Today September'50 Rajbundit.indd
ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๙๖ เดือนกันยายน ๒๕๕๐ ๒) ประเด็นหลักของเขตการค้าเสรี นอกจากสาระสำคัญของความตกลงเขตการค้าเสรีแล้วก็ยังมี ประเด็นปัญหากฎหมายที่เกิดขึ้นดังจะได้กล่าวถึงตามลำดับ ก) สาระสำคัญของความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรี ความตกลงเขตการค้าเสรีเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างรัฐ สมาชิกแม้จะมีเนื้อหาสาระแตกต่างกันออกไปบ้างตามแต่ละความตกลง ก็ตาม แต่มีประเด็นร่วมกันในความตกลง อันได้แก่ (๑) การขจัดข้อจำกัดทางการค้า ซึ่งรวมอุปสรรคต่าง ๆ ทั้งจาก กำแพงภาษีศุลกากรซึ่งรัฐสมาชิกต้องลดและขจัดไป ตลอดจนอุปสรรค ต่าง ๆ ที่มิใช่ทางภาษี ซึ่งมีอยู่มากมายหลายประเภท เช่น การกำหนด โควตา การให้เงินอุดหนุน มาตรฐานทางเทคนิคมาตรฐาน สุขอนามัยและสุข- อนามัยพืชและสัตว์ กฎระเบียบเกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อและการติดฉลาก กระบวนการประเมินและการจัดประเภททางศุลกากร ฯลฯ โดยจะต้อง ดำเนินการเป็นระยะภายในกรอบเวลาที่กำหนดขึ้น การเปิดเสรีสำหรับ สินค้าต่าง ๆ อาจครอบคลุมทั้งสินค้าและภาคบริการและการลงทุนที่รัฐ สมาชิกของเขตการค้าเสรีได้ตกลงกัน ซึ่งย่อมแตกต่างกันออกไปตาม แต่ละกรณี ดังนั้นผลประโยชน์และผลกระทบจากการทำเขตการค้าเสรี ย่อมขึ้นอยู่กับผลการเจรจาสำหรับแต่ละเขต โดยสินค้าที่จะได้รับสิทธิ ประโยชน์จากการลดอุปสรรคข้างต้นจะต้องมีคุณสมบัติตามกฎเกณฑ์ว่า ด้วยแหล่งกำเนิดของสินค้า (๒) กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดของสินค้า เป็นเกณฑ์ที่ใช้เพื่อกำหนด ว่าสินค้าใดมีต้นกำเนิดในรัฐสมาชิกและจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์อันเกิด จากการลดอุปสรรคได้ในเขตการค้าเสรีที่จัดตั้งขึ้น เกณฑ์ที่ใช้อาจแตกต่าง กันออกไปได้ โดยอาจกำหนดให้สินค้าต้องผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบ ทั้งหมดใน ดินแดนของรัฐสมาชิกที่เรียกกันว่า “wholly obtained/produced” หรือ ให้ใช้วัตถุดิบภายในรัฐสมาชิกสำหรับผลิตสินค้านั้นเป็นจำนวนร้อยละตาม ที่ตกลงกัน เช่น สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียนใช้เกณฑ์ ร้อยละ ๔๐ โดยใน ทางปฏิบัติจะต้องมีการยืนยันด้วยการออกใบรับรองแหล่งกำเนิด (certificate of origin/movement certificate) ให้ (๓) โครงสร้างด้านสถาบัน การจัดตั้งเขตการค้าเสรีจะสามารถ ดำเนินการได้ต้องอาศัยหน่วยงานที่ติดตามการอนุวัติการความตกลงที่จัด ทำขึ้น โดยอาจมีโครงสร้างที่ซับซ้อนมากน้อยแตกต่างกันไปตามแต่ละ ความตกลง สำหรับอาฟตาหรือเขตการค้าเสรีของอาเซียนมีคณะมนตรี แห่งอาฟตาเป็นแกนหลักโดยทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ของสมาคม อาเซียน ๑ ส่วนความตกลงทวิภาคีก็มักจะมีองค์กรร่วมระหว่างรัฐสมาชิกที่ ทำหน้าที่ดังกล่าว ทั้งนี้อาจมีองค์กรที่ดูแลจัดการเรื่องการระงับข้อพิพาทที่ เกิดจากการปฏิบัติตามความตกลงด้วย ข) ประเด็นปัญหากฎหมายหลักในการจัดทำเขตการค้าเสรี อาจ แบ่งออกได้ ๒ ประการดังต่อไปนี้ (๑) เขตการค้าและกฎหมายการค้าระหว่างประเทศขององค์การ การค้าโลก ในขณะที่รัฐสมาชิกขององค์การการค้าโลกต้องเคารพหลักการ รากฐานเรื่องการห้ามการเลือกปฏิบัติระหว่างรัฐภาคีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามหลักการเรื่องชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง ซึ่งกำหนดให้รัฐภาคีที่ให้ สิทธิประโยชน์ทางการค้ากับรัฐใดก็ตามจะต้องให้สิทธิดังกล่าวกับรัฐภาคี ทั้งหมดขององค์การการค้าโลกด้วย แต่ในการจัดทำเขตการค้าเสรีนั้นรัฐ สมาชิกจะให้สิทธิพิเศษเฉพาะสำหรับรัฐในเขตการค้าเท่านั้นไม่รวมถึงรัฐ นอกเขตด้วย ดังนั้นจึงอาจถูกมองได้ว่าเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักการ ขององค์การการค้าโลกได้ อย่างไรก็ตามในประเด็นนี้มาตรา ๒๔ ของ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากรหรือแกตต์ ซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของระบบกฎหมายในองค์การการค้าโลกอนุญาตให้รัฐสมาชิกจัดทำ เขตการค้าเสรีได้ภายใต้เงื่อนไขว่า จะต้องไม่สร้างอุปสรรคใหม่หรือเพิ่ม เติมให้กับรัฐนอกกลุ่มอีก และการดำเนินการจัดตั้งเขตการค้าเสรีต้องอยู่ ในการกำกับดูแลขององค์การฯ ๒ การอนุญาตให้จัดทำเขตการค้าเสรีได้ก็ เนื่องจากการเปิดเสรีในระดับสากลในทันทีไม่อาจกระทำได้เพราะรัฐ สมาชิกมีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันอย่างมาก ดังนั้นการเปิดเสรี สำหรับกลุ่มประเทศต่าง ๆ ซึ่งพร้อมจะดำเนินการในภูมิภาคของตนจึงถือ เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเปิดเสรีในระดับสากลในอนาคต (๒) ปัญหาเรื่องความจำเป็นในการมีส่วนร่วมของฝ่ายนิติ บัญญัติเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการจัดทำเขตการค้าสำหรับ ประเทศไทย ในแง่นิติศาสตร์แล้วกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ใช้อยู่ ในขณะที่ทำความตกลงมาตรา ๒๒๔ ในทำนองเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับ ก่อน กำหนดให้อำนาจในการทำสนธิสัญญาเป็นของฝ่ายบริหาร โดยฝ่าย นิติบัญญัติจะต้องร่วมพิจารณาให้ความเห็นชอบเฉพาะสำหรับสนธิสัญญา บางประเภท กล่าวคือ สนธิสัญญาเขตแดนสนธิสัญญาที่ต้องออกกฎหมาย รองรับหรือกฎหมายอนุวัติการและที่มีผลเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจของรัฐ ซึ่งสาระของความตกลงเขตการค้าเสรีที่ไทยทำไว้แล้วไม่เข้าข่ายสนธิ สัญญาประเภทที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแต่อย่างใด เพราะ ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่าความตกลงเขตการค้าเสรีในตัวเองนั้นมิใช่เป็นความตกลง ประเภทที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ การพิจารณาความ ตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีจึงต้องกระทำเป็นรายกรณีไปว่ามีเนื้อหาที่เข้า ข่ายต้องขอความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติหรือไม่ สำหรับรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบันในมาตรา ๓๘ ก็ระบุให้ใช้ ประเพณีการปกครองทางรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ซึ่งปราศจากข้อแตกต่าง จากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐ ดังนั้นการทำความตกลงเขตการค้าเสรี ในปัจจุบันจึงน่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขเดิมอย่างที่เป็นมา อย่างไรก็ตามในด้านนโยบายแล้วหากพิจารณาเห็นว่าเป็นความ ตกลงประเภทที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่ง น่าจะให้ผู้แทนของประชาชนในสภาเป็นผู้มีส่วนร่วมในการวินิจฉัยความ เหมาะสมในการทำความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีก็อาจบัญญัติไว้เป็นหลัก การได้ในรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยช่วงจังหวะที่มีการยกร่างขึ้นใหม่ในขณะนี้ เพื่อระบุให้ชัดเจน. ๑ Jaturon Thirawat, “Salient Aspects and Issues concerning AFTA”, Thammasat Review, Vol.7, no.1, December 2002, pp.32-36. ๒ Raj Bhala, Kevin Kennedy, “World Trade Law. The GATT-WTO System, Regional Arrangements, and U.S.Law, Lexis Law Publishing, Charlottesville,Virginina, 1998, pp.159-170; Raj Bhala, Modern GATT Law. A Treatise on the General Agreement on Tariffs and Trade, London, Sweet @ Maxwell, 2005, pp.586-604. ศาสตราจารย์ ดร.จตุรนต์ ถิระวัฒน์ กรรมการบัญญัติศัพท์นิติศาสตร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=