ำจากฟาร์มเพาะเลี้ยงฯ ด้วยเหตุดังกล่าว การ เพาะเลี้ยงฯ ระบบปิดจึงถูกพัฒนาขึ้นมาในระยะหลัง เพื่อแก้ปัญหา ดังกล่าวข้างต้น และทำให้สามารถประหยัดการใช้น้ำและลดปัญหา มลพิษทางน้ำ ระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดมีทั้งที่ใช้เทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงขั้นสูง เทคโนโลยีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการตกตะกอน การกรอง โดยใช้หอยที่เป็นสัตว์กรองกินเพื่อลดปริมาณแพลงก์ตอน เทคโนโลยี ขั้นสูงประกอบด้วยระบบ nitrification และ denitrification มีทั้ง ระบบกึ่งปิดและระบบปิดสมบูรณ์ สามารถใช้ในการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบ กลางแจ้ง (out door) และในโรงเรือน (in door) รวมทั้งอาจยัง สามารถใช้ในการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำได้อีกด้วย สำนักศิลปกรรม วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ภาคีสมาชิก ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาตันติภาษา บรรยายเรื่อง “แนวความคิดอินเดียโบราณที่สืบทอดในศิลปะและ วรรณกรรมไทย” ความว่า การถ่ายเททางวัฒนธรรมจากชนกลุ่มหนึ่ง ไปยังอีกกลุ่มหนึ่งย่อมเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่มีระยะเวลายาวนาน โดยธรรมชาติแล้วผู้รับวัฒนธรรมจะพยายามปรับความคิดทาง วัฒนธรรมเดิมให้เข้ากับความคิดและความเป็นอยู่ของตน บางครั้ง เมื่อขาดการติดต่อเป็นเวลานาน ผู้รับวัฒนธรรมอาจจะปรับความคิด เดิมไปจนกระทั่งไม่มีความเป็นดั้งเดิมเหลืออยู่ และบางครั้งเนื่องด้วย สิ่งแวดล้อมบางประการทำให้เจ้าของวัฒนธรรมเดิมอาจจะรักษา วัฒนธรรมของตนเองไว้ ไม่ได้ วัฒนธรรมบางอย่างจึงได้รับการรักษา ไว้โดยผู้รับวัฒนธรรม ดังแนวความคิดอินเดียโบราณบางประการที่ สืบทอดในศิลปะและวรรณกรรมไทย เช่น กินนร หรือ กึปุรุษ ซึ่งใน ประเพณีอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเพณีทางวรรณกรรมสันสกฤต กินนรเป็นบุคคลกึ่งเทพกึ่งมนุษย์ มีหัวเป็นม้ามีตัวเป็นมนุษย์ เป็น นักร้อง และนักดนตรีของเทวดา อยู่ในกลุ่มของคนธรรพ์ซึ่งเป็น บริวารของท้าวกุเวร หากเป็นเพศหญิงเรียกว่า “กินรี” คอสตากล่าวว่า ในสมัยหลังมีการทำรูปกินนรให้มีส่วนล่างเป็นนก ซึ่งในประเทศไทย พบในจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัด เพชรบุรี พระอุโบสถวัดบางยี่ขัน กรุงเทพมหานคร เป็นต้น แต่พบใน ลักษณะที่หัวเป็นนกแต่ตัวเป็นมนุษย์ แนวคิดเรื่องเส้นสามเส้นที่คอซึ่ง แสดงลักษณะแทนหอยสังข์ กล่าวคือลักษณะบุรุษที่มีคอเหมือนสังข์ จะเป็นพระราชา ซึ่งในประเทศไทยแนวคิดนี้สืบทอดมาตั้งแต่สมัย สุโขทัยจนถึงสมัยปัจจุบัน ดังปรากฏในประติมากรรมและจิตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประติมากรรมในสมัยสุโขทัยที่มักปรากฏลักษณะ คอที่เหมือนสังข์อยู่เสมอ ธรรมเนียมการแสดงละครสันสกฤตที่จะไม่ จบด้วยฉากการตาย ด้วยถือว่าการแสดงละครคือการให้ความบันเทิง แก่ผู้ชม การแสดงโขนของไทยก็รับธรรมเนียมดังกล่าวมาเช่นกัน โดย ไม่มีการแสดงตอนทศกัณฐ์ล้มซึ่งถือเป็นตอนจบของเรื่อง แนวคิดที่ ปรากฏในวรรณกรรมอย่างโลกนิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวคิดที่ได้รับ จากอินเดียก็การมีการเลือนและเปลี่ยนไป วันอังคารที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ นายสวัสดิ์ ตันติสุข ราชบัณฑิต ประเภทวิจิตรศิลป์ สาขาจิตรกรรม บรรยายเรื่อง “เสน่ห์สีน้ำ” ความ ว่า การวาดรูประบายสีด้วยสีน้ำเป็นเทคนิคหนึ่งของงานจิตรกรรม ซึ่ง มีคุณลักษณะพิเศษที่เทคนิคอื่นจะทำได้ยาก ซึ่งถือเป็นเสน่ห์ของ เทคนิคนี้ นั่นคือเป็นเทคนิคที่ทำให้ภาพดูชุ่มฉ่ำ โปร่งใส แห้งแล้วยังดู ๏ ๏ จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ๏
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=