1390_6218

พันธุ์มนุษย์ต่อไป โดยที่เขาได้รับการเตือนล่วงหน้าให้เตรียมตัวรับมือกับสิ่งที่จะเกิด ขึ้น ผู้ที่เตือนอาจเป็นพระเจ้า เทพเจ้า หรือสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ ๓. การสิ้นโลก มี ความเชื่อมาแต่โบราณว่าโลกเสื่อมลงตามลำดับ นาน ๆ ทีก็ต้องมีการชำระล้าง สร้างใหม่กันเสียที ตำนานที่เกี่ยวกับการสิ้นโลกนี้แพร่หลายทั่วไป บางครั้งกลาย เป็นส่วนหนึ่งของศาสนา เช่น ตำนานคริสเตียน ตำนานอินเดีย ตำนานสแกน ดิเนเวีย ๔. สวรรค์ ในความเชื่อของคนหลายชาติคือสถานที่สำหรับให้รางวัลผู้ที่ กระทำความดี ซึ่งอาจจะเป็นสรวงสวรรค์ที่มนุษย์จะได้เสวยสุขร่วมกับพระเจ้า หรือ paradise ซึ่งเปรียบเหมือนสวนสวรรค์บนพื้นดินอย่างเช่นสวนอีเด็นที่อาดัมและอีฟ อาศัยอยู่ก่อนจะละเมิดคำสั่งพระเจ้าเและถูกขับลงมาอยู่ในโลกมนุษย์ ส่วนสวรรค์ ในแง่ที่เป็นวิมานหรือที่อยู่ของเทพเจ้านั้น ได้แก่ โอลิมปุส ซึ่งเป็นวิมานของเทพเจ้า กรีก อัสการ์ด ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทพเจ้าของสแกนดิเนเวีย สวรรค์ชั้นต่าง ๆ ของ เทพเจ้าฮินดู ไกรลาส ซึ่งเป็นวิมานของพระศิวะ หรือ ดาวดึงส์ ซึ่งเป็นวิมานของ พระอินทร์ เป็นต้น ๕. นรก โดยทั่วไปคือสถานที่ลงโทษผู้กระทำผิดบาป สถานที่ ทรมาน เช่น นรกในไตรภูมิกถา ผู้ที่กระทำผิดอย่างใดเมื่อมีชีวิตอยู่ ตายไปแล้วก็ ต้องไปชดใช้กรรมในรูปแบบต่าง ๆ กันตามแต่บาปกรรมที่ทำไว้ คนไทยจะคุ้นเคยดี กับนรกขุมต่างๆ เช่น พวกนักเลงสุรา ตายไปแล้วต้องไปตกกระทะทองแดง พวกที่ ผิดประเวณีจะต้องไปปีนต้นงิ้วหนามแหลม หรือในตำนานคริสเตียนที่วาดภาพว่าน รกเป็นสถานที่ร้อนระอุมีแต่เปลวไฟที่จะเผาผลาญวิญญาณของคนบาปอย่างใน เรื่อง The Infern ของดังเต (Dante) แต่สำหรับบางชาติแล้ว นรกเป็นเพียงที่อยู่ ของคนตายเท่านั้น ไม่ใช่สถานที่ทรมาน ๖. ปรากฏการณ์ธรรมชาติ มี myths ซึ่ง สร้างขึ้นมาเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติในตำนานของหลาย ๆ ชาติที่มีความ คล้ายคลึงกัน เช่น ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ภูเขาไฟระเบิด ๗. ความตาย เป็นผู้ แทรกแซงในตำนานของชาติต่าง ๆ myth ที่เกี่ยวกับความตายมี ๓ รูปแบบ คือ ความตายประเภทที่ ๑ คือความตายที่เกิดจากความผิดพลาดในการสื่อสาร ความ ตายประเภทที่ ๒ เป็นผลของการลงโทษ ส่วนมากมนุษย์ต้องตายเป็นผลสืบเนื่อง มาจากการขัดคำสั่งพระเจ้า เช่น ในกรณีของอาดัมกับอีฟในตำนานคริสเตียน ความตายประเภทที่ ๓ เกิดจากการถกเถียงหรือการตัดสินใจ บางครั้งความตายไม่ เป็นเพียงนามธรรมเท่านั้น แต่ถูกกำหนดให้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งด้วย ๘. สัตว์และ พืช มีบทบาทในตำนานเช่นเดียวกัน ทั้งที่เป็นสัตว์ที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติและสัตว์ สมมุติ หรือสัตว์ประหลาดที่เกิดจากจินตนาการ เช่น มังกร หรือสัตว์ที่เกิดจาก กระบวนการเปลี่ยนแปรรูป หรือ metamorphosis เช่น นางอัปสรเพอริสเตอรา (Peristera) ถูกสาปเป็นนกเขา พืชก็มีทั้งพืชจริง ๆ เช่น ผลไม้แห่งชีวิต และพืชที่ เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปรรูป เช่น นางอัปสรดาฟนี (Daphne) เปลี่ยนรูป เป็นต้นลอเร็ล (Laurel) นิยายปรัมปราหรือตำนานนับว่าเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนาและวรรณคดีในสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีความเจริญ พอที่จะเข้าใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวโดยอาศัยเหตุผลหรือข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ เหตุที่เกิด นิยายปรัมปราหรือตำนานขึ้นมาก็เพราะมนุษย์พยายามหาต้นตอว่าตัวเองเกิดมา จากไหน ทำให้เกิดเรื่องราวที่เกี่ยวกับการสร้างโลก จักรวาล และมนุษย์ขึ้นมา ส่วน ความพยายามที่จะอธิบายหรือหาเหตุผลให้แก่โลกที่เราอาศัยอยู่ทำให้เกิดเรื่องราว ที่พยายามอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หรือ ภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่นเรื่องของฤดูกาลเป็นต้น และความเชื่อที่ว่ามี สถานที่เฉพาะสำหรับให้รางวัลหรือลงโทษการกระทำของมนุษย์ ทำให้เกิดเรื่องราว เกี่ยวกับสวรรค์ นรก ผู้มีหน้าที่ให้รางวัลหรือลงโทษมนุษย์ รวมทั้งเรื่องของชีวิต หลังความตายด้วย l วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๐ รองศาสตราจารย์ ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ภาคีสมาชิก ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยแก้ว บรรยายเรื่อง “ปัญหาขัดข้องจากหนังสือวชิรญาณ” ในช่วงก่อนที่หอพระสมุดวชิรญาณจะนำเข้า รวมเป็นหอพระสมุดสำหรับพระนคร คือ ช่วงเวลา พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๔๘ รวม ๒๑ ปี นอกจากให้บริการในด้านการอ่านและค้นคว้าความรู้ต่าง ๆ แล้ว หอพระสมุดวชิร- ญาณยังออกหนังสือวชิรญาณเพื่อเผยแพร่สรรพวิทยาการอย่างกว้างขวาง หนังสือ วชิรญาณฉบับแรกออกเผยแพร่ในวันเปิดหอพระสมุดฯ ต่อมา มีการออกหนังสือ เพิ่มจนมีหนังสือวชิรญาณ ๓ ลักษณะ คือ หนังสือวชิรญาณวิเศษ ออกสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง หนังสือวชิรญาณปัญหา ออกรายสะดวก แล้วแต่ว่าจะมีปัญหาหรือไม่ และ หนังสือวชิรญาณรายเดือน ในเวลาต่อมามีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการออกหนังสือ วชิรญาณเป็นรายสัปดาห์ ส่วนในช่วง ๑๑ ปีหลังกำหนดการออกหนังสือวชิรญาณ เป็นรายเดือน ในช่วง พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๔๓๒ ได้มีการริเริ่มเขียนวรรณกรรมลักษณะ ใหม่ เรียกว่า “ปัณหาขัดข้อง” ซึ่งในการจัดพิมพ์ต่อ ๆ มาสะกดว่า “ปัญหาขัดข้อง” ปัญหาขัดข้องเป็นเรื่องเล่าขนาดสั้นที่ผูกขึ้นเป็นปัญหาในเชิงขบขัน แล้วทิ้งท้าย ด้วยการตั้งคำถามว่าตัวละครจะแก้ปัญหาอย่างไร หลังจากตีพิมพ์เรื่องที่ผูกเป็น ปัญหาแล้ว จะมีผู้อ่านส่ง “แก้ปัญหาขัดข้อง” มาให้ตีพิมพ์ การแต่งปัญหาขัดข้อง และแก้ปัญหาขัดข้องเป็นความบันเทิงแก่มวลสมาชิกหนังสือวชิรญาณเป็นเวลา เกือบ ๒ ปี มีผู้แต่งปัญหาขัดข้องส่งมาพิมพ์ ๑๐๕ ปัญหา ส่วนการแก้ปัญหาขัดข้อง บางปัญหามีรายเดียว บางปัญหามีหลายราย ปัญหาขัดข้องจากหนังสือวชิรญาณ มีการจัดพิมพ์เป็นเล่มแล้ว ๓ ครั้ง คือ ๑. หอพระสมุดวชิรญาณรวมพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๖๓ เพื่อเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเจ้าน้องยาเธอ กรม หมื่นไชยาศรีสุริโยภาส ๒. หอพระสมุดสำหรับพระนครจัดพิมพ์รวมเล่มครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๔๖๙ ในโอกาสที่พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ รับสั่งให้ กรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนครเลือกหนังสือและจัดพิมพ์เพื่อเป็นของทรง แจกในงานศพเจ้าจอมมารดาเรือน พ.ศ. ๒๔๖๙ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยา- ลงกรณ์ ทรงใช้ต้นฉบับจากฉบับพิมพ์ครั้งแรก ทรงสอบสวนเท่าที่จะทำได้ว่า นามแฝงของผู้แก้ปัญหาเป็นใครแล้วพิมพ์ไว้เพื่อให้ความรู้แก่คนอ่านรุ่นหลัง ๓. กรมศิลปากร จัดพิมพ์ใน พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยใช้ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นหลักและ ปรับปรุงอักขรวิธีบางส่วนให้ใกล้เคียงปัจจุบัน ปัญหาขัดข้องแบ่งได้เป็น ๕ ประเภท คือ ๑. ปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์ มีการผูกปัญหาขัดข้องเกี่ยวกับสถานการณ์มาก ที่สุด เป็นลักษณะที่ตัวละครเผชิญกับสถานการณ์เฉพาะหน้าอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่รู้จะหาทางออกอย่างไร ผลของการเผชิญหน้ากับสถานการณ์น่าอึดอัดเหล่า นี้ มักทำให้เป็นเรื่องเสียหน้า อับอาย เสียคำพูด หรือเสียผู้ใหญ่ การแก้ไขปัญหาจึง เน้นไปที่การผ่อนหนักให้เป็นเบา ปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์ยังแบ่งย่อยออกเป็นอีก หลายลักษณะ ได้แก่ จำผิด เข้าใจผิด หลงผิด ทำผิดโดยประมาทหรือไม่เจตนา ทำ ผิดโดยเจตนา ถูกหลอก อ่านหนังสือไม่ออก เช่น เรื่องพระยาขยันสงครามหลงตัว นายกลิ่น เรื่องนายงั่งรักษาโรคตะพ้านกระเดื่อง ๒. ปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว ปัญหาประเภทนี้มีจำนวนรองลงมาจากปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์ ประเด็นปัญหา ครอบครัวที่พบมากที่สุด คือ การนอกใจ สามีรักผู้หญิงอื่น หรือในทางกลับกัน ภรรยารักผู้ชายอื่น รองลงไปคือ การหึงหวง ผู้หญิงคบชู้ก่อนแต่งงาน ผู้ใหญ่ฝ่าย หญิงและฝ่ายชายไม่ถูกกัน สามีอยากคืนดีภรรยา ภรรยาอยากคืนดีกับสามี และ ลูกชายหญิงทำให้แม่เป็นทุกข์ เช่น เรื่องลูกสาวนายจอนคบชู้ ๓. ปัญหาเกี่ยวกับศีล ธรรม ปัญหาขัดข้องประเภทนี้ ผู้เขียนผูกเป็นเรื่องทำนองว่าตัวละครหลักจะต้อง ตัดสินใจช่วยเหลือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่หากช่วยคนหนึ่ง อีกคนหนึ่งก็ต้องตาย ทั้ง ๒ คนต่างมีคุณสมบัติที่ทำให้ตัวละครต้องชั่งใจหนักในเชิงศีลธรรมและจริยธรรม ปัญหาขัดข้องประเภทนี้มี ๕ เรื่อง ได้แก่ เรื่องมะจ้อยเรือล่ม เรื่องนายล้ำไปเที่ยว หางั่ง เรื่องมองบาจองไปเที่ยวขายพลอย เรื่องแครนต์วิเซียไกฟาจับผู้ร้าย เรื่อง นายไผ่ช่วยคนตกน้ำ ๔. ปัญหาเกี่ยวกับวัฒนธรรม มีปัญหาขัดข้อง ๒ ปัญหาที่มี เนื้อหาแสดงให้เห็นความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ระหว่างวัฒนธรรมแบบไทยเดิมกับ วัฒนธรรมตะวันตกที่กำลังแพร่เข้ามาในสังคมไทยในช่วงเวลานั้น เนื่องจากผู้ที่ไป เรียนต่อในต่างประเทศกลับมาพร้อมกับวิชาความรู้ ทัศนคติ และวัฒนธรรมอย่าง ใหม่ คนไทยในประเทศยังไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมแบบตะวันตก เกิดกลายเป็นความ ขัดแย้ง ความเข้าใจผิด หรือความตลกขบขันแล้วแต่กรณี ปัญหาขัดข้องที่มีเนื้อหา ทำนองนี้มี ๒ เรื่อง คือ เรื่องนายสินกลับมาจากเมืองนอก เรื่องนายจำรัสพูดภาษา อังกฤษ ๕. ปัญหาเกี่ยวกับบุคลิกภาพ ปัญหาขัดข้องประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นพระราช- นิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องชุดคุณ หญิง ค. ซึ่งมีถึง ๙ เรื่อง ทุกเรื่องมีคุณหญิง ค. เป็นตัวละครเอก และมูลเหตุของ ปัญหาขัดข้องเกิดมาจากอุปนิสัย ความคิดความเชื่อ กิริยาท่าทาง ตลอดจนการใช้ คำพูดของคุณหญิง ค. ซึ่งเรียกรวม ๆ กันว่า บุคลิกภาพ เช่น เรื่องคุณหญิง ค. ทำ กระโถนหก เรื่องแม่หนูจำเริญลูกสะใภ้คุณหญิง ค. กลั้นหัวเราะ เรื่องคุณหญิง ค. ไปเล่นทุ่ง ปัญหาขัดข้องลงพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณ ในช่วงของการพัฒนางานแต่ง บันเทิงคดีของไทย ที่เปลี่ยนจากนิทานนิยายตามขนบโบราณมาเป็นเรื่องเล่าแบบ จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน 197.indd 6 12/19/07 9:00:03 AM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=