Today September'50 Rajbundit.indd

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เมื่อเอ่ยถึงคำว่า ขาไก่ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงขนมปังกรอบค่อนข้างแข็ง ขนาด โตเท่านิ้วหัวแม่มือ ยาวประมาณ ๘ นิ้ว หรือนึกถึงขาของไก่ แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่า ขาไก่ คือ ชื่อปลา คณะกรรมการจัดทำอนุกรมวิธานสัตว์แห่งราชบัณฑิตยสถาน ได้อธิบายไว้ว่า “ปลาขาไก่” เป็นปลาทะเล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Megalaspis cordyla (Linn.) จัดอยู่ในวงศ์ Carangidae มีความยาว ๑๘-๓๐ เซนติเมตร ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย ส่วนท้ายลำตัว คอดเรียวไปทางปลายหางและมีลักษณะแข็ง หัวไม่มีเกล็ด ตาโต มีฟันขนาดเล็กเรียงเป็น ๒ แถวที่ขากรรไกรบน มีฟันที่เพดานปากและที่ลิ้น ฟันที่ขากรรไกรล่างเรียงเป็นแถวเดี่ยว เส้นข้างตัวตอนหน้ายาวประมาณ ๑ ใน ๓ ของความยาวลำตัว โค้งเห็นชัดเจน ส่วนหลังถัดต่อไปเป็น สันหนาม ๕๐-๕๘ สัน ไปจนจดคอดหางที่แข็งมีลักษณะคล้ายแข้งของไก่ ความกว้างของสันหนามประมาณ ๒ เท่าของความยาวของตา ครีบ หลังมี ๒ ครีบ ครีบหลังครีบแรกมีก้านครีบแข็ง ๙ ก้าน ครีบหลังครีบที่ ๒ มีก้านครีบแข็ง ๑ ก้าน และก้านครีบแขนง ๑๐-๑๑ ก้าน ครีบอก ยาวมีลักษณะคล้ายเคียว ครีบก้นมีหนามสั้น ๆ ๒ อันอยู่ทางตอนหน้า มีก้านครีบแข็ง ๑ ก้าน และก้านครีบแขนง ๘-๑๐ ก้าน ลักษณะเด่นที่ สำคัญของปลาชนิดนี้ คือ มีครีบฝอย ๖-๗ ครีบอยู่ทางด้านหลังของครีบหลังและครีบฝอยอีก ๖-๙ ครีบทางด้านหลังของครีบก้น ลำตัวด้าน สันหลังสีน้ำเงินอมเขียว ด้านท้องสีเงิน มีจุดสีดำขนาดใหญ่บริเวณขอบแผ่นปิดเหงือก ครีบทุกครีบสีออกเหลือง บางครีบโดยเฉพาะครีบหาง มีสีเทาคล้ำตามขอบ ปลาขาไก่ว่ายน้ำได้รวดเร็ว อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ กินแพลงก์ตอนสัตว์และปลาขนาดเล็ก พบตั้งแต่บริเวณผิวน้ำจนถึงระดับความลึก ๒๐-๓๐ เมตร พบทั่วไปในบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร รวมทั้งทำเป็นปลาเค็มด้วย ปลาขาไก่ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ปลาแข้งไก่, ปลาอีลอง, ปลาอีโลง, ปลาหางแข็ง, ปลาหลั่งเต้ง, ปลาตีโล้ง. นายพรร…า ไทรงาม นัก«รร≥ศิ≈ªá ı กÕß«ิท¬าศาสตร์ ปลาขาไก่ ศาสตราจารย์ นพ.ประสิท∏ิÏ øŸ ตระกŸ ล รา™บั≥±ิต ส”นัก«ิท¬าศาสตร์ ªร–‡¿ท«ิท¬าศาสตร์สÿ ¢¿าพ สา¢า«ิ™า·พท¬ศาสตร์ การ´่อมแ´ม โรคหลอดเลือดในโรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดจุลภาคไต เป็นโรคที่ไม่มีอาการปรากฏ เกิดจากสารพิษต่าง ๆ ในกระแสเลือดที่มาจากแหล่งภายนอกร่างกายและจาก การสร้างขึ้นภายในร่างกายเอง อาทิ ภาวะอนุมูลอิสระเกินร่วมกับการขาดสารต้านอนุมูลอิสระ ระดับไขมันหรือน้ำตาลผิดปกติ สารเสริมการ อักเสบสูงผิดปกติ ความเครียด โรคหลอดเลือดเกิดจากความล้มเหลวในกระบวนการซ่อมแซมหลอดเลือด ในขณะที่กลไกการทำลายตัวหลอด เลือดจากสารพิษต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าโรคหลอดเลือดไม่มีอาการแสดงปรากฏแต่สามารถถูกตรวจสอบได้โดยการพบจำนวน เซลล์บุผิวในหลอดเลือดที่ตายและหลุดลอกออกมาในกระแสเลือดเพิ่มมากผิดปกติ โรคหลอดเลือดจุล¿าคไตเกิดร่วมกับการหดรัดตัวของ หลอดเลือดจุล¿าคไตทำให้เนื้อไตขาดเลือดหล่อเลี้ยงรุนแรงและเรื้อรัง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เนื้อไตตาย การรักษาโรคไตเรื้อรังทั่วไป ไม่ได้ผลทำได้ดีที่สุดแค่ชะลอการตายของไตให้ช้าลงเท่านั้น แต่ไม่สามารถฟóô นฟูสมรรถภาพของไตได้ ผลงานวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร. พญ.นริสา ฟูตระกูล โดยทุนวิจัยของประเทศไทย พบความบกพร่องในกลไกการซ่อมแซมโรค หลอดเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีการตายของเนื้อไตมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่ที่พบในปัจจุบัน เนื่องจากดัชนีการตรวจการทำงานของไตที่แพทย์ใช้ตรวจทั่วไป ไม่สามารถคัดกรองผู้ป่วยโรคไตที่มีภาวะไตเสื่อมระยะแรกที่เนื้อไตส่วนดียังมี อยู่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ได้ ºŸ้ วิจัยเสนอให้ใ™้ดั™นี fractional excretion of magnesium (FE Mg) มาคัดกรอง¿าวะไตเสื่อมระยะแรก และให้เริ่มการรัก…าที่มุ่งเปÑ าเพื่อให้หลอดเลือดจุล¿าคไตคลายตัว และเพิ่มปริมาณเลือดหล่อเลี้ยงไต กลยุทธการรักษาดังกล่าวสามารถ ฟóô นฟูสมรรถภาพการทำงานของไตได้และป้องกันการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดดังกล่าวเป็นยุทธศาสตร์แนวใหม่ ของไทยที่จะเป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อสาธารณชน.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=