Today September'50 Rajbundit.indd
จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน บังคับที่มีผลจำกัดการค้าในดินแดนเหล่านี้ถูกกำจัดในเรื่องการค้าทั้งปวง อย่างมีสาระสำคัญระหว่างดินแดนที่ร่วมกันจัดตั้งขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ถือ กำเนิดในดินแดนเหล่านั้น” ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า เขตการค้าเสรี คือการ รวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐต่าง ๆ ซึ่งมีเป้าหมายในการลดและขจัด อุปสรรคทางการค้าทั้งที่อยู่ในรูปของภาษีศุลกากรและที่มิใช่ภาษีศุลกากร แต่ยังใช้ภาษีปรกติสำหรับรัฐนอกกลุ่มอยู่ การขจัดอุปสรรคทางการค้าภายในดินแดนเหล่านี้เป็นเป้าหมายร่วม กันของทั้งเขตการค้าเสรีและสหภาพศุลกากร แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ ในสหภาพศุลกากรมีอัตราภาษีศุลกากรที่เป็นเอกภาพสำหรับสินค้าที่นำ เข้าจากภายนอกซึ่งทำให้ต้องอาศัยองค์กรร่วมกันและข้อผูกพันในการ กำหนดนโยบายร่วมกันทางการค้าซึ่งย่อมกระทบต่ออธิปไตยของรัฐ แต่ใน เขตการค้าเสรีนั้นนำไปสู่การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในระดับที่ต่ำกว่า กล่าวคือรัฐภาคีในเขตการค้าเสรียังมีอิสระที่จะกำหนดนโยบายการค้า ภายนอกกับรัฐนอกเขตได้ ๑ ข) ประวัติของเขตการค้าเสรี ก่อนที่จะมีการจัดตั้งแกตต์ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในรูปแบบนี้ เคยมีอยู่บ้างแต่รู้จักกันในฐานะของสหภาพศุลกากรบางส่วนหรือที่ ไม่ สมบูรณ์ เช่น ระหว่างสวีเดนกับนอร์เวย์ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ หรือแคนาดากับสหรัฐอเมริกา ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๕๔–๑๘๖๖ และลักเซมเบิร์ก กับเบลเยียมหลัง ค.ศ. ๑๙๓๕ ส่วนเขตการค้าเสรีแรกเช่นที่นิยามไว้ใน มาตรา ๒๔ ของแกตต์ ถูกจัดตั้งขึ้นในกรอบขององค์การเพื่อความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจแห่งยุโรปซึ่งต่อมาพัฒนากลายเป็นองค์การเพื่อความร่วมมือ และพัฒนาทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งนำไปสู่อนุสัญญากรุงสต็อกโฮล์มซึ่ง สถาปนาสมาคมเขตการค้าเสรีแห่งยุโรปหรืออาฟตา เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๕๙ ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรีย เดนมาร์ก นอร์เวย์ โปรตุเกส สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร หลังจากนั้นก็มี การทำเขตการค้าเสรีระหว่างเขตการค้าเสรีแห่งยุโรปกับประชาคมยุโรป นอกจากพัฒนาการของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีในทวีปยุโรปแล้ว การจัดตั้งเขตการค้าเสรีในทวีปลาตินอเมริกาก็เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ด้วย กล่าวคือ สนธิสัญญาพหุภาคีแห่งเขตการค้าเสรีและการรวมตัวกัน ทางเศรษฐกิจของทวีปอเมริกากลาง ที่ลงนาม ณ เมืองเตกูซิกัลปา ประเทศฮอนดูรัส เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๕๘ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ หลักในการจัดตั้งสหภาพศุลกากร ได้จัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้นก่อนระหว่าง คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส และนิคารากัว ประเทศ ในภูมิภาคอเมริกาใต้เองก็ร่วมกันจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้นตามสนธิสัญญา จัดตั้งเขตการค้าเสรีและสถาปนาสมาคมเขตการค้าเสรีแห่งลาตินอเมริกา เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๖๐ โดยมีเป้าประสงค์จะพัฒนาเป็นตลาดร่วม ในโอกาสต่อไป นอกจากนี้ก็ยังมีเขตการค้าเสรีชื่อสมาคมการค้าเสรีแห่ง แคริเบียน ซึ่งตั้งขึ้นโดยความตกลงดิกกินสันเบย์ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๖๕ ระหว่าง แอนติกา บาร์เบโดสและบริติช กียานา และขยาย ออกไปครอบคลุมรัฐสมาชิกอื่นในภูมิภาคเมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๘ ในทวีปอื่นก็มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีด้วย กล่าวคือระหว่าง ออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๖๕ หลังจากนั้น ก็มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือระหว่างสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก ๒ ในปัจจุบัน การเจรจาการค้าพหุภาคีภายใต้กรอบขององค์การการ ค้าโลกไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากสมาชิกขององค์การฯ มี จำนวนมากแต่แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มซึ่งมีผลประโยชน์ทางการค้าที่แตก ต่างกัน ดังนั้นการเจรจาจึงมีความยุ่งยากและต้องใช้เวลามากอันมีผล ทำให้ ไม่อาจสร้างกฎเกณฑ์สำหรับการค้าระหว่างประเทศอันเป็นที่ยอมรับ ได้ทั้งสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศและ กลุ่มประเทศต่าง ๆ ก็หันมาใช้วิธีการทำเขตการค้าเสรีในระหว่างกลุ่มหรือ ในระดับทวิภาคีเพื่อช่วงชิงจังหวะในการหาประโยชน์จากการค้าระหว่าง ประเทศซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักประการหนึ่งในการพัฒนาประเทศ เพราะ ฉะนั้นการทำความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีจึงเป็นทางปฏิบัติที่แพร่หลาย อย่างยิ่งในปัจจุบัน ค) ประเทศไทยกับการจัดทำเขตการค้าเสรี ในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทยเองก็ได้เข้าร่วมในการจัดทำเขตการค้า เสรีด้วยเช่นกัน เนื่องจากต้องการใช้เป็นนโยบายเชิงรุกในการเปิดตลาด สินค้าไทยและขยายโอกาสทางธุรกิจโดยการร่วมลงทุนกับนักลงทุนต่าง ชาติและเพิ่มเครือข่ายทางธุรกิจ ตลอดจนสร้างความหลากหลายของ ตลาดส่งออกเพื่อลดการพึ่งพิงตลาดใดตลาดหนึ่งจนเกินความจำเป็น และ เพื่อแย่งชิงความได้เปรียบทางการค้าสำหรับสินค้าไทยอีกด้วย ทั้งนี้โดย ไทยได้ทำความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งสมาคมประชาชาติแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ และจนถึงปัจจุบันก็ได้เป็น ภาคีในสนธิสัญญาจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับอีกหลายประเทศ กล่าวคือ กับ จีน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ ออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ นิวซีแลนด์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ อินเดีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ และยังอยู่ในระหว่างรอการเข้าเป็นภาคี ในความตกลงกับญี่ปุ่น รวมทั้งยังอยู่ในขั้นการเจรจาอยู่กับคู่เจรจาหลาย ประเทศ กล่าวคือ กับสหรัฐอเมริกา กับสมาคมเขตการค้าเสรีแห่งยุโรปหรือ อาฟตากับกลุ่มประเทศในเอเชียใต้ หรือ บิมสเตค ซึ่งประกอบด้วย บังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา เนปาล และภูฏาน นอกจากนี้ ไทยยัง เจรจากับประเทศซึ่งถือเป็นช่องทางผ่านของสินค้าที่สำคัญซึ่งจะเชื่อมโยง ไปสู่ตลาดของประเทศอื่นในภูมิภาคที่เกี่ยวข้องได้คือ บาห์เรนและเปรู โดยในส่วนที่เกี่ยวกับความตกลงที่เจรจาไว้แล้วกับบาห์เรนยังไม่มีผล เนื่องจากไม่ได้รับความเห็นชอบจากกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับหรือจีซีซี ซึ่ง ประกอบด้วย ซาอุดิอาระเบีย บาห์เรน โอมาน กาตาร์ คูเวต และสหรัฐ อาหรับเอมิเรตส์ โดยทางบาห์เรนต้องการให้เจรจากับกลุ่มดังกล่าวแทน ส่วนการเจรจากับเปรูนั้น ก็ได้มีการทำพิธีสารเพิ่มเติมเรื่องกฎเกณฑ์ว่า ด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าระหว่างการประชุมเอเปกที่เวียดนามเมื่อปลาย พ.ศ. ๒๕๔๙ ยิ่งกว่านั้นไทยยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเจรจาทำความตกลง จัดตั้งเขตการค้าเสรีกับประเทศอื่น ๆ ในอีกกรอบหนึ่งด้วยกล่าวคือ ใน กรอบของอาเซียนซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอยู่ โดยในปัจจุบัน อาเซียนเจรจากับ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ส่วนความ ตกลงอาเซียนกับเกาหลีนั้น ไทยเป็นประเทศเดียวในสมาคมอาเซียนที่ยัง มิได้เข้าร่วมเนื่องจากยังมิอาจหาข้อยุติได้เกี่ยวกับข้อเรียกร้องของไทยให้ เปิดตลาดสินค้าข้าวจึงต้องเจรจากันต่อไป ๑ Parry and Grant Encyclopaedic Dictionary of International Law, Oceana Publications , Inc., New York, London, Rome, 1988, p. 137 ๒ Peter Fischer, “Free Trade Areas”, Encyclopedia of Public International Law. Published under the auspices of the Max Planck Institute for comparative public law and international law under the direction of Rudolf Bernhardt, Vol.8, 1985, North Holland, Amsterdam, New York, Oxford, pp. 250-254
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=