aw. JULY Rajbundit.indd

ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๙๔ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐ 9 ºŸâ สน„จบทความดัßก≈่าวขออนÿ ≠าตคâ นควâ า‰ดâ ที่หâ อßสมÿ ดราชบัณฑิตยสถาน ตามæร–ราชบั≠≠ัติขâ อมŸ ≈ข่าวสาร æ.». ๒๕๔๐ §”‡√’ ¬° æ√–¿‘ °…ÿ - “¡‡≥√ „π¿“…“∂‘Ë π„µâ ต้นพร้าวเหอ ต้นพร้าวทางบิด เก้าคิดสิบคิด ต้นเหอมาคิดกับสีกา สีกาพาวรของต้นไป ต้นพาผ้าไบสีกามา ต้นเหอมาคิดกับสีกา ทำให้วัดวาผงเหอ บทเพลงกล่อมเด็กของชาวใต้ที่เรียกว่าบทร้องเรือ หรือบทช้า น้องข้างต้นนี้ กล่าวถึงพฤติกรรมชั่วของพระภิกษุ และสีกาหรือ อุบาสิกา ต่างเปลื้อง “วร” หรือ “จีวร” และ “ผ้าไบ” หรือ “ผ้าสไบ” ซึ่งร่วมกันสร้างความวิบัติ (ผงหรือ ผงผาย เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึง ความวิบัติฉิบหาย) แก่วัดวาอาราม คือเป็นการทำลายพระพุทธศาสนา นั่นเอง คำที่ชาวใต้เรียกพระภิกษุ และสามเณร มีหลายคำแตกต่างไป ตามท้องถิ่น เช่นในเพลงกล่อมเด็กข้างต้นเรียกพระภิกษุว่า “ต้น” ซึ่ง ทำให้คนเจ็บไข้ ได้ป่วย ผีชนิดหนึ่งจำแลงกายเป็นสัตว์ต่าง ๆ ได้ ผีคนตกน้ำตาย อมนุษย์ที่ให้ร้ายแก่มนุษย์ เราอาจสันนิษฐานว่า คำว่า พราย เป็นคำไทย มิได้ยืมมาจากภาษาเขมร เพราะคำนี้มีใช้ ในภาษาไทหลายถิ่น ส่วนความหมายของคำว่า ผีพราย สรุป แน่นอนได้ยาก เพราะความเชื่อเกี่ยวกับผีพรายของคนไทถิ่น ต่าง ๆ ไม่สู้จะตรงกัน แต่ก็อาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า คนไทหลายถิ่น ใช้คำว่า ผีพราย เรียกแม่ที่ตายตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์หรือเพิ่งคลอด ถ้าลูกไม่ได้ตายไปพร้อมกับแม่ ก็อาจจะมาเอาชีวิตของลูกไปได้ ภายหลัง ผีพรายจัดได้ว่าเป็นผีร้าย และ รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา ดำรงค์เลิศ ภาคีสมาชิก ประเภทวรรณศิลป์ สาขา วิชาวรรณกรรมร้อยแก้ว บรรยายเรื่อง “เรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ ของอาจินต์ ปí ≠จพรรค์” อาจินต์ ปัญจพรรค์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เข้าศึกษา ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ปีที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ ช่วง พ.ศ. ๒๔๘๔ มหาวิทยาลัยปิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อสงคราม สงบ และมหาวิทยาลัยกลับมาเปิดใหม่ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ อาจินต์กลับมาเรียนต่อ แต่ได้ขาดสอบ เขาต้องออกจาก มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. ๒๔˘๑ หลังจากนั้นเขาจึงไปทำงานใน เหมืองแร่ จังหวัดพังงา เรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ถูกขุดขึ้นมาเขียนจาก ความทรงจำของอาจินต์ ปัญจพรรค์ อย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. ๒๕๒๖ รวมทั้งสิ้นกว่า ๓๐ ปี นับเป็นเรื่องสั้นทั้งสิ้น ๑๔๑ เรื่อง แน่งน้อย ปัญจพรรค์ บันทึกไว้เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ว่า การพิมพ์เรื่องสั้นชุดเหมืองแร่มีมาหลายครั้งและหลายรูปแบบ เมื่ออาจินต์ตั้งสำนักพิมพ์โอเลี้ยง ๕ แก้วของตนขึ้นและดำเนิน กิจการระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๒๔ มีการพิมพ์เรื่องสั้นชุดเหมือง แร่ครั้งแรก ต่อจากนั้นก็มีการจัดพิมพ์อีกใน พ.ศ. ๒๕๑๘, ๒๕๑˘, ๒๕๒๐, ๒๕๒๑, ๒๕๓๐ และ ๒๕๓๖ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๘ สำนักพิมพ์มติชนเป็นผู้จัดพิมพ์รวมเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่แยกออก เป็น ๓ เล่ม คือ เล่ม ๑ มีเรื่องสั้น ๕๖ เรื่อง เล่ม ๒ มีเรื่องสั้น ๕๘ เรื่อง เล่ม ๓ มีเรื่องสั้น ๒๗ เรื่อง และตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ จิระ มะลิกุล ได้นำวรรณกรรมชุดเหมืองแร่มาสร้างเป็น ภาพยนตร์โดยตั้งชื่อว่า มหาûลัยเหมืองแร่ และเปิดฉายในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ของอาจินต์ แต่ละเรื่องมีขนาดไม่ยาวมากนัก ลีลาการเล่าเรื่องเหมือนผู้เขียน เป็นผู้บันทึกเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตโดยหยิบมาเล่าทีละเรื่อง ถ้าเกี่ยวกับบุคคลก็กล่าวถึงทีละคน เช่น ไอ้ ไข่ คนเรียงฟó น นายงาน ตาชื่น ตามา ฯลฯ ในเรื่องสั้นแต่ละเรื่อง อาจินต์จะสอด แทรกข้อคิดหรือข้อสรุปจากชีวิตในช่วงที่ทำงานในเหมืองแร่ ไว้ เสมอ อาจินต์ ปัญจพรรค์ มองโลกในแง่ดี สิ่งที่เขาเขียนเกี่ยวกับ ชีวิตของคนงานเหมืองแร่มิได้แสดงถึงความท้อแท้ ความสิ้นหวัง หรือความเคียดแค้นต่อชะตากรรม หรือการเอารัดเอาเปรียบ ระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นผู้ใช้แรงงาน ฉากสำคัญที่อาจินต์ ใช้สะท้อนชีวิตอันหลากหลายของคนงานเหมืองแร่ ได้แก่ โรงกาแฟ อาจินต์กล่าวว่า ถ้าเขาจะเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง เหมืองแร่ โรงกาแฟจะต้องเป็นฉากสำคัญฉากหนึ่ง เนื่องจาก อาจินต์เขียนเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว การเขียนเป็นการมองย้อนอดีต จึงสามารถคิดทบทวนและสรุป มุมมองเป็นปรัชญาชีวิตได้คมคายลึกซึ้ง ชีวิตของผู้คนรอบตัว อาจินต์ที่เหมืองแร่ ทำให้อาจินต์มองโลกในแนวสัจนิยม ไม่เพ้อฝัน เรื่องเล่าชุดเหมืองแร่สะท้อนให้เห็นจิตใจอันละเอียดอ่อนของ อาจินต์ ถึงแม้ว่าเนื้อตัวของคนงานเหมืองจะสกปรก แต่อาจินต์ ก็มองเห็นถึงเบื้องลึกส่วนที่ดีงามในจิตใจและสมองของบุคคลเหล่า นั้น อาจินต์เปรียบเทียบเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ของเขาว่าเป็น เสมือนวงชีวิตที่ถูกหั่นออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ถ้านำมาปะติดปะ ต่อเข้าด้วยกันก็จะเป็นเรื่องเล่าถึงชีวิตในช่วง ๔ ปีเต็มของตัวเขา เองที่มีทั้งความภูมิใจและความอับอาย เมื่อเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ ของอาจินต์พิมพ์รวมเล่มเป็นฉบับสมบูรณ์ เรื่องราวที่อาจินต์กล่าว ว่าหั่นเป็นท่อน ๆ ก็ปะติดปะต่อเป็นเรื่องยาวเล่าถึงชีวิตของศิลปิน แห่งชาติคนหนึ่งในช่วงที่เขาทำงานเหมืองแร่ เรื่องสั้นที่ถักทอ ต่อกันเช่นนี้อาจกลายเป็น “นวนิยายชีวิตศิลปิน” หรือ “k ü nstlerroman” ได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=