1390_6218
จิตรกรรมไทย ส่วนมากยังคงแสดงเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและศาสนา พราหมณ์หรือฮินดู ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย แต่ได้พัฒนาการต่อเนื่องกันมา เป็นเวลายาวนานจนมีลักษณะเฉพาะตนชัดเจนขึ้น แต่ก็ยังคงมีลักษณะทางรูป แบบคล้ายของอินเดียอยู่บ้าง ได้แก่ การใช้สีลักษณะแบน ๆ และตัดเส้น โดยไม่ เน้นแสดงแสงเงาและความลึกของภาพ เช่น ภาพพระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ ภาพมหาชนกชาดก หากเปรียบเทียบจิตรกรรมไทยแบบประเพณีที่แสดงเรื่องราว ในพระพุทธศาสนา กับที่แสดงเรื่องราวในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูแล้ว อย่าง หลังจะแสดงถึงอิทธิพลจากคติของอินเดียได้หนักแน่นชัดเจนกว่าอย่างแรก โดย เฉพาะภาพเรื่องรามเกียรติ์ที่ปรากฏบ่อย ๆ ทั้งในรูปแบบจิตรกรรมฝาผนังและ อื่น ๆ ภาพเรื่องรามเกียรติ์ที่มีชื่อเสียงของไทย ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังพระ ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ส่วนจิตรกรรมไทยแบบ สมัยใหม่ ก็มีที่แสดงเรื่องราวตามคติศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูของอินเดียบ้าง เหมือนกัน ที่โดดเด่น ได้แก่ ภาพ “พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ” ฝีพระหัตถ์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเขียนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ภาพ “พระพิฆเนศวร์” ฝีมือ ช่วง มูลพินิจ เขียนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ศิลปินไทยส่วนใหญ่ รับอิทธิพลศิลปวัฒนธรรมอินเดีย โดยการนำเรื่องราวจากวรรณกรรมอินเดียมา แสดงออกในผลงานจิตรกรรม แต่ก็มีศิลปินไทยบางคนได้แรงบันดาลใจในการ สร้างผลงานจิตรกรรมจากการไปใช้ชีวิตในประเทศอินเดีย ศิลปินคนสำคัญ ได้แก่ เฟื้อ หริพิทักษ์ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๕๓๖) และ ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่า สุนทร ราชบัณฑิต ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยกรอง บรรยาย เรื่อง “เมื่อเสียงของตุ๊กแกมีความหมาย” คนไทยกับตุ๊กแกมีความสัมพันธ์กันมา ช้านาน ในสมัยก่อน บ้านเรือนปลูกสร้างด้วยไม้ ตุ๊กแกเป็นสัตว์ประจำบ้านที่เกาะ อยู่ตามฝาผนังบ้าน และถูกนำมาใช้ขู่เด็ก ๆ ที่ไม่นอนหรือดื้อซน ตุ๊กแกมักถูก กล่าวควบคู่ไปกับงูเขียว ดังเช่นในบทกล่อมเด็กหลายบท ในวรรณคดีไทยก็มีการ พรรณนาถึงตุ๊กแกอยู่บ้าง ที่สำคัญก็คือ ในเรื่องรามเกียรติ์ บทละครพระราช นิพนธ์ในพระ-บาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็มีเรื่องราวของ ตุ๊กแก หรือที่เรียกว่าสารภู เรื่องราวของตุ๊กแกตามที่ปรากฏในวรรณคดี กล่าว โดยรวมมักให้ภาพลักษณ์ที่น่ากลัว น่าเกลียด ในบทกล่อมเด็ก ตุ๊กแกก็ถูกใช้ไว้ขู่ เด็ก ๆ ให้เชื่อฟังผู้ใหญ่ มิฉะนั้นจะถูกกินตับ ส่วนภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ มีต้นฉบับตัวเขียนสมุดไทยดำเล่มหนึ่ง ว่าด้วยตำราทายตุ๊กแกร้อง ซึ่งเป็นพระ นิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๒ ในรัชสมัย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มาของตำราทายนี้ ทรงอธิบาย ไว้ว่า ได้มาจากชาวจีนชื่อหกไหล บ้านชื่อสำเพ็ง ได้มาบวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์ประทับอยู่ จีนหกไหลได้มาเล่าให้พระองค์ฟัง พระองค์จึงทรง จดจำและบันทึกไว้ ตำราทายเรื่องนี้เป็นเรื่องแปลกที่ไม่เคยมีใครกล่าวอ้างมาถึง ก่อนเลย โดยกล่าวถึงเสียงที่ไม่ดีของตุ๊กแกว่า หากร้อง ๕ ครั้ง จะได้รับความ เดือดร้อน เสียทรัพย์และทาส หากร้อง ๖ ครั้ง เจ้าเรือนจะต้องพรากจาก เคหสถาน เพราะหนี้สินเป็นเหตุ และทรัพย์สินต้องหมดสิ้น หากตุ๊กแกร้องต่ำกว่า ๕ ครั้ง พึงรู้ว่าภัยพิบัติ ทุกข์ภัย พึงเกิดขึ้นจนแทบจะหมดตัว หากตุ๊กแกร้องมาก กว่า ๗ ครั้งขึ้นไป นับเป็นเรื่องดี หากร้อง ๘ ครั้ง จะได้ทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก และสามารถเก็บเป็นทุนทรัพย์ไว้ได้ หากร้อง ๙ ครั้ง และเสียงไม่แหบแห้ง จะได้ ยศศักดิ์ใหญ่ยิ่ง และมั่งคั่งเหมือนเจ๊สัว l วันอังคารที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ ดร.ณัชชา โสคติยานุรักษ์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาดุริยางคกรรม บรรยายเรื่อง “น้ำใน งานดุริยางคศิลป์” น้ำที่ปรากฏในงานดุริยางคศิลป์ในบริบทต่าง ๆ ทั้งการ พรรณนาถึงสายน้ำโดยตรง การพรรณนาถึงอารมณ์โดยเปรียบเปรยกับสายน้ำ และการใช้น้ำเป็นตัวเสริมความรู้สึกอันลึกซึ้งของมนุษย์ เท่าที่พบในเพลงคลาส- สิก เพลงไลท์คลาสสิก เพลงสากลนิยม เพลงไทยเดิม เพลงไทยสากล มักเป็น เพลงที่น้ำไม่ได้อยู่ในบริบทของเนื้อหาดนตรีโดยตรง แต่ปรากฏในเนื้อร้องหรือ เนื้อเรื่องซึ่งสามารถสื่อสารได้ชัดเจนกว่าเพลงที่ไม่มีเนื้อร้องสามารถสร้างให้เห็น ความงามของน้ำตก น้ำค้าง คลื่นทะเล ฯลฯ แต่เพียงผิวเผิน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ จินตนาการของผู้ฟังมากกว่า ในขณะที่เพลงที่มีเนื้อร้องสามารถสร้างภาพฝันให้ เห็นความมหัศจรรย์ของน้ำทุกรูปแบบได้เป็นอย่างดี เพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง แม้จะมี ความเป็นน้ำอยู่ที่ชื่อเพลงก็จริงอยู่ แต่เนื้อหาทางดนตรีก็ไม่ชัดเจนว่า มีการสร้าง ทำนองเพลง สร้างจังหวะ สร้างเสียงประสาน หรือสร้างสีสันให้สะท้อนลักษณะ และบรรยายกาศของน้ำในช่วงที่เนื้อร้องกำลังบรรยายถึงน้ำแต่อย่างใด ชื่อ บทเพลงบางบทบ่งบอกโอกาสที่แสดงบทเพลงนั้นเป็นครั้งแรก หรือบอก สัญลักษณ์ของประเทศ มากกว่าที่จะสร้างเสียงเอกลักษณ์ให้มีผลในทางดนตรี ความสำคัญของน้ำในงานดุริยางคศิลป์นั้นนิยมใช้วรรณศิลป์เป็นสื่อ มากกว่าที่จะ ให้เนื้อหาดนตรีสื่อในตัวเอง เป็นวิธีการแสดงออกทางศิลปะที่ผสมผสานงาน ศิลปะ ๒ แขนงเข้าหากันได้อย่างแยบยลและสื่อความหมายได้ดี การผูกโยงงาน วรรณศิลป์เข้ากับงานดุริยางคศิลป์ในลักษณะที่เป็นเนื้อร้องกับทำนองสามารถ สัมผัสได้อย่างชัดเจน มากกว่าการสื่อด้วยเนื้อหาทางดนตรีแต่เพียงด้านเดียวซึ่ง มีความเป็นนามธรรมและผู้ฟังสัมผัสได้ยาก ฉะนั้นการสื่อความโดยผ่านงาน วรรณศิลป์ซึ่งมีความเป็นรูปธรรมและสัมผัสได้ง่ายกว่าย่อมเป็นที่นิยม เพื่อให้การ สื่อสารจากผู้แต่งเพลงผ่านไปยังผู้ฟังบรรลุวัตถุประสงค์ และในขณะเดียวกันก็ได้ รับอรรถรสทางดนตรีอย่างสมบูรณ์ด้วย และ รองศาสตราจารย์มาลิทัต พรหม- ทัตตเวที ภาคีสมาชิก ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ บรรยาย เรื่อง “การเปรียบเทียบตำนานที่สำคัญของชาติต่าง ๆ” Mythology คือ ศาสตร์ ที่ว่าด้วย myths ซึ่งในความหมายทั่วไปคือ เรื่องราวเก่าแก่หรือตำนานหรือ นิยายปรัมปราที่ว่าด้วยความเชื่อถือของชนชาติใดชาติหนึ่ง แต่ละเชื้อชาติแต่ละ เผ่าพันธุ์จะมี myth ของตนเองซึ่งอาจจะเหมือนหรือคล้ายกัน หรือผิดแผก แตกต่างกันได้แล้วแต่กรณีและสภาวะแวดล้อม ในงานวรรณกรรมจะมีการใช้ Mythology ใน ๓ ลักษณะ คือ ๑. ใช้เพื่อสร้างภาพพจน์หรืออ้างอิง ๒. ใช้เนื้อ เรื่อง เค้าโครงเรื่อง และตัวละครจากนิยายปรัมปราโดยตรง ๓. นำแต่แก่นเรื่อง (theme) หรือแนวความคิดมาใช้นิยายปรัมปราหรือตำนานของชาติต่าง ๆ อาจมี ความคล้ายคลึงกันได้ ทั้ง ๆ ที่บางครั้งไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะอยู่ห่างกันคนละซีก โลกเลยทีเดียว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุ ๒ ประการ คือ ๑. การถ่ายทอดทาง วัฒนธรรม myth อาจถูกถ่ายทอดจากวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่งได้ โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย เช่น การมีเขตแดนติดต่อกัน มีการค้าขาย ระหว่างกัน หรืออาจเกิดจากการรุกรานซึ่งทั้งผู้บุกรุกและผู้ถูกบุกรุกต่างก็รับเอา วัฒนธรรมและเรื่องราวของกันและกันไว้จนแยกไม่ออก ๒. myth ของชาติ ต่าง ๆ มีวิวัฒนาการขึ้นมาเองไม่เกี่ยวข้องกัน ภาษาอังกฤษเรียกว่า independent development เหตุที่คล้ายคลึงกันนั้นอาจเป็นเพราะสภาพความเป็นอยู่หรือภาวะ แวดล้อมมีความคล้ายคลึงกัน ปรากฏการณ์ธรรมชาติก็เป็นแบบเดียวกันทั่วโลก ดังนั้น เรื่องราวที่มนุษย์ในสมัยโบราณสร้างขึ้นมาเพื่ออธิบายภาวะที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด ซึ่งในตอนนั้นยังไม่มีวิชาวิทยา- ศาสตร์เกิดขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ย่อมคล้ายคลึงกันไปด้วย อีก ประการหนึ่ง ธรรมชาติของมนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลกยุคใดสมัยใด ก็ยังเป็นผู้ที่ มีกิเลส มีความรัก โลภ โกรธ หลง การกระทำใด ๆ ย่อมออกมาในลักษณะใกล้ เคียงกัน สาระสำคัญบางประเด็นจากตำนานของชาติต่าง ๆ ได้แก่ ๑. การสร้าง จักรวาลและโลก (Creation Myths) จะพบได้ทั่วไปไม่เพียงแต่ในชาติที่มี อารยธรรมเท่านั้น ส่วนมากแล้วจะเริ่มต้นด้วยการสร้างธรรมชาติก่อน แล้วจึง ตามมาด้วยการสร้างเทพเจ้าและมนุษย์ เช่น การสร้างโลกตามตำนานคริสเตียน การสร้างโลกตามตำนานกรีก การสร้างโลกตามตำนานสแกนดิเนเวีย การสร้าง โลกตามตำนานอินเดีย การสร้างโลกตามตำนานจีน ซึ่งแทบทุกชาติเชื่อว่ามี พระเจ้าหรือเทพเจ้า ไม่ว่าจะเป็นองค์เดียวหรือหลายองค์ก็ตาม เป็นผู้สร้างโลก จากความเวิ้งว้างว่างเปล่า และพระเจ้าหรือเทพเจ้าองค์แรกนั้นถือกำเนิดเองไม่มี ใครสร้าง ดูจะใกล้เคียงกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยการเกิดโลกในปัจจุบัน ที่ว่าแต่แรกนั้นมีกลุ่มหมอกเพลิงลอยคว้างอยู่ เมื่อมวลสารนี้เย็นลงก็แตกตัว กลายเป็นดาวฤกษ์ดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ ๒. น้ำท่วมโลก (Deluge) เมื่อมีการ สร้างโลกก็มีการทำลายล้างโลกควบคู่กันไป แทบทุกชาติมีตำนานเกี่ยวกับการที่ โลกถูกทำลายลงเนื่องจากภัยธรรมชาติในรูปของน้ำท่วมใหญ่ เช่น ตำนานฮีบรู และคริสเตียน ตำนานกรีก ตำนานอินเดีย ตำนานจีน จะเห็นได้ว่า สาเหตุส่วน ใหญ่ของน้ำท่วมโลกเนื่องมาจากความชั่วร้ายของมนุษย์ หรือเทพเจ้าต้องการ ทำลายล้างมนุษย์ แต่ก็มีคนดีจำนวนหนึ่งที่จะรอดจากมหาภัยนั้นและเป็นผู้สืบเผ่า ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๙๗ เดือนตุลาคม ๒๕๕๐ 197.indd 5 12/19/07 8:59:52 AM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=