Today August'50 Rajbundit.indd
ตั้งอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นเขื่อนดินที่สามารถกักเก็บน้ำได้ ๗๑๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งพื้นที่ที่แปรสภาพไปเป็นเขื่อนนั้นเป็นจำนวน ๓๑,๐๐๐ ไร่ ในเขตนี้เป็นไร่และนาเพียงเล็กน้อยซึ่งมีผู้ต้องอพยพ เพียง ๓๒ ครอบครัว จึงเกือบกล่าวได้ว่าการก่อสร้างเขื่อนนี้ ไม่ได้ ก่อให้เกิดความลำบากแก่ประชาชนเลย เขื่อนแห่งนี้เริ่มต้น ก่อสร้างอย่างจริงจังใน พ.ศ. ๒๕๐๗ และได้แล้วเสร็จในเดือน มีนาคม ๒๕๐๙ ประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างเขื่อนแก่งกระจาน มีดังนี้ ๑. เพิ่มพื้นที่นาที่จะได้รับน้ำชลประทานอีก ๑๒๒,๐๐๐ ไร่ ๒. จะมีน้ำสำหรับการเพาะปลูกพืชไร่ในฤดูแล้งได้อีก ๑๗๔,๐๐๐ ไร่ ๓. กำจัดการขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคของประชาชนที่ อาศัยอยู่ตั้งแต่อำเภอหัวหินไปจดปากอ่าวเพชรบุรีให้หมดไปได้ ๔. บรรเทาอุทกภัยในเขตจังหวัดเพชรบุรี ๕. จะสามารถติดตั้งเครื่อง ไฟฟ้าได้ ๑๑,๐๐๐ กิโลวัตต์ และจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปี ละ ๕๖ ล้านยูนิต ในเมื่อได้ใช้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากเขื่อนภูมิพลจะ หมดแล้ว และ ศาสตราจารย์ ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ ชีวภาพ สาขาวิชาสัตววิทยา บรรยายเรื่อง “ปลาซีลาแคนท์” สำนักศิลปกรรม วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๐ รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก ราชบัณฑิต ประเภทสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม บรรยายเรื่อง “เครื่องประดุ” เครื่องประดุเป็นชื่อเรียกเครื่องบน หรือโครงสร้างหลังคาแบบหนึ่งของสถาปัตยกรรมไทย ช่างไทยยัง นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แบบขื่อเอกขื่อโท โครงสร้างแบบนี้เข้าใจ ว่ามีการทำมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องคุณสมบัติ และอายุของไม้ จึงไม่พบหลักฐานโครงหลังคาเครื่องประดุที่สมบูรณ์ ในสมัยปัจจุบันเลย สำหรับสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยายังพอหาศึกษาได้ จากสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นจนถึงสถาปัตยกรรมสมัย อยุธยาตอนปลายที่ยังคงสภาพดีอยู่ในปัจจุบัน เครื่องประดุนับว่า เป็นโครงสร้างหลังคาที่สมบูรณ์แบบ เป็นโครงสร้างที่แสดงการทำ หน้าที่ของตัวไม้แต่ละตัวอย่างตรงไปตรงมา การถ่ายน้ำหนักก็จะ ถ่ายเป็นทอด ๆ จากเครื่องมุงระแนง กลอนอกไก่ ดั้ง แป ขื่อโท เสา ตุ๊กตา แล้วถ่ายลงขื่อเอกหรือขื่อประธาน ก่อนที่จะกระจายน้ำ หนักลงสู่เสาหรือผนังต่อไป ทั้งนี้การเชื่อมต่อหรือการเข้าไม้แต่ละ จุดของโครงนั้น จะมีทั้งการบาก การเพลาะ การเจาะ และการทำ เดือย เพื่อให้โครงสร้างแต่ละชิ้นยึดกันด้วยการวางสับ การวางทับ และการสอดเดือย ทำให้ โครงสร้างแต่ละจุดเหลือเนื้อไม้เพียง เล็กน้อย ต่อมาโครงหลังคาแบบเครื่องประดุนั้นมีวิวัฒนาการมา ตามลำดับ มีการปรับปรุง มีการแก้ปัญหา รวมทั้งผสมผสานกับ โครงสร้างระบบอื่น สุดท้ายโครงสร้างหลังคาที่เป็นไม้ที่พบในปัจจุบัน ที่ศึกษาและค้นคว้ามาพอประมวลลำดับและจัดระบบได้ คือ ๑. โครงหลังคาแบบเครื่องประดุ ๒. โครงสร้าง หลังคาแบบเครื่องประ ดุผสมจันทัน ๓. โครงสร้างหลังคาแบบขื่อกับจันทัน และ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส ภาคีสมาชิก ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรม บรรยายเรื่อง “สุภาษิตบัณฑิต (ประดิษฐ์) พระร่วง” วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีอยู่ในรูปแบบ ร้อยกรองหลายชนิด และมีหลายฉบับ เรียกชื่อต่าง ๆ กันไป เช่น สุภาษิตพระร่วง บัณฑิตพระร่วง และประดิษฐ์พระร่วง ฉบับที่นำ มาศึกษา คือ ร่ายสุภาษิต ได้แก่ ร่ายสุภาษิตพระร่วง ฉบับจารึก เอาเฉพาะลักษณะมนุษยนิยมให้เข้ากับปรัชญาแม่บทและแบบฉบับ ของตน ที่ได้วิเคราะห์กลั่นกรองแล้วเช่นกัน หลอมรวมทั้งของตน และของต่างชาติเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยถือหลัก รู้เขารู้เรา และใจเขาใจเรา กลายเป็นปรัชญาจีนที่คนจีนกล่าวอ้างด้วยความ ภาคภูมิใจว่า เป็นปรัชญาเหนือปรัชญาอื่นใด และจีนก็คือจีนอยู่ นั่นเอง ในความเป็นจีนโดยวัฒนธรรมคติธรรม จีนไม่เคยถูกครอบถูก กลืนให้เลือนสลายไปได้ วันพุธที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ นายสนั่น ไชยานุกุล ภาคีสมาชิก ประเภทปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง “ปรัชญาซิกข์ฝ่ายราธาสวามี” ศาสนาซิกข์เข้ามาเผยแผ่ในประเทศ ไทยเมื่อประมาณร้อยกว่าปี พร้อม ๆ กับศาสนาพราหมณ์–ฮินดู แต่ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ศาสนาซิกข์เริ่มมีสถานที่สำหรับการ ทำบุญ และทำสมาธิภาวนา จึงได้ตั้งวัดซิกข์ขึ้นที่พาหุรัด จนถึง ปัจจุบันสถานที่นี้ ได้ทำการพัฒนาให้เจริญขึ้นมาจนเป็นที่รู้จักกัน ทั่วโลก โดยมีศาสนาจารย์เป็นผู้ทำพิธีกรรมและสั่งสอนประชาชน ชาวซิกข์ภาษาปัญจาบี บทสวดก็เป็นภาษาปัญจาบีและถือว่าพระ คัมภีร์ซิกข์เป็นเสมือนพระศาสดาที่ยังมีชีวิต การทำพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ จะต้องกระทำต่อหน้าพระคัมภีร์ ปัจจุบัน ชาวซิกข์ในประเทศไทย มี ๓ นิกาย คือ ๑. นิกายศรีคุรุสิงห์สภา เคร่งครัดเรื่องอาหารคือรับประทานแต่อาหารมังสวิรัติ ไม่มีเนื้อ สัตว์เจือปน และโพกศีรษะที่เรียกว่า เทอแบน สีอะไรก็ได้ มีโบสถ์ ตั้งอยู่ที่พาหุรัด ๒. นิกายนามธารี เคร่งครัดเรื่องอาหารเหมือน นิกายศรีคุรุสิงห์สภา แต่แต่งกายแตกต่างจากศรีคุรุสิงห์สภา คือ นุ่งขาวห่มขาวและโพกศีรษะสีขาวตลอด มีโบสถ์ตั้งอยู่ที่ซอยอโศก สุขุมวิท ๓. นิกายราธาสวามี เคร่งครัดเรื่องอาหารมากคือ ไม่รับ ประทานเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต ไม่รับประทาน หรือดื่มสิ่งใดที่จะก่อให้ เกิดความมัวเมา และต้องนั่งทำสมาธิวันละ ๒ ชั่วโมงครึ่งทุกวัน มีสถานที่บำเพ็ญสมาธิอยู่ที่ซอย ๑๖ ถนนจรัญสนิทวงศ์ สำนักวิทยาศาสตร์ วันพุธที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ นพ.ยงยุทธ วัชรดุลย์ ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชา แพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “๖๐ วันป้องกันโรค” ศาสตราจารย์ ดร.มนุวดี หังสพฤกษ์ ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาสมุทรศาสตร์ บรรยายเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงแนวฝั่ง ทะเลอ่าวไทยตอนบนในสมัย Holocene” ตามหลักฐานการสำรวจ ทางธรณีวิทยา แสดงว่า แนวฝั่งทะเลอ่าวไทยในสมัยโฮโลซีนอยู่เหนือ ขึ้นไปกว่าปัจจุบันมาก อย่างน้อยก็ถึงจังหวัดอ่างทอง หลักฐานที่ ว่านี้มีทั้งจากซากพืช ซากสัตว์ และจากลักษณะของดินที่ทับถมกัน อยู่ในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างรวมถึง กรุงเทพมหานคร และ ศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว ภาคีสมาชิก ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวนศาสตร์ บรรยาย เรื่อง “หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง” วันพุธที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ นพ.ประสิทธิ์ ฟูตระกูล ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชา แพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “การซ่อมแซมหลอดเลือดในโรคไต เรื้อรัง” ศาสตราจารย์ ดร.นิวัตต์ ดารานันทน์ ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บรรยาย เรื่อง “เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี” เขื่อนแก่งกระจาน - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - -- - --- - ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๙๕ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๐
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=