aw. JULY Rajbundit.indd

จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน พิเศษ และการทำซ้ำ ๓. ภาคการตลาด การตลาดประกอบด้วย การวางแผนการขาย การจำหน่ายบัตร การโฆษณา การ ประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การลงทุนทางการตลาด อาจมีมูลค่าสูงกว่าค่าลงทุนการผลิต เพราะค่าผลิตสื่อโฆษณามี ราคาสูงมาก และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ภาคีสมาชิก ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยกรอง บรรยายเรื่อง “ความรักหลากหลายมิติในลิลิตตะเลงพ่ายกับภาพ ลักษณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรบุรุษต้นแบบ” ความรัก หลากหลายมิติในเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย นอกจากจะให้อารมณ์อัน หลากหลายแก่ผู้อ่านแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นลักษณะนิสัยของตัว ละครสำคัญต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน และเป็นผลให้ส่งเสริมภาพ ลักษณ์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชในฐานะวีรบุรุษต้นแบบเด่นชัด ยิ่ง ด้านอารมณ์หลากหลาย ผู้อ่านจะเห็นอารมณ์โกรธของพระเจ้า นันทบุเรงเมื่อพระมหาอุปราชาผู้เป็นพระราชโอรสหลีกเลี่ยงที่จะนำ ทัพพม่าบุกอยุธยาตามรับสั่ง เห็นอารมณ์หวาดกลัวและหวั่นเกรง ภัยของพระมหาอุปราชาเมื่อทราบว่าจะต้องทำศึกกับสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชและเมื่อลมพายุพัดฉัตรหัก เห็นอารมณ์รัก ระคนโศกเศร้าอาลัยของพระมหาอุปราชาที่มีต่อพระราชบิดาและ พระสนมเมื่อคาดว่าพระองค์อาจเสียชีวิตในการทำศึกครั้งนี้ และ จะไม่ ได้กลับไปพบหน้ากันอีก เห็นอารมณ์ชื่นบานของสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชที่จะได้ทำศึกเพื่อกำจัดเสี้ยนหนามของ แผ่นดิน และเห็นความรู้สึกปลื้มปีติของสมเด็จพระนเรศวร มหาราชที่ได้ฟังวาทศิลป์ของสมเด็จพระวันรัตที่เปรียบชัยชนะของ พระองค์ในศึกยุทธหัตถีกับชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีต่อพญามาร ส่วนความรักหลากหลายมิติที่สะท้อนให้เห็นลักษณะนิสัยของ ตัวละครสำคัญในเรื่องและส่งเสริมภาพลักษณ์สมเด็จพระนเรศวร มหาราชในฐานะวีรบุรุษต้นแบบนั้น ผู้วิจัยพบว่าความรักของ พระเจ้านันทบุเรงที่มีต่อพระราชโอรสสะท้อนภาพพระองค์ในฐานะ พระราชบิดาและกษัตริย์เผด็จการ ตรงข้ามกับสมเด็จพระนเรศวร มหาราชที่เป็นกษัตริย์ประชาธิปไตยเพราะรับฟังความคิดเห็นของ ทหารและขุนนาง ดังเห็นได้ในตอนที่ฝ่ายอยุธยาเตรียมจัดทัพไป กำราบเขมร และในตอนที่ฝ่ายอยุธยาเตรียมรับศึกพม่า นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงรับฟังความคิดเห็นของสมเด็จพระวันรัตที่ขอชีวิต ของแม่ทัพนายกองที่ต้องโทษประหารหลังเสร็จศึกยุทธหัตถี เพราะ ตามเสด็จพระองค์และสมเด็จพระเอกาทศรถไปในกองทัพไม่ทัน ทำให้พระองค์และสมเด็จพระเอกาทศรถตกอยู่ในวงล้อมของพม่า ในเหตุการณ์เดียวกันนี้เองที่แสดงให้เห็นความเฉลียวฉลาดและ ความมีปฏิภาณไหวพริบอันเป็นเลิศของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แทนที่จะถูกทหารพม่ารุมทำร้ายพระองค์และพระอนุชา พระองค์ กลับกล่าวเชิญพระมหาอุปราชาให้ทำยุทธหัตถี ทำให้พลิก สถานการณ์ที่เป็นรองให้กลายเป็นดีได้ จนกระทั่งมีชัยชนะในการ ยุทธหัตถีได้อย่างงดงาม ส่วนความรักชีวิตของพระมหาอุปราชา ทำให้พระองค์หลีกเลี่ยงที่จะนำทัพพม่ามาบุกอยุธยาตามรับสั่งของ พระราชบิดา เป็นเหตุให้พระราชบิดากริ้วและกล่าวประชด พระราชโอรสต่อหน้าทหารพม่า ทำให้พระมหาอุปราชาอับอายและ จำต้องยอมทำตามรับสั่ง ผนวกกับความรักศักดิ์ศรีของขัตติยราช เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชท้ารบด้วยการทำยุทธหัตถีจึงทำให้ พระมหาอุปราชาทรงรับคำท้า นอกจากนี้ความรักของพระมหาอุป- ราชาที่มีต่อพระราชบิดาและพระสนมสะท้อนให้เห็นนิสัยอ่อนไหว และหวั่นไหวง่าย แม้เดินทางมาทำศึกก็ยังคิดถึงเหล่านางสนม ต่างจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่คิดแต่เฉพาะการศึกเท่านั้น ไม่เคยมีเรื่องอื่นใดรวมทั้งเรื่องหญิงคนรักเข้ามารบกวนความมุ่ง มั่นที่จะกำจัดศัตรูเลยแม้แต่น้อย ทั้งยังฮึกเหิมเมื่อได้ข่าวศึก สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงเป็นต้นแบบวีรบุรุษให้แก่คนรุ่นหลัง ทั้งที่เป็นต้นแบบนักรบผู้กล้า มีปฏิภาณ และต้นแบบกษัตริย์ นักปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีคุณธรรม • วันอังคารที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐ รองศาสตราจารย์ ดร.นว- วรรณ พันธุเมธา ภาคีสมาชิก ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชา ภาษาไทย บรรยายเรื่อง “คำเรียกผีดีผีร้าย” คนไทยใช้คำว่า ผี เรียกสิ่งลึกลับที่มองไม่เห็นตัว แต่เชื่อกันว่าอาจจะปรากฏ เหมือนมีตัวตนได้ อาจให้คุณหรือโทษได้ คำว่า ผี นี้ มีใช้ในภาษา ไทนอกประเทศไทยเหมือนกัน แต่อาจออกเสียงต่างกันไปบ้าง คำว่า ผี เคยหมายถึงผีดีก็ได้ แต่ภายหลังความหมายได้แคบเข้า ใช้ ไปในทางผีร้าย ในสมัยสุโขทัย คำว่า ผี หมายรวมถึง ทั้งผีและ เทวดา แต่ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์คำว่า ผี มีความหมายแคบลง ไม่ได้หมายรวมถึงเทวดาด้วย ในปัจจุบัน คำว่า ผี นอกจากจะมี ความหมายว่า ปีศาจ ซากศพคนตายฝูงปีศาจที่เที่ยวหลอกหลอน อย่างที่อักขราภิธานศรับท์บอกไว้แล้ว ยังมีความหมายโดยปริยาย ว่า เลว อีกด้วย เช่น คนผี เด็กผี คำว่า ผี มักมีคำอื่นมาประกอบ ข้างท้าย ได้คำใหม่หลายคำ บางคำความหมายดูเหมือนว่าไม่ได้ ต่างไปจากเดิม แต่บางคำก็ช่วยบอกชนิดของผี เช่น ผีสาง ความหมายของคำว่า สาง มีหลายความหมาย เช่น ผี เทวดา พระพรหม หรือผีที่ศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ จัดเป็นผีที่ดี ผีด้ำและผีเรือน คำว่า ด้ำ หมายถึง สกุล ผีด้ำ เป็นผีประจำสกุล นั่นคือเป็น ผีบรรพบุรุษ ผีเรือนเป็นผีประจำเรือน คนไทบางถิ่นถือว่า ผีเรือน หมายถึง ผีบรรพบุรุษด้วย แต่บางถิ่นก็แยกผีเรือนออกจาก ผีบรรพบุรุษ ซึ่งเรียกว่า ผีด้ำ ผีทั้ง ๒ ประเภทนี้จัดเป็นผีดี ผีเสื้อ คำว่า ผีเสื้อ มีใช้ในภาษาไทยมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่ง ปรากฏอยู่ในข้อความต่าง ๆ และมีหลากหลายความหมาย เช่น ผีเสื้อ ผีพราย ชื่อแมลงและปลาในทะเล นอกจากนี้ยังมีคำประสม ซึ่งมีคำว่า ผีเสื้อ เป็นส่วนประกอบ เช่น ผีเสื้อน้ำ ผีเสื้อเมือง ผีเสื้อยักษ์ ผีเสื้อสมุทร และมีความเชื่อว่า คำว่า เสื้อ เพี้ยนเสียง มาจากคำว่า เชื้อ ซึ่งทั้ง ๒ คำ มีความหมายเช่นเดียวกัน ผีเสื้อ จัดเป็นผีดี ผีพราย คำว่า ผีพราย ใช้คู่กับคำว่า ผีเสื้อ คำว่า พราย หรือ ผีพราย มีหลายความหมาย เช่น ผีจำพวกหนึ่ง (มักกล่าวกันว่าเป็นผีผู้หญิงที่ตายทั้งกลม) ผีที่เชื่อกันว่าเข้าสิงร่าง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=