1390_6218

สมจริง ในระยะแรก ๆ เช่นนี้ งานแต่งบางส่วนมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างเรื่องจริงกับ เรื่องแต่ง ปัญหาขัดข้องในระยะแรก ๆ มีขนาดสั้นเพียงไม่กี่บรรทัด ระยะหลัง ๆ ขนาดจะยาวขึ้นถึง ๒ หน้า การผูกเรื่องจะมีองค์ประกอบของบันเทิงคดีสมัยใหม่ คือ โครงเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา เวลาสถานที่ แก่นเรื่อง ผู้เล่าเรื่อง ปัญหา ขัดข้องส่วนใหญ่จะเขียนในรูปของเรื่องเล่า แต่บางปัญหาเขียนเป็นจดหมาย บาง ปัญหาเขียนเป็นบันทึก ในตอนแรก ๆ บทสนทนากับบทบรรยายจะรวมอยู่ในย่อ หน้าเดียวกัน แต่ในระยะหลัง ๆ บางปัญหาจะแยกบทสนทนาออกมา พร้อมใส่ เครื่องหมายอัญประกาศ แต่มีลักษณะการเขียนเหมือนบทละคร คือ มีชื่อผู้พูด ต่อ ด้วยคำพูดในอัญประกาศ การเขียนปัญหาขัดข้องลงในหนังสือวชิรญาณในช่วง พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๔๓๒ จึงเป็นการฝึกทักษะการเขียนเรื่องเล่าบันเทิงคดีแบบใหม่ ซึ่งมี รูปแบบ เนื้อหา แนวคิด และกลวิธีหลากหลาย ปัญหาขัดข้องเหล่านี้น่าจะมีส่วนใน การพัฒนาการเขียนเรื่องสั้นของไทยในระยะแรก ๆ ด้วย ลักษณะของปัญหา ขัดข้องบางปัญหาจะคล้ายกับนิทานปริศนาในนิทานเวตาลอยู่บ้าง แต่เนื้อหาของ ปัญหาขัดข้องส่วนใหญ่สร้างขึ้นจากเรื่องราวในบริบทสังคมไทย ปัญหาขัดข้องเป็น กิจกรรมทางปัญญา ทำให้ผู้เขียนและผู้อ่านได้ฝึกความคิด เพราะผู้เขียนต้องผูก เรื่องให้รัดกุม ผู้อ่านซึ่งอาสาเป็นผู้แก้ปัญหาก็ต้องคิดหาทางออกที่เหมาะสมและมี อารมณ์ขัน แม้ว่าปัญหาขัดข้องจะไม่ได้เป็นเรื่องสนุกสนานทุกปัญหาดังพระราช- ประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ส่วนใหญ่ก็ให้ทั้งความ คิดและความบันเทิง กล่าวได้ว่า ปัญหาขัดข้องจากหนังสือวชิรญาณเป็น วรรณกรรมรูปแบบใหม่ที่มีคุณค่าในเชิงสังคมและมีคุณค่าในเชิงวรรณศิลป์ นอกจากคุณค่าด้านวรรณคดีแล้ว ปัญหาขัดข้องยังมีคุณค่าด้านภาษา เพราะมีการ ใช้คำที่ผิดความหมายไปจากปัจจุบัน มีคำศัพท์ และคำสแลงที่ไม่ได้ใช้ในภาษา ปัจจุบันอยู่เป็นจำนวนมากจนน่าศึกษาได้อีกหัวข้อหนึ่งด้วย และ รองศาสตราจารย์ ดร.ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ ภาคีสมาชิก ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาต่าง ประเทศ บรรยายเรื่อง “ ‘น้ำ’ ในสำนวนจีน” คำว่า “น้ำ” ในสำนวนจีน มีทั้งที่ยัง คงความหมายโดยตรงของคำว่า “น้ำ” และที่มีความหมายโดยนัยหรือความหมาย แฝง ที่ชักนำความคิดให้เกี่ยวโยงไปถึงสิ่งอื่น เช่น เกี่ยวโยงไปถึงความรู้สึก ความ เคยคุ้น และบุคคล ความหมายโดยนัยของคำว่า “น้ำ” ในสำนวนจีนมี ๒ ลักษณะ คือ ความหมายโดยนัยบางส่วน หมายถึง ความหมายซึ่งยังเกี่ยวข้องกับความ หมายโดยตรงของคำ “น้ำ” และความหมายโดยนัยจริง ๆ หมายถึง ความหมายซึ่ง มิได้เกี่ยวข้องกับความหมายโดยตรงของคำ “น้ำ” สำนวนจีนซึ่งมีคำว่า “น้ำ” ที่นำ มากล่าวในบทความนี้ได้คัดเลือกจากสำนวนจีนในพจนานุกรมภาษาจีนจำนวน ๖๐ สำนวน แต่ละสำนวนจะให้เสียงอ่านตามสัทอักษรระบบพินยิน (pinyin) กำกับใต้ ตัวอักษรจีน แล้วทับศัพท์ภาษาจีนโดยใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีนซึ่ง ราชบัณฑิตยสถานกำหนดไว้ จากนั้นจึงให้คำแปลภาษาไทยและความหมายของ สำนวนนั้น ๆ ได้แก่ เปย์ ฉุ่ย เชอ ซิน น้ำหนึ่งแก้ว ฟืนหนึ่งคันรถ (ที่ลุกไหม้อยู่) ความหมาย : การจะนำน้ำหนึ่งแก้วไปดับรถบรรทุกฟืนที่ลุกไหม้อยู่เป็นการกระทำที่ เปล่าประโยชน์ ช่วยอะไรไม่ได้ เหมือนน้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ ต่า ลั่วฉุยโก่ว ตีสุนัขที่ตก น้ำ ความหมาย : ซ้ำเติมคนเลวที่ตกอับหรือหมดอำนาจ ตี ฉุ่ย ปู๋ โล่ว น้ำแม้หยด เดียวก็ไม่รั่ว ความหมาย : มิดชิด ไม่มีช่องโหว่ มักใช้กับการพูดหรือการทำงานว่า รัดกุม รอบคอบ ไม่มีช่องโหว่แม้แต่น้อย ฟู่ ฉุ่ย หนาน โชว น้ำที่หกลงกับพื้น ยาก จะตักกลับคืนได้ ความหมาย : ไม่มีทางแก้ตัว เรื่องเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่อาจย้อนไป เปลี่ยนแปลงได้อีก สำนวนนี้มักใช้กับการหย่าร้าง หุน ฉุ่ย มัว ยฺหวี จับปลาเมื่อน้ำ ขุ่น ความหมาย : ฉวยโอกาสกอบโกยผลประโยชน์ในช่วงที่เกิดความสับสนวุ่นวาย จิ่งฉุ่ย ปู๋ ฟ่าน เหอฉุ่ย น้ำในบ่อย่อมไม่ล้ำเข้าไปในน้ำที่อยู่ในแม่น้ำ ความหมาย : ต่างฝ่ายต่างไม่ล้ำเส้นกัน ต่างฝ่ายต่างไม่ไปยุ่งกับเรื่องของอีกฝ่าย ชิงถิง เตี๋ยน ฉุ่ย แมลงปอบินเรี่ยน้ำ ความหมาย : ทำงานอย่างฉาบฉวยหรืออย่างพอให้พ้น ๆ ไป ฉุ่ย เต้า ฉฺวี เฉิง พอน้ำมาถึง ร่องน้ำที่ขุดไว้ก็จะเป็นคลอง ความหมาย : การใด ก็ตามเมื่อเตรียมทุกอย่างจนพร้อมพรั่งแล้ว พอลงมือทำก็ย่อมจะประสบความ สำเร็จ ฉุ่ย ลั่ว ฉือ ชู น้ำลด หินผุด ความหมาย : เรื่องแดงขึ้นหรือความจริงได้ ปรากฏขึ้น เทียบได้กับสำนวนไทยว่า น้ำลดตอผุด ฉุ่ยหมัว กงฟู ฝีมือระดับขัดหรือ ฝนด้วยน้ำ ความหมาย : งานที่ต้องอดทนค่อย ๆ ทำอย่างละเอียดเพื่อให้ออกมา อย่างดีและประณีต ฉุ้น ฉุ่ย ทุย โจว เข็นเรือไปตามน้ำ ความหมาย : การดำเนิน การอะไรก็ตามที่ดำเนินไปตามสถานการณ์ที่เป็นไป ใช้โอกาสและสถานการณ์ใน ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์กับตนเอง ทาง หุนฉุ่ย ลุยไปในน้ำขุ่น ความหมาย : การ ทำเรื่องเลวหรือเรื่องไม่ดีร่วมกับผู้อื่น l วันอังคารที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม ภาคีสมาชิก ประเภทสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม บรรยายเรื่อง “สันนิษฐานรูปแบบ โบราณสถาน : อีกมิติของงานอนุรักษ์” การอนุรักษ์โบราณสถานในปัจจุบันเริ่มเป็น งานอนุรักษ์แบบพัฒนามากขึ้น ด้วยโบราณสถานแต่ละแห่งมีข้อจำกัดเฉพาะในการ อนุรักษ์ที่แตกต่างกัน จึงมีการศึกษาเรื่องการอนุรักษ์โบราณสถานเพื่อพยายาม รักษาหลักฐานที่เหลืออยู่ให้คงสภาพต่อไปให้นานที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ อีก ทั้งยังรวมถึงการสื่อสารข้อมูลเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจแก่ผู้มาเยี่ยมชม และงาน จัดการแวดล้อมที่เอื้อต่อความหมาย สุนทรียภาพและความสำคัญเฉพาะด้านของ แหล่งโบราณสถานนั้น ๆ และผลการวิจัยพบว่ามีอีกมิติของการเรียนรู้โดยไม่ลด คุณค่าทั้งด้านกายภาพ ทั้งจิตวิญญาณของซากโบราณสถาน ด้วยการจัดทำ รูป แบบสันนิษฐานของโบราณสถานนั้น ๆ พร้อมทั้งจัดทำคำชี้แจงที่มาของประเด็น สันนิษฐานไว้ด้วย เพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่และทดลองจัดทำเป็นแผ่นป้ายเล็ก ๆ ติดตั้ง ประจำโบราณสถานร้างที่เป็นต้นแบบศึกษา ด้วยเชื่อว่าจะช่วยขยายจินตนาการ ของผู้มาเยี่ยมชม เติมความสนใจ เปิดทั้งประเด็นคิด ประเด็นแย้ง หรือ คิดเสริม ได้ทุกระดับความสนใจ อย่างไรก็ดี การทดลองจัดทำป้ายรูปแบบสันนิษฐานแสดง ควบคู่กับโบราณสถานต้นแบบนี้ ย่อมต้องคิดเผื่อด้วยว่าแทนที่จะเป็นการเปิด ประเด็น กลับกลายเป็นการชี้นำ หรือตีกรอบความคิดของผู้มาเยี่ยมชม จึงต้อง ศึกษาวิจัยเพื่อการดำเนินงานอย่างรอบคอบระมัดระวัง และหากต่อไปมีการค้นคว้า ที่น่าเชื่อถือกว่า ทำให้รูปแบบสันนิษฐานต้องเปลี่ยนไป ก็สามารถกระทำได้เสมอ ทั้งควรกระทำด้วย เพราะจำเป็นสำหรับงานพัฒนาการทางวิชาการ และ รอง ศาสตราจารย์ ดร.สมศีล ฌานวังศะ ราชบัณฑิต ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชา ภาษาศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ภาษาศาสตร์คลังข้อความ (corpus linguistics)” ภาษาศาสตร์คลังข้อความ (corpus linguistics) แม้จัดเป็นแขนงหนึ่งของวิชา ภาษาศาสตร์ ก็มิใช่ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ มิใช่การศึกษาภาษาศาสตร์ที่มุ่งภาษาใด ภาษาหนึ่ง หรือมุ่งแง่ใดแง่หนึ่งของภาษาหรือมุ่งความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับ ศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง แต่เป็นวิธีวิเคราะห์ภาษาโดยอาศัย corpus หรือ คลัง ข้อความ ซึ่งประมวลข้อมูลภาษาอันประกอบด้วยคำที่ร้อยเรียงต่อเนื่องกันเป็น ข้อความ ซึ่งเป็นภาษาที่เกิดขึ้นจริงตามปรกติ และรวบรวม เรียบเรียงจัดเก็บไว้ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้น คลังข้อความในแง่ภาษาศาสตร์ ก็คือ “คลังข้อความ หรือฐานข้อมูลภาษาที่จัดเตรียมไว้โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์” โดยแบ่ง ประเภทของคลังข้อความเป็น ๔ ประเภท คือ ๑. specialized corpus หมายถึง คลังข้อความเฉพาะด้าน ๒. general corpus หรือ reference corpus หมายถึง คลังข้อความขนาดใหญ่ ที่มีข้อความหลากหลายชนิด มักใช้เพื่อผลิตสื่ออ้างอิงใน การเรียนภาษา หรือใช้เป็นบรรทัดฐานเพื่อเปรียบเทียบกับคลังข้อความเฉพาะด้าน ๓. comparable corpora หมายถึง คลังข้อความตั้งแต่สองคลังขึ้นไป ที่ประมวล ข้อความต่างภาษา หรือข้อความภาษาเดียวกัน แต่ต่างพรรณกัน โดยบรรจุ ข้อความชนิดเดียวกันและปริมาณเท่ากัน เพื่อใช้ศึกษาเปรียบต่าง ๔. learner corpus หมายถึง คลังข้อความผู้เรียนภาษา โปรแกรมที่ใช้ดึงข้อมูลจากคลัง ข้อความมาใช้ประโยชน์ จำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทที่เรียกว่า concordance program หรือ concordancing program หรือเรียกให้สั้นว่า concordancer โดยการนำข้อมูลจากคลังข้อความไปใช้วิเคราะห์ภาษา อาจมีได้ ๒ แนวทาง คือ ๑. corpus-restricted ผู้วิเคราะห์ภาษาจะยึดถือข้อมูลจากคลัง ข้อความเท่านั้น ๒. corpus-based ผู้วิเคราะห์ภาษาจะอาศัยข้อมูลจากคลัง ข้อความเป็นส่วนประกอบ คลังข้อความใช้ประโยชน์ได้สารพัดจนเกินกว่าที่นักวิจัย ด้านภาษาเพียงคนเดียวจะระบุได้ครบถ้วน แต่เท่าที่ได้ประมวลจากการใช้งานจริง ดังที่ปรากฏอยู่ ก็พอสรุปได้เป็น ๔ ด้านหลัก ดังนี้ การวิเคราะห์ภาษาและทดสอบ สมมุติฐาน การจัดทำพจนานุกรม การแปล และการเรียนการสอนภาษา อย่างไรก็ ดี คลังข้อความยังมีข้อจำกัดบางประการ กล่าวคือ ๑. เป็นเพียงตัวอย่าง (sample) ของระบบภาษา ๒. อาจมีความลำเอียงในการจัดเก็บข้อมูล ๓. การวิเคราะห์ภาษา ตามที่ปรากฏ ถือเป็นการศึกษาในระดับ performance มิใช่ competence ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๙๗ เดือนตุลาคม ๒๕๕๐ 197.indd 7 12/19/07 9:00:15 AM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=