Today August'50 Rajbundit.indd
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - ท่านผู้อ่านหลายท่านคงได้รับฟังหรือรับชมข่าวทางวิทยุหรือ โทรทัศน์ว่า มีผู้จับปลาซีลาแคนท์ได้จากที่นั่น ที่นี่ แล้วเคยทราบเกี่ยว กับลักษณะทางอนุกรมวิธานของปลาชนิดนี้หรือไม่ คณะกรรมการจัดทำอนุกรมวิธานสัตว์ แห่งราชบัณฑิตยสถาน ได้ อธิบายไว้ว่า ปลาซีลาแคนท์ (Coelacanths) เป็นปลาทะเลน้ำลึกที่ยัง คงมีลักษณะทั่วไปไม่แตกต่างนักจากบรรพบุรุษที่มีหลากหลายและ กระจายพันธุ์กว้างขวางทั้งในทะเลและน้ำจืดตั้งแต่สมัย ๓๐๐–๙๐ ล้าน ปีมาแล้ว จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของต้นกำเนิดของสัตว์สะเทินน้ำสะเทิน บกและยังถ่ายทอดมาเป็นปลาหลงยุค (living fossil) ในวงศ์ Latimeriidae ลำตัวป้อม แบนข้าง คอดหางกว้าง แนวสันท้องโค้ง กว่าแนวสันหลังเล็กน้อย ปัจจุบันพบ ๒ ชนิด คือ ชนิด Latimeria chalumnae Smith จากเขตน้ำลึก ๑๕๐–๗๐๐ เมตร บริเวณนอกฝั่ง ประเทศโมซัมบิกและหมู่เกาะโดโมเรสทางตะวันตกของมหาสมุทร อินเดีย มีความยาวถึง ๑.๙ เมตร โดยปลาเพศผู้มีขนาดสั้นกว่าเพศ เมีย อีกชนิดหนึ่ง คือ ชนิด L. menadoensis Pouyaud, Wirjoatmodjo, Rachmatika, Tjakrawidjaja, Hadiaty, and Hadie จากเขตน้ำลึก ๑๐๐–๑๕๐ เมตร บริเวณเกาะสุลาเวสี และเกาะมะนา โดตัว ประเทศอินโดนีเซีย มีความยาวถึง ๑.๔ เมตร ปลาซีลาแคนท์แตกต่างจากปลาทั่วไปในยุคปัจจุบัน คือ มีโคนครีบ ต่าง ๆ ยกเว้นครีบหลังตอนแรกเป็นกล้ามเนื้ออวบอูม แกนลำตัวยัง เป็นโนโทคอร์ด เพราะข้อกระดูกสันหลังยังไม่พัฒนาขึ้นแทนที่ ครีบ หางมีแพนหางพิเศษแทรกเพิ่มอยู่ปลายสุดในแนวแกนลำตัว และส่วน หัวมีข้อต่อทำให้ปลาผงกหัวได้ขณะหาอาหาร ลักษณะอื่น ๆ ที่น่าสนใจ คือ ครีบต่าง ๆ มีก้านครีบเดี่ยวทั้งสิ้น ไม่ปรากØมีก้านครีบแขนง บริเวณคางระหว่างขากรรไกรมีแผ่นกระดูกเรียงตามยาวอยู่ ๑ คู่เกล็ด บนลำตัวและบนโคนครีบที่เป็นกล้ามเนื้อเป็นแบบคอสมอยด์มีขนาด ใหญ่ผิวขรุขระ ส่วนหัวไม่มีเกล็ด มีเส้นข้างตัว ปัจจุบันรู้กันดีขึ้นว่าปลา ซีลาแคนท์จากทะเลตะวันออกของทวีปแอฟริกามีไข่ ๒๐–๖๕ ฟอง โดยไข่แก่จะมีสีแดงอมม่วง รูปร่างกลมและมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ ๙ เซนติเมตร ไข่ได้รับการผสมภายในตัวเพศเมียครั้งละ ๕– ๒๖ ฟอง ปลาอุ้มท้องนานประมาณ ๑๓ เดือน ขณะนั้นตัวอ่อนจะได้รับ อาหารจากไข่และจากปลาเพศเมียทางสายรก เมื่อแรกคลอดปลาจะมี ความยาว ๓๓–๓๘ เซนติเมตร ในธรรมชาติปลาอาศัยตามหน้าผาใต้ น้ำหรือที่ลาดชัน เวลากลางวันจะหลบซ่อนตามหลืบหินซึ่งยังใช้เป็นที่ หลบกระแสน้ำแรง ออกหากินในเวลากลางคืน ปลาทั้ง ๒ ชนิดมีลำตัว สีน้ำเงินเหลือบและมีจุดประสีขาวกระจายอยู่ทั่วไปดูกลมกลืนกับความ มืดและโขดหินที่มีเปลือกหอยนางรมตายติดอยู่ อาหารส่วนใหญ่เป็น ปลาและหมึก มีพฤติกรรมแปลกคือ บางครั้งจะเอาปลายหัวยันหรือ แตะพื้นโดยลำตัวตั้งตรงในแนวดิ่ง ปลาซีลาแคนท์ในธรรมชาติมีโอกาสลดจำนวนลงค่อนข้างสูง เนื่องจากการจับและข้อจำกัดทางพฤติกรรมและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทำให้ ได้รับการขึ้นบัญชีไว้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการค้า ซึ่งสัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์ หรือไซเทส (CITES). นายพรรษา ไทรงาม นักวรรณ»ิลปá ı กองวิทยา»าสตร์ ปลาซีลาแคนท์ ืี่ี้ีี่ั้ิ้่ี้ี 5 ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๙๕ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๐ สนับสนุนให้เกิดพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขึ้น พิธีสารเกียวโต นี้เป็นสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกขององค์การ สหประชาชาติ (United Nations Framework Convention on Climate Change-UNFCCC) โดยมีมาตรการทางกฎหมายในการ รับมือกับภาวะโลกร้อน เปิดการเจรจาครั้งแรกที่เมืองเกียวโต ประเทศ ญี่ปุ่น เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๙๙๗ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๒๐๐๕ หลังจากการให้สัตยาบันอย่างเป็นทางการของ ประเทศรัสเซีย การให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโตมีทั้งหมด ๑๕๐ ประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย พิธีสารเกียวโตมีกลไก ๓ กลไก เพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกดังนี้ ๑) การค้าสิทธิในการปล่อยสารมลพิษ (emission trading, ET) เป็นการแลกเปลี่ยนซื้อขายสิทธิในการปล่อยสารมลพิษขณะที่ แหล่งกำเนิดบางแห่งต้องปล่อยสารมลพิษลดลงโดยมีสารมลพิษ รวมคงเดิม โรงงานใด ๆ ที่ลดการปล่อยสารได้อาจฝากคะแนน การลดไว้ในระบบควบคุมกลางเพื่อขายต่อให้ผู้ซื้ออื่น ๆ ได้ ๒) การดำเนินการร่วมกัน (joint implementation, JI) เป็นการ ดำเนินการร่วมกันระหว่างประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว เพื่อลดการ ปล่อยแก๊สเรือนกระจกเพิ่มเติมจากมาตรการที่จะเกิดขึ้นอยู่แล้ว ในสภาวะธุรกิจปรกติ ๓) กลไกพัฒนาที่สะอาด (clean development mechanism, CDM) เป็นกลไกเพื่อช่วยให้ประเทศพัฒนาแล้วลดแก๊สเรือน กระจกในต้นทุนต่ำและในขณะเดียวกันก็ช่วยประเทศกำลังพัฒนา ให้ใช้เทคโนโลยีที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมให้พัฒนาอย่างยั่งยืน กลไกภายใต้พิธีสารเกียวโตเป็นกลไกลดภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นเรื่อง ส่วนรวมของประชาคมโลก ในหน่วยที่ย่อยลงมา เช่น องค์กรสิ่ง แวดล้อมต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศก็ช่วยรณรงค์ให้ลดการ ใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟó อย สำหรับหน่วยย่อยลงมาอีกอย่างพวกเรา เหล่ามนุษยชาติก็ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการสร้าง จิตสำนึกÇเพื่อโลกของเรา. นางสาวรัตติกาล ศรีอำไพ นักวรรณ»ิลปá ๖ว กองวิทยา»าสตร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=