1390_6218
โบราณ” ลัวะหรือละว้าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลมอญ–เขมร พระสงฆ์ผู้แต่ง ตำนานล้านนาได้บันทึกถึงเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะไว้มากกว่าชาติพันธุ์ กลุ่มอื่น มีตำนานของเมืองในแดนตอนใต้ของประเทศจีนตั้งแต่บริเวณแคว้นใต้ คง (Dehong) ลงมาถึงรัฐชานในประเทศพม่า บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย และตอนเหนือของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กล่าวถึงพวกลัวะหรือละว้า สันนิษฐานว่าดินแดนเหล่านี้อาจจะเคยเป็นบ้านเมือง ของลัวะมาก่อน ความสัมพันธ์ระหว่างลัวะและไทยยวนในล้านนามีมานานแล้ว อย่างน้อยตั้งแต่ก่อนสมัยพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. ๑๘๓๙) ความ สัมพันธ์นี้ได้สืบต่อมาจนถึงรัตนโกสินทร์หรือสมัยพระเจ้ากาวิละ ปัจจุบันชาวลัวะ ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ทั่วไปในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือ คัมภีร์ใบลานและ เอกสารหลักฐานประวัติศาสตร์ชั้นต้นของล้านนาเกือบทุกประเภทกล่าวถึงชาว ลัวะ เช่น ตำนานเมือง ตำนานศาสนา ตำนานพระธาตุ ศิลาจารึก ตำนานล้าน นาเรียกชื่อลัวะแตกต่างกันไปหลายชื่อว่า “ลัวะ” และ “ว้า” ภาษาบาลีเรียกว่า “มิลักขุ” หรือ “มิลักขะ” บางตำนานเรียกว่า “ทมิลละ” หรือ “ทมิฬ” ลัวะเรียก ตนเองว่า “ละเวือะ” หรือ “ลวือ” จารึกล้านนาจารึกถึงลัวะน้อย มากเพียง ๒–๓ หลัก เกี่ยวกับการถวายลัวะให้เป็นทาสของวัด หรือ “ข้าวัด” สำนักวิทยาศาสตร์ l วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.วิศิษฏ์ สิตปรีชา ราช- บัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “น้ำ : ดื่มเท่าไรพอ” ศาสตราจารย์ ดร. นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต ประเภท วิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.เปี่ยม ศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ ประยุกต์ สาขาวิชาการ ประมง บรรยายเรื่อง “วิกฤตการณ์ โลกร้อนกับปัญหาสุขภาพ” และ ศาสตราจารย์ ดร.สุดา เกียรติกำจรวงศ์ ภาคีสมาชิก ประเภทเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์ บรรยายเรื่อง “การเตรียมหมึกพิมพ์อิงก์เจ็ตฐาน น้ำประเภทสารสี (Preparation of Water–Based Pigmented Ink Jet Inks)” l วันพุธที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “Mind Cognitive Impairment” MCI เป็นกลุ่มอาการที่ประชานหรือ cognition เริ่มเสื่อมเกินกว่าที่ควรจะเป็นสำหรับคนที่อายุและระดับการศึกษา นั้น ๆ แต่อาการมักจะไม่เป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวันนัก คำว่า “ประชาน” มีรากศัพท์มาจากคำว่า “ชา” ซึ่งมีความหมายว่า รู้ หรือเก่ง ส่วน “ประ–” เป็นคำที่ใช้เติมหน้าเพื่อเน้นความหมายและ “–น”เป็นพยางค์ต่อท้ายคำ เพื่อให้เกิดคำใหม่ หน้าที่ของสมองแบ่งเป็น ๓ พิสัย (domain) ได้แก่ ประชาน พิสัย (cognitive domain) พลพิสัย (psychomotor domain) และจิตพิสัย (affective domain) ประชานพิสัยครอบคลุมสัญชาน (perception) ความใส่ใจ (attention) การเรียนรู้ (learning) การคิด (thinking) ความจำ (memory) ภาษา (language) จินตนาการ (imagination) พินิศจัย (judgement) มิติทัศน์ (visuo–spatial function) และการดำเนินการปฏิบัติ (execution หรือ executive function) ในผู้สูงอายุที่มี MCI ส่วนใหญ่มีความจำเสื่อม แพทย์บาง รายจึงใช้คำ amnestic MCI หรือโรคขี้ลืม เพื่อจำแนกจากผู้สูงอายุที่ประชาน พิสัยในเรื่องอื่นที่กล่าวมาแล้วเสื่อม ความจำมีหลายชนิดแต่ละชนิดมีส่วนสมองที่ รับผิดชอบกันเป็นระบบ ปัจจุบันนิยมแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ ๑. Episodic memory ได้แก่ ความจำสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อง ๆ โดยเฉพาะเรื่องส่วนบุคคล เช่น เมื่อวานนี้รับประทานอาหารกลางวันอะไรที่ไหน วันหยุดยาวเมื่อปีที่แล้วไปเที่ยว ไหนมา ๒. Semantic memory ได้แก่ ความจำความรู้ทั่วไป เช่น ชื่อนายก รัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย ชื่อเมืองหลวงของประเทศหนึ่งประเทศใดหรือ สีของนกนานาชนิด เช่น นกแก้ว นกกระยางหรืออีกา ๓. Procedural memory ได้แก่ ความจำเรื่องการกระทำหรือปฏิบัติ เช่น ขับขี่รถยนต์ เล่นกอล์ฟ ๔. Working memory ได้แก่ ความจำที่คนเราใช้เป็นระยะเวลาสั้นแต่ต้องการความ ใส่ใจและสมาธิพอสมควร เช่น การจำหมายเลขโทรศัพท์เมื่อมีคนบอกและไม่ได้ จดไว้หรือจำแผนที่ถนนหนทางที่จะขับรถไป เมื่อใช้แล้วไม่กี่วันต่อมามักจะจำไม่ ได้ การวินิจฉัยแยก MCI จากภาวะอื่นมี ๓ ภาวะ คือ ๑. Transient global amnesia (TGA) เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยเหมือน MCI มักจะเป็นในคนอายุ ๕๐ ปีขึ้นไปที่ขณะอยู่ดี ๆ เกิดมีอาการลืมอะไรหมดแต่รู้ตัวดี มักจะถามซ้ำ ๆ ภาวะ เสียความจำเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า (antero–grade) ในช่วงเวลาที่มักจะอยู่ ประมาณ ๒๔ ชั่วโมงหรือนานกว่านั้นไม่มาก ความจำก็จะกลับมา ประชานพิสัย ในเรื่องอื่น เช่น ภาวการสื่อความด้วยคำพูดและการรู้ปฏิบัติ (praxis) เป็นปรกติ ระหว่างมีอาการ คนที่เคยมี TGA มักจะเป็นครั้งเดียวแล้วไม่ค่อยเป็นอีก มีเพียง ร้อยละ ๓ ที่เกิดมีอาการซ้ำอีก ๒. Transient epileptic amnesia (TEA) เป็น โรคลมชักชนิดหนึ่งที่พบได้น้อยมากจนถึงปัจจุบันมีรายงานไว้ไม่ถึง ๕๐ ราย มัก พบในวัยกลางคนไปแล้ว ผิดกับ TGA ที่ผู้ป่วยจะมีอาการซ้ำ ๆ เป็นครั้งละไม่เกิน ๑ ชั่วโมง ขณะมีอาการผู้ป่วยรู้ตัวดี ประชานพิสัยในด้านอื่นนอกจากความจำเป็น ปรกติ ตรวจคลื่นสมองทั่วไปอาจจะไม่พบอะไรผิดปรกติแต่ถ้าให้อดนอนและตรวจ คลื่นสมองซ้ำอาจเห็นความผิดปรกติได้ ๓. Psychogenic amnesia (PA) หรือ ฟิวจ์ (fugue) ทางจิตเวช ผู้ป่วยมักมีอาการในช่วงที่มีความเครียดจัด ลืมความจำ เกี่ยวกับอัตชีวประวัติ ลืมเอกลักษณ์ตนเอง แต่การเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ยังดีผู้ป่วย จะไม่ถามซ้ำ ๆ เช่น คนที่มีอาการ TGA จากการศึกษาทางวิทยาการระบาดใน ชุมชนในคนที่มีอายุมากกว่า ๖๕ ปี พบ MCI ร้อยละ ๓–๑๙ MCI ในบางคน อาการคงที่หรือดีขึ้นแต่กว่าร้อยละ ๕๐ อาการเลวลงเกิดสมองเสื่อมภายใน ๕ ปี พวกที่เป็นโรคขี้ลืม (amnestic MCI) มีโอกาสเป็น AD มาก โรคหรืออาการที่ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อม คือ ๑. แรงดันเลือดต่ำ ในผู้สูงอายุภาวะ หัวใจล้มเหลวเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในผู้ที่มีอายุเกิน ๗๕ ปี ที่มีแรง ดันเลือด diastolic ที่ ๗๐ มิลลิเมตรปรอทหรือต่ำกว่าเป็นเวลา ๒ ปีขึ้นไป มี โอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมสูงขึ้น ๒. แรงดันเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด หลอดเลือดแดงสมองแตกและตีบและสมองเสื่อม ทำให้เกิด VaD ในบรรดายาที่ รักษาแรงดันเลือดในผู้ป่วยสูงอายุพบว่า ยา diuretics ลดการเกิด AD แต่ยา ประเภท calcium channel blockers และยาที่ยับยั้ง angiotensin converting enzyme ไม่มีผลเช่นนั้นในขณะที่ betablocker อาจมีผลบ้าง ๓. โรคเบาหวาน การทดสอบประชานพิสัยผู้ป่วยวัยกลางคนทั้งชายและหญิงที่เป็นโรคเบาหวาน ประเภท ๒ ให้ผลที่ไม่ดีเท่าคนปรกติ ในผู้ป่วยด้วยเบาหวานประเภท ๑ ก็เช่น เดียวกัน การเกิดสมองเสื่อมจาก AD และ VaD เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน แต่ กลไกที่ทำให้เกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ๔. ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง มี หลักฐานจากการวิจัยเพิ่มขึ้นถึงความเกี่ยวพันระหว่าง cholesterol metabolism และการเกิด amyloid plaques ในสมอง โดยถ้ามีคอเลสเตอรอลมากเกินพอจะ เกิด amyloid–beta peptide มากขึ้น ยาลดระดับคอเลสเตอรอลประเภท statin จึงเป็นจุดสนใจของนักวิจัยในเรื่องนี้มาก ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว สำหรับคนที่มี MCI ๑. การนอน ควรนอนหลับอย่างน้อยคืนละ ๗ ชั่วโมง ถ้า นอนกรนและหลับไม่สนิทหรือต้องตื่นบ่อยเพราะต้องปัสสาวะบ่อยก็ควรรับการ รักษาในเรื่องเหล่านั้น คนที่มี MCI ถ้าต้องใช้ยาช่วยนอนหลับก็พยายามเลี่ยงยา ที่ออกฤทธิ์นานเกิน ๑๒ ชั่วโมง จนมีผลมาถึงตอนกลางวันอาจทำให้อาการขี้ลืม เป็นมากขึ้นได้ ๒. ยารักษาโรคหรืออาการอื่น ผู้สูงอายุมักจะมีโรคหรืออาการอื่น ที่จำเป็นต้องใช้ยารักษาแต่มียาบางชนิดที่ทำให้เกิด MCI ได้ โดยเฉพาะ anticholinergic drugs เช่น atropine, trihexiphenidyl ที่ใช้รักษาโรคพาร์กิน สันหรือยาที่ศัลยแพทย์ทางระบบปัสสาวะใช้ เช่น oxybutynin รวมทั้งยาป้องกัน ลมชักทั้งเก่าและใหม่ เช่น topiramate และยา tricyclic antidepressants ด้วย ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องไทรอยด์และรับประทานยาฮอร์โมนไม่สม่ำเสมอก็มีอาการ MCI ได้ ๓. อาหาร วิตามินและเครื่องดื่ม การบริโภคปลาทะเลที่มีไขมันไม่อิ่มตัว มาก เช่น ปลาแซมอน ปลาซาร์ดีนและปลาทูน่าเป็นอาหารมีโอกาสเกิดสมอง เสื่อมและ AD ลดลง ถ้าผู้บริโภคไม่มี APOE- ทางพันธุกรรมเทียบกับการ บริโภคปลาที่มีไขมันดังกล่าวน้อย อาหารประจำวันควรครบทุกหมู่โดยปริมาณที่ บริโภคพอประมาณให้น้ำหนักตัวหรือดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานโดยเน้นโปรตีนและไขมันจากปลา ผัก และผลไม้บาง ชนิดมีสารยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesterase เช่น ส้ม แอปเปิลและมันฝรั่งซึ่ง อาจจะเป็นประโยชน์ต่อสมอง วิตามินโดยเฉพาะกลุ่มบีเกือบทุกตัวมีความสำคัญ ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๙๗ เดือนตุลาคม ๒๕๕๐ 197.indd 3 12/19/07 8:59:25 AM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=