1390_6218

สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง l วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐ รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ หิรัญรักษ์ ภาคี สมาชิก ประเภทสังคมศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ บรรยายเรื่อง “วิเคราะห์ สถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ก่อนปี ๒๕๕๐ ด้วยดัชนี ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” ความอยู่เย็นเป็นสุข หมายถึง สภาวะ ที่คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพทั้งจิต กาย ปัญญา ที่เชื่อมโยง กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นองค์รวมและสัมพันธ์กันได้ถูกต้อง ดีงาม นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างคนกับคน และการอยู่รวมกันอย่าง สมดุลระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากความหมายดังกล่าว สามารถ แจกแจงปัจจัยพื้นฐานร่วมในการสร้างความสุขของมนุษย์ได้ ๖ มิติ ได้แก่ ๑. การมีสุขภาวะ หมายถึง ภาวะที่บุคคลปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีร่างกายแข็งแรง มีอายุยืนยาว มีจิตใจดี ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตอย่างมี สติสัมปชัญญะและใฝ่รู้ สามารถคิดเป็นทำเป็น มีเหตุมีผล อยู่ในสังคมได้อย่าง เป็นปกติสุข ๒. ครอบครัวอบอุ่น หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความผูกพันกันทาง อารมณ์และจิตใจ ในการดำเนินชีวิตร่วมกันอย่างมีจุดหมายในบรรยากาศที่สงบ สุข ด้วยการทำบทบาทหน้าที่ครอบครัวได้อย่างเหมาะสม และมีสัมพันธภาพที่ดี ต่อกัน ๓. ชุมชนเข้มแข็ง หมายถึง ชุมชนที่มีการรวมตัวกันเป็นปึกแผ่น มี ศักยภาพในการพึ่งตนเองและการเรียนรู้ในระดับสูง มีองค์กรในชุมชน กลุ่มผู้นำ การเปลี่ยนแปลง และภาคีเครือข่ายการพัฒนาที่เข้มแข็งของชุมชน รวมทั้งมี ความสามัคคี เอื้ออาทร อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และธำรงไว้ซึ่งคุณค่าของ ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนหรือท้องถิ่น หรือ เอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างต่อเนื่อง ๔. เศรษฐกิจเข้มแข็งและเป็นธรรม หมายถึง เศรษฐกิจที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคลที่มีสัมมาชีพที่มั่นคง ก่อให้เกิด รายได้ที่เพียงพอ มีความมั่นคงและปลอดภัยในการทำงาน อยู่ภายใต้เศรษฐกิจที่ มีการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ เสถียรภาพ และมีการกระจายรายได้และ กระจายผลประโยชน์การพัฒนาในกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมอย่างเป็นธรรมและเท่า เทียม นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำของรายได้และหลุดพ้นจากปัญหาความ ยากจน ๕. สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศสมดุล หมายถึง การเข้าถึงปัจจัยพื้น ฐานในการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ อาศัยอยู่ในสังคมที่มีความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน มีสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ และมีระบบนิเวศที่สมดุล เกื้อกูลต่อการดำรง ชีวิตให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและยั่งยืน ๖. สังคมประชาธิปไตยที่มีธรรมา- ภิบาล หมายถึง คนมีศักดิ์ศรี มีสิทธิเสรีภาพ มีความสัมพันธ์ต่อกันบนพื้นฐานของ ความยุติธรรม ยอมรับ เคารพและปฏิบัติต่อผู้อื่นโดยคำนึงถึงความเท่าเทียมกัน และร่วมบริหารจัดการประเทศกับภาครัฐเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลที่มีความโปร่งใส คุ้มค่า และเป็นธรรม นำไปสู่สังคมสมานฉันท์ มีสันติสุขอย่างยั่งยืน สามารถอยู่ ร่วมกับนานาอารยประเทศได้อย่างเป็นมิตร l วันพุธที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๐ รองศาสตราจารย์ ดร.ชาย โพธิสิตา ภาคี สมาชิก ประเภทสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บรรยาย เรื่อง “เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ” การเปลี่ยนแปลงทางประชากรในช่วงเวลา หลายสิบปีที่ผ่านมาทำให้สังคมไทยในวันนี้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ คือมีจำนวน และสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่องไปอีกใน หลายสิบปีข้างหน้า ประเด็นที่มีความสำคัญเชิงนโยบายในเรื่องนี้ก็คือ การกลาย เป็นสังคมผู้สูงอายุของไทยเกิดขึ้นในเวลาอันสั้น ทำให้การปรับตัวทางสังคมและ เศรษฐกิจตามไม่ทัน ซึ่งหมายถึงว่าอาจจะมีปัญหาท้าทายหลายอย่างตามมา การเตรียมตัวตั้งรับปัญหาเหล่านี้ จำเป็นต้องหามาตรการที่เหมาะสมให้ ได้รับ ประโยชน์จากพลังของผู้สูงอายุ และขณะเดียวกันก็ลดสิ่งที่จะเป็นภาระทางสังคม ให้มีน้อยที่สุด ประเด็นที่สังคมจะต้องให้ความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบันและใน อนาคต ได้แก่เรื่องสุขภาพผู้สูงอายุ การให้การดูแลภายในครอบครัวและในชุมชน การให้การดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่ช่วยตัวเองไม่ได้ และการหามาตรการ ที่เหมาะสมเพื่อประกันความมั่นคงทางสุขภาพและทางเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้เป็น ปัญหาท้าทายที่สังคมไทยในวันนี้อาจจะยังไม่ได้ตระหนักเท่าที่ควร การเตรียม พร้อมที่จะรับมือกับปัญหาเหล่านี้จึงต้องมีแผนงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อีกทั้งยังต้องการความร่วมมืออย่างเข้มแข็งจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาควิชา การ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม l วันพุธที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๐ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี ภาคี สมาชิก ประเภทสังคมศาสตร์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ลีลาการ เรียนรู้ ลีลาการสอน” ลีลาการเรียนรู้ หรือแบบการเรียนรู้ หมายถึง วิธีการเรียน วิธีการคิด หรือวิธีการแก้ปัญหาที่บุคคลชอบหรือถนัดในการใช้เป็นประจำ เป็นวิธี การที่ช่วยให้บุคคลนั้นเกิดการเรียนรู้ ได้ดีที่สุด เนื่องจากมีความสอดคล้องกับ ลักษณะการรับรู้ กระบวนการทางสติปัญญา สภาพแวดล้อมและประสบการณ์ ของบุคคลนั้น ลีลาการเรียนรู้จำแนกออกเป็นแบบต่าง ๆ แตกต่างกัน ขึ้นกับ ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิด ที่ผู้จำแนกยึดเป็นเกณฑ์ในการจำแนก บทความนี้ นำเสนอลีลาการเรียนรู้พร้อมทั้งลีลาการสอน และเครื่องมือวัดลีลาการเรียนรู้ ตามแนวคิดของ เจ. ดับเบิลยู. คีเฟ (J.W. Keefe) เอช. เอ. วิตคิน (H.A. Witkin) ดี. เอ. คอล์บ (D. A. Kolb) บี. แมกคาร์ที (B. McCarthy) เอ. การ์ชา (A. Grasha) และ เอส. ไรช์แมน (S. Reichman) เอ. เอ. แคนฟีลด์ (A.A. Canfield) อาร์. ดันน์ (R. Dunn) และ เค. ดันน์ (K. Dunn) ความเข้าใจในลีลา การเรียนรู้ที่แตกต่างกันของผู้เรียน ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจพฤติกรรมและปัญหาที่ เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียน และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีลักษณะหลากหลาย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างกันของผู้เรียน รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาใน ส่วนที่เป็นจุดอ่อนของผู้เรียน ทั้งนี้ ผู้สอนควรระมัดระวัง พิจารณาเลือกใช้เครื่อง มือสำรวจแบบการเรียนที่มีคุณภาพ l วันพุธที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐ นางอรุณรัตน์ วิเชียรเขียว ภาคีสมาชิก ประเภท ประวัติศาสตร์ สาขาวิชาโบราณคดี บรรยายเรื่อง “ลัวะในล้านนา : จากเอกสาร จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ****ราชบัณฑิตยสถาน สนับสนุนการจัดทำ “หนังสือเสียงระบบอิเล็ก- ทรอนิกส์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อคน ตาบอด” ของมูลนิธิของคนตาบอดไทย และชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตา บอด โดยอนุมัติให้ใช้ข้อมูลพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ แบบอิเล็กทรอนิกส์ ในการจัดทำหนังสือเสียงฯ ในระบบเดซี (DAISY- D igital A ccessible I nformation Sy stem) ชนิด Full Text เพื่อให้คนตาบอดได้มี โอกาสใช้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ในการศึกษาค้นคว้า และใช้งานอื่น ๆ ได้เท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป และได้จัดให้มีการแถลงข่าว เรื่อง “หนังสือเสียงระบบอิเล็กทรอนิกส์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย- สถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อคนตาบอด” ร่วมกับมูลนิธิของคนตาบอดไทย และ ชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอด เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ณ ห้องประชุม ๓๐๑–๓๐๓ ราชบัณฑิตยสถาน โดยมี ศาสตรา- จารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช นายกราชบัณฑิตยสถาน เป็นประธานในการ แถลงข่าว พร้อมด้วย นางจินตนา พันธุฟัก เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน และ ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิของคนตาบอดไทย อาจารย์มณเฑียร บุญตัน เลขาธิการมูลนิธิฯ นางสาวนิรมล เปี่ยมอุดมสุข กรรมการมูลนิธิฯ นายวิษณุ เอื้อชูเกียรติ ผู้แทนชมรมอาสาสมัครเพื่อนคน ตาบอด เพื่อให้สังคมได้รับทราบถึงความสำคัญของการจัดทำหนังสือเสียงฯ และให้ความสนับสนุนการจัดทำ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการแบ่งคำจากใน พจนานุกรมฯ ให้อาสาสมัครอ่านและบันทึกเสียงเพื่อจัดทำเป็นไฟล์เสียงต่อไป. สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก 197.indd 2 12/19/07 8:59:14 AM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=