aw. JULY Rajbundit.indd
จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชา แพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “การปล่อยแก๊สเรดอนจากแผ่น คอนกรีตที่มีฟอสฟอยิปซัม” การศึกษาการปล่อยแก๊สเรดอนจาก แผ่นคอนกรีตที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างอาคารบ้านเรือนแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ แผ่นคอนกรีตที่ไม่มีฟอสฟอยิปซัมผสมและไม่ฉาบปูน แผ่นคอนกรีตที่มีฟอสฟอยิปซัมผสมร้อยละ ๕๐ โดยน้ำหนัก ๕ แบบ คือ แผ่นที่ไม่ฉาบปูน แผ่นที่ฉาบเรียบด้วยปูนซีเมนต์ แผ่นที่ ฉาบปูนและปิดด้วยกระดาษบุผนัง แผ่นฉาบปูนทาทับด้วยสีน้ำ พลาสติก และแผ่นฉาบปูนทาด้วยสีน้ำมัน พบว่าแผ่นคอนกรีตทุก แบบปลดปล่อยแก๊สเรดอนปริมาณต่าง ๆ กัน คือ แผ่นคอนกรีตที่ ไม่มีฟอสฟอยิปซัมที่ไม่ฉาบปูนปล่อยแก๊สเรดอนน้อยที่สุด และ แผ่นคอนกรีตที่มีฟอสฟอยิปซัมที่ไม่ฉาบผิวปล่อยแก๊สเรดอนมาก ที่สุด การฉาบปูน การทาสีและการติดกระดาษบุผนังช่วยลดการ ปล่อยแก๊สเรดอนอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งการฉาบปูนแล้วทาทับด้วย สีน้ำพลาสติกให้ผลสกัดกั้นการปล่อยแก๊สเรดอนได้ดีที่สุด ปริมาณ แก๊สเรดอนที่ปล่อยจากแผ่นคอนกรีตทุกแบบมีระดับสูงกว่าเกณฑ์ ปลอดภัยสากล และ ศาสตราจารย์ ทพญ.ใจนุช จงรักษ์ ภาคี สมาชิก ประเภทวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “โคนบีม ซีที ในงานทันตกรรม” วิวัฒนาการการ ถ่ายภาพรังสีขากรรไกรและใบหน้า (maxillofacial imaging) ใน งานทันตกรรมได้ก้าวหน้ามาจนถึงการถ่ายภาพรังสีด้วยเครื่อง เอกซเรย์ซีที ที่เรียกว่า โคนบีม ซีที (Cone Beam CT) ในอดีต เมื่อจะศึกษาพยาธิสภาพของขากรรไกรและใบหน้าในงานทันต- กรรม นอกจากจะใช้ภาพรังสีในช่องปากและนอกช่องปากที่ถ่าย ด้วยวิธีธรรมดา ซึ่งเรียกว่า Conventional technique แล้วก็ อาจถ่ายภาพรังสีปริทัศน์ (panoramic) หรืออื่น ๆ ตามด้วยการ ถ่ายภาพซีทีที่ใช้ในการแพทย์ ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีค่อน ข้างมาก และเมื่อประมาณ ๕-๗ ปีที่ผ่านมา ได้มีการสร้างเครื่อง ถ่ายภาพรังสีเฉพาะบริเวณขากรรไกรและใบหน้า ด้วยวิธีการโคน บีม ซีที รังสีเอกซ์ถูกส่งออกมาจากหลอดเอกซเรย์เป็นรูปกรวย และครอบคลุมบริเวณขากรรไกรบนและล่างด้วยการหมุนเพียง ครั้งเดียว โดยใช้มุม ๓๖๐ องศารอบศีรษะผู้ป่วย ภาพที่ ได้ สามารถแสดงได้ในทุกระนาบ และสร้างภาพเป็น ๓ มิติได้ ทำให้ สะดวกต่อการวินิจฉัย และวางแผนการรักษาผู้ป่วยในบางรายได้ดี มาก โดยเฉพาะในรายที่มีความผิดปรกติของใบหน้าและขา กรรไกรมาแต่กำเนิด งานทางทันตกรรมที่ได้รับประโยชน์จากโคน บีม ซีที มีหลายอย่าง เช่น การศึกษาตำแหน่งของฟันฝังหรือ ฟันกุดในขากรรไกร การศึกษาความสัมพันธ์ของรากฟันกับโพรง อากาศขากรรไกรบน และคลองขากรรไกรล่าง และการศึกษาราย ละเอียดของขากรรไกรในงานทันตกรรมรากเทียมเป็นต้น อย่างไร ก็ตามภาพรังสีชนิดนี้ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ไม่สามารถแสดง รายละเอียดของกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) นอกจากนี้เครื่องยังมีราคาแพงอีกด้วย การส่งถ่ายภาพรังสีใน ผู้ป่วยแต่ละรายจึงขึ้นกับดุลพินิจของทันตแพทย์ โดยคำนึงถึง ประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ • วันพุธที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ รองศาสตราจารย์ นพ.กฤษณ์ จาฏามระ ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชา แพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “We are winning the war against breast Cancer” และ ศาสตราจารย์ ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชา สัตววิทยา บรรยายเรื่อง “พระอภัยมณี…มาจากไหน” สุนทรภู่ แต่งเรื่องพระอภัยมณีคำกลอนขึ้นในระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๖–๒๓๘๘ สมัยปลายรัชกาลที่ ๒-๓ โดยอาศัยเรื่องราวของบุคคลในการบ้าน การเมืองไทย ที่สำคัญคือ การรุกเข้ามาทางเรือของชนชาติ ตะวันตก พวกหมอสอนศาสนา พ่อค้า นักเดินเรือ นักสำรวจ นักการทูตและทหารพร้อมวัฒนธรรมความก้าวหน้าทางวิชาการ อีกทั้งปัญหากับเพื่อนบ้านคือพม่า ลาว เขมร ญวน และ มลายู นอกจากนี้ที่สำคัญก็เป็นเค้าของข้อมูลจากพงศาวดาร ประวัติศาสตร์ ไทย สมุดภาพไตรภูมิ จิตรกรรมฝาผนังตามวัด วรรณคดีบางเรื่อง สังคมวัง วัด และชาวบ้าน ขนบธรรมเนียม ประเพณีความเป็นอยู่ ความเชื่อ คติธรรม คำสอน คำพังเพย อุทาหรณ์ เกร็ดความรู้ และชีวิตส่วนตัวของสุนทรภู่ หรือกับ เจ้านาย แทรกด้วยความรู้สึกของตัวสุนทรภู่เองที่เป็นคนชอบ ใกล้ชิดผู้หญิง และมีประวัติการดื่ม พร้อมความทะนง จนมีแต่ ความพลัดพราก ผิดหวัง ว้าเหว่ และขัดสน เรื่องราวที่เป็นข้อมูล มากมายเหล่านี้สุนทรภู่ ได้นำมาพลิกผันแจกให้กับตัวละคร มากมายเป็นคำกลอนในเรื่องพระอภัยมณีโดยไม่ลืมที่จะคละไว้ ด้วยบทจินตนาการอย่างแยบยล ในสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพฯ หรือฉากส่วนใหญ่ที่เป็นทะเลระหว่างไทย อ่าวเบงกอล และเกาะ ลังกา ที่สุนทรภู่ได้เค้ามาจากสมุดภาพไตรภูมิ ด้วยความสามารถ ทางภาษาคำกลอนและการสร้างเค้าโครงของเรื่องได้อย่างรวดเร็ว และไม่น่าเชื่อ จึงไม่มีใครเทียบทันได้ตลอด ๒๐๐ ปีที่ผ่านมา ในผลงานเป็นหนังสือเรื่องนี้ ผู้เขียนได้พยายามโยงคำกลอนที่น่า สนใจ เข้ากับข้อเท็จจริงที่เป็นหลักฐานดังกล่าวข้างต้นทีละ ประเด็น เพื่อชี้นำผู้สนใจได้เข้าใจว่าสุนทรภู่แต่งพระอภัยมณี คำกลอนขึ้นอย่างอิสระ ด้วยอารมณ์สนุก ครึกครื้น และสะดวกใจ โดยมีที่มาที่ ไปทั้งสิ้น มิใช่ใช้จินตนาการเป็นหลักอย่างที่กล่าว กันมา ที่สำคัญซึ่งไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน คือผู้เขียนได้พยายาม ชี้แจงโดยตลอดว่าตัวละครใดคือใครในเหตุการณ์ใด และอะไรเป็น อะไรในวรรณกรรมอมตะเรื่องนี้ของคนไทยและของโลก และ ศาสตราจารย์ ดร. นสพ.ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร ภาคีสมาชิก ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=