aw. JULY Rajbundit.indd

ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๙๔ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐ บรรยายเรื่อง “การบริโภคน้ำนมแพะดีกว่าน้ำนมโคจริงหรือ” น้ำนมเป็นผลผลิตจากการทำงานของต่อมน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมเพศเมียภายหลังจากการคลอดลูก น้ำนมมีประโยชน์ สำหรับลูกที่คลอด ช่วยให้มีชีวิตสามารถสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไป ของสัตว์แต่ละชนิด น้ำนมของสัตว์แต่ละชนิดจึงมีส่วนประกอบที่ เหมาะสมสำหรับเผ่าพันธุ์ของสัตว์ชนิดนั้น ๆ มนุษย์จะมีการ บริโภคน้ำนมและผลิตภัณฑ์นม ที่ได้มาจากสัตว์โดยเฉพาะพวก สัตว์เคี้ยวเอื้องเช่นโคนมและแพะนม โคนมเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง ขนาดใหญ่ที่มีอัตราการให้น้ำนมต่อวันในปริมาณมาก ส่วนการ บริโภคน้ำนมจากแพะนม ซึ่งเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กจะให้ ปริมาณน้ำนมต่อวันน้อย โดยมีผู้เชื่อว่าการบริโภคน้ำนมแพะจะ มีผลดีต่อร่างกายมากกว่าการบริโภคน้ำนมโค โคนมและแพะนม เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่กินหญ้าหรือฟางเป็นอาหารหยาบเป็น หลัก สารอาหารที่ร่างกายนำไปสร้างน้ำนมในสัตว์ทั้ง ๒ ชนิดนี้ โดยทั่วไปจะมีค่าความเข้มข้นของส่วนประกอบหลักในน้ำนมใกล้ เคียงกัน ได้แก่ความเข้มข้นของแล็กโทส โปรตีน ไขมันนม และ อิเล็กโทรไลต์ แต่จากการศึกษาถึงลักษณะของส่วนประกอบบาง อย่างในน้ำนมจะมีข้อแตกต่างระหว่างน้ำนมแพะและน้ำนมโค ในกระบวนการสังเคราะห์แล็กโทสซึ่งมีกลูโคสเป็นสารหลักภายใน เลือดมีการใช้กลูโคสโดยเซลล์ต่อมน้ำนมจะไม่แตกต่างกัน การ สังเคราะห์ส่วนประกอบของโปรตีนในน้ำนมจากกรดแอมิโนให้ โปรตีนที่ประกอบด้วย casein และ whey จะมีข้อแตกต่างกัน ระหว่างน้ำนมแพะและน้ำนมโค โดยพบว่าความเข้มข้นของ casein ในน้ำนมแพะจะมีส่วนประกอบของ -casein และ -S2 casein เป็นส่วนใหญ่ จะมี -S1 casein เป็นส่วนน้อย ส่วนโปรตีน ในน้ำนมโคจะมี -S1 casein เป็นส่วนใหญ่ โดย -S1 casein จะ เป็นตัวทำให้การเกิด curd เมื่อใส่ rennin หรือกรดที่เข้มข้นใน น้ำนม curd ที่ ได้จะมีลักษณะการรวมตัวที่แน่นแตกต่างกว่า การเกิด curd จากน้ำนมแพะ กระบวนการสร้างไขมันนมโดยต่อม น้ำนมระหว่างโคนมและแพะนมใช้ volative fatty acids และ free fatty acids ซึ่ง free fatty acids ที่มีในเลือด จะไม่แตก ต่างกัน ในการนำไปสังเคราะห์เป็นเม็ดไขมันนม (milk fat globule) แต่ขนาดของเม็ดไขมันที่สร้างโดยเซลล์ต่อมน้ำนมของโคและแพะ จะแตกต่างกัน ขนาดของเม็ดไขมันนมแพะจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง เล็กกว่าของโค แต่อัตราส่วนพื้นที่ผิวต่อปริมาตรจะมีมากกว่า รวมทั้งน้ำนมแพะไม่มีสาร agglutinin ในน้ำนม จึงทำให้การเกิด ชั้น cream ของไขมันนมของนมแพะยากกว่าน้ำนมโค เมื่อเก็บ น้ำนมไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิเย็น ผลข้อแตกต่างของลักษณะของส่วน ประกอบหลัก และส่วนประกอบรองบางอย่างในน้ำนมจะมีข้อดี และข้อด้อยของการนำน้ำนมแพะและน้ำนมโคไปทำผลิตภัณฑ์นม สำหรับการบริโภค สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิต ประเภทวิจิตรศิลป์ สาขาวิชานาฏกรรม บรรยายเรื่อง “อุตสาหกรรมการแสดงของไทย” อุตสาหกรรมการ แสดงของไทยมีขอบเขตกว้างขวาง ประกอบด้วยธุรกิจหลาย แขนง ทั้งภาครัฐและเอกชน มีผู้ประกอบการหลายสาขาอาชีพ เชื่อมโยงกันเป็นวงจร แต่ยังขาดการศึกษาค้นคว้าให้เห็นภาพ ที่ชัดเจน ภาพรวมของอุตสาหกรรมการแสดงของคนไทยใน พ.ศ. ๒๕๕๐ แบ่งการพิจารณาออกเป็น ๓ ส่วน คือ ๑. ภาคการผลิต บุคลากร (การศึกษาด้านการแสดง) การศึกษาด้านการแสดง มีตั้ง แต่วิชากิจกรรมเข้าจังหวะในระดับประถมศึกษา ทักษะการฟ้อนรำ ในระดับมัธยมศึกษา กลุ่มวิชาเอกและวิชาโทในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนการศึกษาในเชิงทฤษฎีและการวิจัยในระดับมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ทั้งหมดนี้เป็นการผลิตบุคลากรเข้าสู่ตลาด แรงงานอุตสาหกรรมการแสดง การบรรจุวิชาการแสดงในการ ศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทำให้เกิดความต้องการ ครูหลายพันคน ในระดับอุดมศึกษา มีการเปิดสอนระดับปริญญา ตรีด้านการแสดงหลายสาขาหลายหลักสูตร ทั้งมหาวิทยาลัยของ รัฐ มหาวิทยาลัยเอกชน และมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งมีแนวโน้ม ที่จะเปิดสอนอีกหลายแห่ง หลายสาขาวิชา และหลายระดับ ปริญญา แต่ในปัจจุบันด้านการแสดงรับนิสิตนักศึกษาได้น้อย คนเหล่านี้จึงต้องหันไปเรียนวิชาใกล้เคียงแทน การจัดการเรียน การสอนด้านการแสดงต้องมีการลงทุนเบื้องต้น ได้แก่ ค่าเล่า เรียน เงินเดือนครูและบุคลากรสนับสนุน ค่าอุปกรณ์การสอน ค่าจัดการแสดง รวมแล้วเป็นเงินมหาศาล เฉลี่ยค่าเล่าเรียนระดับ ปริญญาตรี ๑ ราย ในหลักสูตร ๔ ปี เป็นเงินประมาณ ๑ แสน บาท นอกจากนี้ การจัดการศึกษาสาขาการแสดงต้องมีค่า ก่อสร้างอาคารสถานที่ ค่าโสตทัศนูปกรณ์ ค่าอุปกรณ์ปรับอากาศ และแสงเสียง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีราคาสูงมาก ผลผลิตของสถาบัน การศึกษาเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นวิพิธทัศนา เช่น ระบำชุดต่าง ๆ ๒. ภาคการผลิตการแสดง การผลิตเป็นกระบวนการทำงานผลิต การแสดงรูปแบบต่าง ๆ อันได้แก่ การแสดงสดบนเวที การแสดง สดทางวิทยุ การแสดงสดทางโทรทัศน์ การบันทึกเทปโทรทัศน์ การถ่ายทำภาพยนตร์ การทำซ้ำในรูปตลับ (cassette) แผ่นซีดี (CD) วีซีดี (VCD) และดีวีดี (DVD) โดยมีกระบวนการผลิต ๓ ขั้น ตอน คือ (๑) การเตรียมการก่อนการผลิต (Pre-production) มี การเขียนสคริปต์ การออกแบบ การทำแผนงาน การหาเงินลงทุน การเลือกผู้แสดง การเลือกทีมงาน การวางแผนการตลาด การ โฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย เป็นต้น (๒) การแสดงหรือการถ่ายทำจนได้ผลผลิต (Production) มี ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ การแสดงเป็นเรื่องราวอย่างละคร (drama) กับการแสดงไม่เป็นเรื่องราว (non-drama) และ (๓) งานหลังการ ผลิต (Post-production) เป็นการตัดต่อบันทึกเสียง ทำเทคนิค

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=