Today August'50 Rajbundit.indd
ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ ๑๘๖/๒๕๕๐ ไปรษณีย์ดุสิต จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เพื่อเผยแพร่งานวิชาการ ข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถาน นายขรรค์ชัย บุญปาน นางมณีรัตน์ ผลิพัฒน์ นางจินตนา พันธุฟัก ศาสตราจารย์ นพ.ยงยุทธ วัชรดุลย์ ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร รองศาสตราจารย์ ดร.สมควร กวียะ ศาสตราจารย์พิเศษเสฐียรพงษ์ วรรณปก ที่ปรึกษา จัดทำโดย บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ราชบัณฑิตยสถาน นางสาวสุปัญญา ชมจินดา พิมพ์ที่ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด ๓๐๗ ซอยลาดพร้าว ๘๗ วังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ โทรสาร ๐ ๒๕๓๙ ๒๕๑๒, ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๙ นางสาวอารี พลดี นางสาวปิยรัตน์ อินทร์อ่อน นางสาวกระลำภักษ์ แพรกทอง นางกนกวรรณ ทองตะโก นางสาวกุลศิรินทร์ นาคไพจิตร นางสาวจินดารัตน์ โพธิ์นอก นางสาวพรทิพย์ รอดพันธ์ นายอาคม คงทน นางสาวสุกุลตรัตน์ ฉ่ำจิตรชื่น นางปัญจมา สุดสวาท นายอภิเดช บุญสงค์ ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ ‰¢ปั≠หา¿า…า‰ท¬ - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - จดหมา¬¢่าวราชบัณฑิต¬สถาน ถาม ราชาศัพท์ของคำว่า “ยิ้ม” ใช้ว่า “แย้มพระโอษฐ์” ได้หรือไม่ และ ราชาศัพท์ของคำว่า “หัวเราะ” ใช้ว่าอย่างไร ตอบ ราชาศัพท์ของคำว่า “ยิ้ม” ที่ใช้แก่พระมหากษัตริย์ ลงมาจนถึงพระอนุ- วงศ์ชั้นพระองค์เจ้า ใช้ว่า แย้มพระสรวล ส่วนราชาศัพท์ว่า แย้ม พระโอษฐ์เป็นการใช้อย่างโบราณ ถ้าใช้แก่พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ใช้ ว่า ทรงยิ้ม ราชาศัพท์ของคำว่า หัวเราะ ที่ใช้แก่พระมหากษัตริย์ ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ใช้ว่า ทรงพระสรวล ถาม คำว่า “พระเจ้าตะเบงชะเวตี้”, “มังกะยอชะวา”, “พระเจ้าหงส์สาวดี บุเรงนอง” เป็นการเขียนที่ถูกต้องหรือไม่ ตอบ คำเขียนที่ถูกต้องคือ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้, มังกะยอชวา, พระเจ้า หงสาวดีบุเรงนอง ถาม คำว่า “ซอล์ฟบอล”, “วอลเลย์บอล”, “แชร์บอล”,”รักบี้”, “ฟุตบอล” เป็นการเขียนที่ถูกต้องหรือไม่ ตอบ คำเขียนที่ถูกต้องคือ ซอฟต์บอล, วอลเลย์บอล, แชร์บอล, รักบี้, ฟุตบอล ถาม คำว่า “ยุติ” กับ “หยุด” มีความหมายอย่างไร และใช้แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ตอบ ความหมายตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุว่า ยุติ หมายถึง ตกลง, จบ, เลิก เช่น เรื่องนี้ยุติแล้วไม่ต้อง พิจารณาอีกต่อไป ส่วนคำว่า หยุด หมายถึง ชะงัก, อยู่นิ่ง, อยู่กับที่; พัก, ไม่กระทำต่อ, เลิก เช่น หยุดงานตอนเที่ยง รถหยุด เขาพูดไม่ หยุด เมื่อพิจารณาตามความหมายในพจนานุกรมแล้วจะพบว่า คำว่า หยุด มีความหมายกว้างกว่าคำว่า ยุติ ดังนั้นควรพิจารณาบริบทหรือ ข้อความแวดล้อมประกอบว่าควรเลือกใช้คำใด ถาม ราชาศัพท์ว่า “พระบรมราโชวาท” และ “พระราชดำรัส” มีความหมาย ว่าอย่างไร และทั้งสองคำมีความแตกต่างและความเหมือนกันอย่างไร ตอบ “พระบรมราโชวาท” เป็นราชาศัพท์ของคำว่า “โอวาท” ใช้แก่พระ มหากษัตริย์ ส่วน “พระราชดำรัส เป็นราชาศัพท์ของคำว่า “คำพูด” ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรม ราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระ- เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “พระราชดำรัส” หากมีความ ในลักษณะทรงให้โอวาทด้วย ก็ถือเป็นพระบรมราโชวาทได้ ถ้าเห็นแต่ ข้อความที่ตัดความบางตอนมาอาจไม่สามารถระบุได้ว่าเป็น พระราช- ดำรัส หรือ พระบรมราโชวาทส่วนใหญ่พบการใช้ราชาศัพท์ “พระบรม ราโชวาท” เมื่อพระราชทานไว้ในการเสด็จพระราชดำเนินไปพระราช- ทานปริญญาบัตรแก่ผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ พระบรมราโชวาทที่พระราชทานในวันข้าราชการพลเรือน แต่ถ้าเป็น “คำพูด” ที่พระราชทานในวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี ราชาศัพท์ใช้ว่า “พระราชดำรัส” ทั้งนี้ทางสำนักราชเลขาธิการได้มีการรวบรวม พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส จัดพิมพ์ ซึ่งจะต้องสอบค้นว่าความที่ คัดบางตอนมานั้น มาจากพระราชดำรัสหรือพระบรมราโชวาท
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=