1390_6218
ต่อการทำงานของเซลล์สมอง บี ๑ บี ๖ และบี ๑๒ เครื่องดื่มประเภท แอลกอฮอล์ในปริมาณที่น้อยหรือพอประมาณอาจช่วยลดการเกิดสมองเสื่อมในผู้ ที่อายุเกิน ๕๕ ปี โดยเฉพาะเหล้าองุ่นให้ผลดีกว่าเบียร์หรือสุรา ๔. การออกกำลัง กาย ผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนที่ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ ครั้งเป็นประจำ มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมน้อยลงเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ออกกำลัง และในรายงาน ผู้ ที่เดินน้อยกว่าวันละครึ่งกิโลเมตรมีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่าผู้ที่เดินวัน ละ ๓ กิโล เมตรเกือบเท่าตัว ๕. งานอดิเรก สมองก็เหมือนกับร่างกายทั่วไปคือ ถ้าใช้งานบ้างอยู่เสมอก็อาจจะเสื่อมช้ากว่า จากการศึกษาที่ประเทศจีนคนอายุ ๕๕ ปีขึ้นไปจำนวน ๕,๔๓๗ คน พบว่าผู้ที่ใช้เวลาว่างโดยอ่านหนังสือ เล่นไพ่นก กระจอก (mahjong) เขียนหรือวาดรูป เกิด MCI น้อยกว่าผู้ที่ไม่มีงานอดิเรก เหล่านั้น และที่น่าสนใจก็คือ การดูโทรทัศน์เป็นประจำมีความเสี่ยงเกิดมี MCI มากขึ้นถึงร้อยละ ๒๐ แต่กิจกรรมที่ใช้ความคิดและการเรียนรู้อาจเพิ่มจำนวน เซลล์ประสาทและ synapses ทำให้สมองเสื่อมช้าลง ส่วนการพบปะสังสรรค์กับ เพื่อนฝูงและการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นก็มีส่วนช่วยให้ความจำเสื่อมช้าลง ๖. ฮอร์โมนเพศและเพศสัมพันธ์ เอสโทรเจนมีส่วนช่วยความจำและความสนใจใน เรื่องทั่วไปในผู้ป่วยสตรีด้วย AD และ ผู้ป่วยสตรีที่หมดประจำเดือนแล้ว ในผู้ ป่วยชายที่เป็น AD และระดับฮอร์โมน เพศชายในเลือดต่ำการใช้เทสทอสเทอ โรน (Testosterone) ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นแต่ไม่มีผลต่อประชานพิสัย l วันพุธที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ ดร. มงคล เดชนครินทร์ ราช- บัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ออสซิลเลเตอร์แบบป้อนกลับกระแสเพื่อการจุดหลอดวาวแสงด้วยแบตเตอรี่” วงจรออสซิลเลเตอร์แบบป้อนกลับกระแส สำหรับจุดหลอดวาวแสงขนาด ๑๘ วัตต์ด้วยแบตเตอรี่ วงจรดังกล่าวนี้มีทั้งรูปลักษณ์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์แบบไบโพ ลาร์และรูปลักษณ์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์แบบมอส เมื่อใช้ส่วนประกอบของวงจรตาม ที่กล่าว ผลปรากฏว่าวงจรทั้ง ๒ รูปลักษณ์นี้ให้สมรรถนะที่ดีกว่าวงจรออสซิล เลเตอร์แบบป้อนกลับแรงดันที่ใช้ส่วนประกอบหลักอย่างเดียวกัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง วงจรออสซิลเลเตอร์แบบป้อนกลับกระแสที่ใช้ทรานซิสเตอร์แบบมอส นั้น สามารถให้ค่าประสิทธิภาพทางไฟฟ้าอยู่ในช่วง ๕๘–๗๓ เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ วงจรออสซิลเลเตอร์แบบป้อนกลับแรงดันที่ใช้ทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ สามารถให้ประสิทธิภาพทางไฟฟ้าได้ไม่เกิน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ และ ศาสตราจารย์ ดร.ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ ภาคีสมาชิก ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชา วิศวกรรมศาสตร์ บรรยายเรื่อง “เกณฑ์การใช้พลังงานในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์” l วันพุธที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย สันติสุข ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ บรรยายเรื่อง “พรรณไม้ สกุลกฤษณา หรือ Agarwood (Aquilaria spp.Thymelaeaceae) ของผืนทวีป เอเชีย” และ ศาสตราจารย์ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิทยา- ศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ บรรยายเรื่อง “สมองกับการกำหนดเพศ” เพศชายและเพศหญิงหรือเพศผู้ และเพศเมีย มีความแตกต่างกันในลักษณะทาง กายภาพ กระบวนการทางสรีรวิทยา และพฤติกรรม นอกจากนั้น ยังพบว่าสมอง ของเพศทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน ทั้งระดับ Macroscopic, Microscopic โดยปรกติสมองเพศชายจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศหญิงเล็กน้อย ใน ขณะที่สมองของเพศหญิงจะมีความหนาแน่นของเซลล์มากกว่า ทั้งยังปรากฏความ แตกต่างชัดเจนในเนื้อเยื่อบางบริเวณในสมองบางแห่ง เช่น สมองส่วน corpus collosum และ anterior commissure ในเพศหญิงจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศชาย ใน ขณะที่นิวเคลียสบางอันของสมองในเพศชายจะใหญ่กว่าเพศหญิง โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในกรณีของนิวเคลียสที่มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับความเป็นเพศชาย ได้แก่ Sexual Dimor-phic Nucleus (of Preoptic Area) ในกรณีของหนู หรือ นิวเคลียสเดียวกันนี้ที่เรียกว่า 3 rd Interstital Nuclei of the Anterior Hypothalamus (INAH 3) ในกรณีของคน ซึ่งจะพบว่าในเพศชายจะมีขนาดใหญ่ กว่าในเพศหญิงประมาณ ๑ เท่าตัว นิวเคลียสนี้ทำหน้าที่ความคุมพฤติกรรมความ เป็นเพศชาย อีกทั้งยังมีการพบเพิ่มเติม ในสมองของคนที่เป็นเกย์ว่านิวเคลียสนี้จะ มีขนาดเล็กใกล้เคียงกับในเพศหญิง จากการศึกษากลไกการกำหนดเพศ พบว่ายีน Sry ที่มีอยู่ในโครโมโซม Y เป็นตัวเริ่มต้นที่กำหนดความเป็นเพศชาย ยีนนี้จะ กระตุ้นให้เกิดเนื้อเยื้อที่จะเจริญต่อมาเป็นอัณฑะ ขณะที่อยู่ในครรภ์เนื้อเยื่อนี้จะ สร้างฮอร์โมนเทสทอสเทอโรน (Testosterone) ซึ่งจะไหลเวียนทั่วร่างกายรวมทั้ง ผ่านเข้าไปในสมอง ฮอร์โมนนี้จะแตกตัวออกเป็นฮอร์โมนอีก ๒ ตัว ได้แก่ Dihydrotestosterone และ Estradiol โดยการกระทำของเนื้อเยื้อต่าง ๆ ที่มี เอนไซม์สำหรับการสังเคราะห์ฮอร์โมนทั้งสอง ในเซลล์สมองของเพศชายบริเวณที่ จะทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นเพศชาย จะมี เอนไซม์ Aromatase ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนเทสทอสเทอโรน เป็น Estradiol ในขณะที่ ในเพศหญิงจะมีน้อยกว่า Estradiol จะทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างเนื้อสมองส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นในเพศชายในช่วงเวลาที่อยู่ในครรภ์ ในขณะที่ Dihydotestosterone ก็ จะทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่ออวัยวะเพศชายในที่อื่น ๆ ของร่างกาย สมองที่ ถูกสร้างขึ้นมาให้แตกต่างกันระหว่างเพศทั้งสอง ก็จะทำหน้าที่ต่อมาตลอดช่วงเวลา ต่าง ๆ ของชีวิต โดยเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมของความเป็นชายและหญิง ทั้งนี้ การทดลองในสัตว์หลายชนิดพบว่า การเปลี่ยนแปลงในสมองสามารถทำให้ พฤติกรรมหรือเพศเปลี่ยนแปลงไปได้ทั้งชนิดชั่วคราวและถาวร สำนักศิลปกรรม l วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ รองศาสตราจารย์อัศนีย์ ชูอรุณ ราช- บัณฑิต ประเภทวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาจิตรกรรม บรรยายเรื่อง “อิทธิพลศิลปะ และวัฒนธรรมอินเดียในศิลปะไทย” ชาวอินเดียได้เข้ามาค้าขายในดินแดนที่เป็น ประเทศไทยตั้งแต่สมัยโบราณ พ่อค้าชาวอินเดียได้นำพระพุทธรูปและสิ่งอื่น ๆ มาเผยแพร่ด้วย พระพุทธรูปที่พ่อค้าชาวอินเดียนำเข้ามานั้น ส่วนมากเป็น พระพุทธรูปสมัยอมราวดีซึ่งมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐–๑๑ เช่น พระพุทธ- รูปปางแสดงธรรม ซึ่งพบที่จังหวัดนครราชสีมา พระพุทธรูปสมัยคุปตะซึ่งมีอายุ อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๙–๑๑ ก็มีพบเช่นกัน เช่น พระพุทธรูปปางประทานพร ซึ่งพบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมา ผู้คนที่อยู่ในดินแดนประเทศไทยซึ่งเป็น ชนชาติก่อนไทย ก็ได้สร้างผลงานศิลปะตามอิทธิพลของศิลปะอินเดียด้วย นอกจากพระพุทธรูป ในวัฒนธรรมก่อนไทยสมัยทวารวดียังสร้างเทวรูปด้วย เช่น รูปพระนารายณ์ที่พบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี แสดงว่านอกจากอิทธิพลทาง พระพุทธศาสนาแล้ว ผู้คนในดินแดนประเทศไทยสมัยโบราณยังรับอิทธิพลทาง ศาสนาพราหมณ์จากอินเดียพร้อมกันด้วย ชนชาติไทยเริ่มมีอำนาจขึ้นตั้งแต่ราว พุทธศตวรรษที่ ๑๖ เริ่มจากสมัยเชียงแสนทางตอนเหนือ ตามด้วยสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลางและตอนล่าง การสร้าง พระพุทธรูปมีพัฒนาการต่อเนื่องกันตลอดมา ซึ่งมีต้นแบบของพัฒนาการมาจาก ศิลปะอินเดียนั่นเอง พระพุทธรูปและเทวรูปที่สร้างขึ้นในสมัยต่าง ๆ ของไทย จึง มีลักษณะเฉพาะชัดเจนขึ้น เช่น พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ลอยตัวปางลีลาของสมัย สุโขทัย แม้แต่เทวรูปที่ทำขึ้นในสมัยสุโขทัยก็เช่นกัน เช่น รูปพระหริหระ อย่างไร ก็ตาม ความเชื่อถือในศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ของคนไทยสมัยสุโขทัย ก็ รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็นต้น มา มีอิทธิพลศิลปะอินเดียให้เห็นอยู่มากโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปกรรม รูปเทวดา รูปนางฟ้า และรูปยักษ์ ตามคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและคติฮินดู เฉพาะในกรุงเทพมหานครก็มีให้เห็นตามวัดและพระราชวังหลายแห่ง ส่วนมาก เป็นศิลปกรรมที่เป็นลวดลายประดับอาคาร โดยเฉพาะที่หน้าบันมักทำเป็นรูป พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ หรือรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ นอกจากเรื่องราวตาม คติศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูของอินเดียจะปรากฏเป็นลวดลายประดับที่หน้าบัน โบสถ์และพระราชวังแล้ว ยังมีปรากฏเป็นงานประดับตกแต่งส่วนอื่น ๆ ของ โบสถ์และพระราชวังอีกด้วย ประติมากรรมแบบอย่างศิลปะไทยที่มีเรื่องตามคติ ความเชื่อของอินเดีย มีอยู่ในบริเวณพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตน- ศาสดาราม ที่โดดเด่นมาก ได้แก่ รูปยักษ์จากเรื่องรามเกียรติ์ตามคติฮินดู เช่น รูปทศกัณฐ์ซึ่งมีกายสีเขียว รูปสหัสเดชะซึ่งมีกายสีขาว และรูปยักษ์อื่น ๆ นอก จากรูปยักษ์แล้ว รูปครุฑและรูปพระนารายณ์ก็บพบมากในศิลปกรรมไทย นอกจากประติมากรรมที่ใช้ประดับตกแต่งแล้ว ประติมากรรมไทยตามคติศาสนา พราหมณ์หรือฮินดูของอินเดีย ที่ใช้เป็นรูปเคารพบูชาก็มีอยู่มาก เช่น รูปพระ พรหม รูปพระวิศวกรรมหรือวิษณุกรรม พระคเณศหรือพระพิฆเนศวร ในงาน จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน 197.indd 4 12/19/07 8:59:37 AM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=