Today August'50 Rajbundit.indd
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โคลงประดิษฐ์พระร่วง ฉบับ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ร่ายสุภาษิตพระร่วง ฉบับวัดเกาะ สุภาษิต พระร่วงคำโคลง ฉบับพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว ร่ายสุภาษิตตัง ฉบับวัดลาด จังหวัดเพชรบุรี และ บัณฑิตพระร่วง เอกสารตัวเขียน ฉบับเลขที่ ๗๓ จากการศึกษา ตัวบทฉบับต่าง ๆ เปรียบเทียบกันทำให้พบว่า ๑. ร่ายสุภาษิต พระร่วง ฉบับวัดเกาะ มีความใกล้เคียงกับโคลงประดิษฐ์พระร่วง มากที่สุด ๒. ร่ายสุภาษิตพระร่วง ฉบับวัดเกาะ เป็นสำนวนเดียว กับร่ายสุภาษิต ๓. บัณฑิตพระร่วง ฉบับเลขที่ ๗๓ ปรับปรุงจาก สำนวนฉบับวัดเกาะ ๔. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมา- นุชิตชิโนรสทรงปรับปรุงร่ายสุภาษิตพระร่วง ฉบับจารึกจากฉบับ ตัวเขียนเลขที่ ๗๓ ๕. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์สุภาษิตพระร่วงคำโคลงโดยทรงใช้ร่ายสุภาษิต พระร่วง สำนวนฉบับวัดเกาะ วันอังคารที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรพั≤น์ ประพันธ์วิทยา ภาคีสมาชิก ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาตันติภาษา บรรยายเรื่อง “พระ»ิวะในแง่มุมต่าง Ê” การเคารพนับถือพระศิวะซึ่งเน้นเรื่องการบูชาศิวลึงค์ ผู้เคารพ นับถือพระศิวะเชื่อว่าพระองค์ปรากØอยู่ในศิวลึงค์ รูปศิวลึงค์มี หลายลักษณะ ที่พบทั่วไปประกอบไปด้วย ๑. ส่วนที่เป็นฐานเรียกว่า “ปีฐะ” ส่วนใหญ่จะมีรูปกลมแต่บางครั้งก็เป็นรูปสี่เหลี่ยมส่วนล่าง ของปีฐะ แทน “พระพรหมา” ส่วนบนของปีฐะ แทน “พระวิษณุ” ๒. ส่วนที่เป็นศิวลึงค์ที่แท้จริง เป็นแท่งรูปทรงกระบอกตั้งอยู่เหนือ ปีฐะ มีหลายรูปแบบ อาจจะเป็นรูปกลมหรือมีเหลี่ยม ที่ปลายสุด มีรูปมน ศิวลึงค์มี ๒ ประเภท คือ อจลลิงคะ และจลลิงคะ บางครั้ง พบว่ามีการสร้างศิวลึงค์ ๕ องค์ไว้บนฐานเดียวกัน แต่ละองค์แทน ธาตุทั้ง ๕ คือ ปฤถวี (ดิน) อาปัส (น้ำ) วายุ (ลม) เตชัส (ไฟ) อากาศ (ท้องฟ้า) และ ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทย บรรยายเรื่อง “ค”เพี้ยน ในภาษาไทย” ภาษาไทยในปัจจุบันมีการใช้คำที่ผิดแผกแตกต่างไป จากเดิมหลายลักษณะซึ่งก่อให้เกิดความวิตกกันเป็นการ เปลี่ยนแปลงที่ปรากØเร็วมากจนคนในช่วงอายุเดียวกันก็สังเกตได้ และการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดจากการสัมผัสภาษาจากภายนอกด้วย มิใช่เกิดจากลักษณะการใช้ภาษาของเจ้าของภาษาแต่เพียงอย่าง เดียว ลักษณะภาษาเพี้ยนที่เกิดขึ้นกับภาษาไทยหรือกับภาษาใด ๆ นั้น นักภาษาศาสตร์จะมองว่าเป็นธรรมชาติตามปรกติของภาษา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ผูกพันอยู่กับสังคมของมนุษย์ มนุษย์มีการ เปลี่ยนแปลงพัฒนาก้าวหน้า เจริญขึ้น เสื่อมลง หรือผันแปรไป อย่างไร ภาษาก็ย่อมผันแปรเปลี่ยน แปลงไปตามสังคมมนุษย์นั้น การผันแปรเปลี่ยนแปลงของภาษาอาจเกิดได้ ๒ ลักษณะ คือ ๑. เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตัวภาษานั้นเอง เป็นการเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ โดยเจ้าของภาษามักจะไม่สังเกตไม่รู้ตัว จะสังเกตการเปลี่ยนแปลงได้ก็เมื่อการเปลี่ยน แปลงนั้นสิ้นสุดลง แล้ว เช่น การเปลี่ยนความหมายของคำบางคำในภาษาไทย ๒. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสาเหตุหรือปัจจัยภายนอก อาจเกิดจาก การสัมผัสภาษา เช่น เมื่อสังคมไทยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม จากซีกโลกตะวันตก มีการสัมผัสภาษากับภาษาทางซีกโลกตะวัน ตก ภาษาก็ผันแปรไปตามโลกตะวันตก การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก สาเหตุหรือปัจจัยภายนอก มักเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การรับคำจากภาษาต่างประเทศ การออกเสียงผิดเพี้ยนของ เยาวชนบางกลุ่ม การสร้างคำสแลงหรือสำนวนใหม่ ๆ ในปัจจุบัน ทั้งนี้ การเพี้ยนในภาษาไทย เท่าที่พอรวบรวมได้ มีหลายประการ ดังนี้ ๑. การเพี้ยนเสียง หมายถึง การออกเสียงพยัญชนะ สระ หรือ วรรณยุกต์ผิดไปจากเสียงมาตรฐานของภาษาไทยกรุงเทพฯ ซึ่งกำหนดให้เป็นภาษาประจำชาติไทย ๒. การเพี้ยนคำ เช่น การ ออกเสียงคำเพี้ยน การออกเสียงรวบคำ การตัดคำหรือย่อคำ การ ออกเสียงเพิ่มพยางค์ให้ออกเสียงอย่างคำสมาส ๓. การเพี้ยน ความหมาย คือ คำสแลงต่าง ๆ ๔. การเพี้ยนการใช้ เช่น การใช้ คำกริยาอกรรมเป็นกริยาสกรรม การใช้วิเศษณ์เป็นกริยา การใช้ คำลักษณนามผิดตำแหน่ง ๕. การเพี้ยนการเขียน เช่น การใช้ วรรณยุกต์ผิด การเขียนที่แปลงรูปไป การสับตัว ร ล - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ºŸâ สน„จบทความดัง°≈่าว¢ออนÿ ≠าตคâ นควâ า‰ดâ ที่หâ องสมÿ ดราชบัณฑิต¬สถาน ตามæร–ราชบั≠≠ัติ¢â อมŸ ≈¢่าวสาร æ.». ๒๕Ù๐ 4 จดหมา¬¢่าวราชบัณฑิต¬สถาน สัญญานี้Ç เพื่อโลก กรมสนธิสัญญาและกฎหมายได้ให้ความหมายของคำสนธิสัญญา (treaty) ไว้ว่า สัญญาที่ทำระหว่างบุคคลระหว่างประเทศ (รัฐ รัฐบาล องค์การระหว่างประเทศ) ก่อให้เกิดสิทธิและพันธกรณีระหว่างกันภาย ใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น สนธิสัญญาแวร์ซาย เป็นสนธิ สัญญาสันติภาพ ที่ทำขึ้น เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๑๙ ณ พระราชวังแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาริงเป็นสนธิสัญญาทางการค้า ระหว่างประเทศสยามกับอังกฤษ สนธิสัญญาอาจมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ความตกลง (agreement) ข้อตกลง (arrangement) บันทึก ความเข้าใจ (memorandum of understanding) บันทึกความตกลง (memorandum of agreement) พิธีสาร (protocol) อนุสัญญา (convention) ปัจจุบันเชื่อกันว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) ซึ่งเป็นภัยคุกคามสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดภัยพิบัติรุนแรงบ่อยครั้ง มากขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจากภาวะโลกร้อน (global warming) เนื่องจาก แก๊สเรือนกระจก ประชาคมโลกและองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมจึงได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=